ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา

ความเป็นมาของอภิปรัชญา

(History of Metaphysics)

ดังที่ทราบมาแล้วว่า คำว่า “อภิปรัชญา” (ปรัชญาอันยิ่งใหญ่, ความรู้อันประเสริฐที่ยิ่งใหญ่) มาจากภาษาอังกฤษว่า “Metaphysics” ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก Meta + Physics รวมกันแล้วแปลว่า “สภาวะที่อยู่เหนือการสัมผัส” นั่นหมายถึงว่า อภิปรัชญา เป็นปรัชญาที่เกี่ยวกับสิ่งที่อยู่เหนือการรู้เห็นทั่วไป

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ได้อธิบายไว้ว่า การให้ความหมายหรือการแปลศัพท์ของคำว่า Metaphysics นั้น จะแปลตามมูลศัพท์หาได้ไม่ เพราะว่าคำนี้เกิดขึ้นมาจากความบังเอิญ นั่นคือหลังจากที่เพลโต้ (Plato) และอริสโตเติ้ล (Aristotle) ได้ทำให้วิชา Philosophy เจริญขึ้น เพลโต้ถือว่า วิชานี้เป็นวิชาที่เกี่ยวกับความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลง แต่อริสโตเติ้ล (Aristotle) มีความคิดเป็นวิทยาศาสตร์ ในหนังสือที่อริสโตเติ้ล แปลและเรียบเรียงขึ้นเล่มหนึ่งได้นำเอาเรื่อง First Philosophy มาเรียงไว้ในตอนท้าย ๆ ซึ่งต่อมาจากเรื่องฟิสิกส์ หรือปรัชญาธรรมชาติ (Natural Philosophy)

ในหนังสือดังกล่าว ได้จัดเรียงลำดับไว้ดังนี้

1. คณิตศาสตร์ (Mathematics)
2. กายภาพของโลก (Physics)
3. ปฐมปรัชญา (First Philosophy)
4. ตรรกศาสตร์ (Logic)
5. จิตวิทยา (Psychology)
6. จริยศาสตร์ (Ethics)
7. สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics)

สเตช (W.T. Stace) ได้ชี้แจงไว้ว่า คำว่า Metaphysics เป็นคำที่ได้มาโดยบังเอิญ คือประมาณ พ.ศ. 480 เมื่อแอนโดรนิคัส (Andronicus) ได้รวบรวมผลงานของอริสโตเติ้ลเข้าเป็นรูปเล่มสมบูรณ์ ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ได้นำเอาตำราปฐมปรัชญาไปพิมพ์ไว้หลังฟิสิกส์ คือเรียง First Philosophy ไว้หลังปรัชญาธรรมชาติ (Natural Philosophy หรือ Physics) และ นีโคลาอุส (Nicolaus) แห่งดามัสกัส เป็นคนแรกที่เรียก First Philosophy โดยใช้ภาษากรีกว่า Ta meta ta Physika แล้วเรียกส่วนนี้ว่า “หลังฟิสิกส์” (After Physics) กล่าวคือเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งนอกเหนือฟิสิกส์ ภาษากรีกที่ว่า Meta ta Physika หมายความว่า “งานที่ทำนอกเหนือหรือล่วงพ้นจากทางร่างกาย, โลกเบื้องหลังกายภาพ, สิ่งที่อยู่เบื้องหลังฟิสิกส์”

คำว่า Meta (After, Above) แปลว่า “หลัง เหนือกว่า เบื้องหลัง เลยออกไป” เมื่อรวมกับ Physics จึงหมายถึงสิ่งที่อยู่นอกขอบเขตการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส หรือสิ่งที่นอกเหนือไปจากสสารและพลังงาน หรือสิ่งทั้งหลายที่ไม่อาจจะรู้หรือเข้าถึงได้ด้วยอาศัยประสาทสัมผัส ดังนั้น อภิปรัชญา จึงเป็นวิชาที่ศึกษาถึงเบื้องหลังหรือเนื้อแท้ของสิ่งต่าง ๆ ในเอกภพ ซึ่งไม่สามารถพิสูจน์และทดสอบด้วยประสาทสัมผัสได้

ต่อมา นักปรัชญาชาวเยอรมันชื่อ โบธิอุส (A.M.S.Boethius) ได้เปลี่ยนมาใช้เป็นภาษาลาตินเพียงคำเดียวว่า Metaphysica ต่อมาจึงได้กลายมาเป็น Metaphysics อย่างที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ คำว่า “Metaphysics” แต่เดิมมีความหมายเพียง “หลังฟิสิกส์”

คำว่า “ฟิสิกส์” เดิมหมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติหรือในโลก ต่อมาในตอนหลัง ได้มีการแปลความหมายกว้างขวางออกไปอีกเป็นว่า Physics หมายถึง กายภาพ, ความรู้ที่อยู่ในขอบเขตของประสาทสัมผัส, สิ่งที่เราสามารถรับรู้ได้ด้วยอายตนะ หรือประสาทสัมผัสทั้ง 5 กล่าวคือสสารและพลังงาน

จะเห็นได้ว่า คำว่า อภิปรัชญา (Metaphysics) เป็นคำที่นำมาใช้ในสาขาปรัชญาสาขาหนึ่ง นำมาใช้ครั้งแรกประมาณ พ.ศ. 480 หรือในศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์กาล ปรัชญาเมธีอริสโตเติ้ล (Aristotle) ได้เรียกปรัชญาสาขาที่สำคัญที่สุดนี้ว่า “ปฐมปรัชญา” (The First Philosophy) ซึ่งเป็นสาขาที่ว่าด้วยความแท้จริง หรือความมีอยู่ของสรรพสิ่ง ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส

ในปรัชญาสมัยกลาง (Medieval Period) อภิปรัชญามีความสำคัญน้อยกว่าเทววิทยา (Theology) เพราะเทววิทยาได้รับการยอมรับและศึกษากันอย่างกว้างขวาง เป็นยุคมืดของวงการปรัชญา นักปรัชญาส่วนมากเป็นพระนักบวชในคริสตศาสนา จึงเน้นเฉพาะคำสอนเกี่ยวกับคริสตศาสนาอย่างเดียว ต่อมาประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา ซึ่งเข้าสู่ปรัชญาสมัยใหม่ (Modern Period) อภิปรัชญา ได้มีความสำคัญเท่ากันกับเทววิทยา จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย