ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา
ทฤษฎีพหุนิยม
(Pluralism)
ทฤษฎีพหุนิยม (Pluralism) ได้แก่พวกที่ถือว่า
ความแท้จริงของปฐมธาตุมีจำนวนมากมาย อาจจะเป็นรูปธรรม (สสาร) หรือนามธรรม (จิต)
ก็ได้ นั่นคือความจริงแท้ของสรรพสิ่งไม่ขึ้นอยู่แก่กัน ต่างก็เป็นอิสระในตัวเอง
ดังนั้น
สรรพสิ่งที่มีจำนวนมากมายจึงไม่สามารถจะลดหรือทอนลงให้เหลือเพียงสิ่งเดียวได้
ทฤษฎีพหุนิยมได้เกิดขึ้นในความคิดของมนุษย์มาเป็นเวลานาน สามารถแบ่งได้ 4
แบบคือ
1. พหุนิยมแบบกรีก (Greek Pluralism)
เริ่มตั้งแต่สมัยของเอมพีโดเคลส (Empedocles)
ที่เห็นว่าธาตุแท้ของโลกหรือบ่อเกิดของสรรพสิ่งไม่ได้มีสิ่งเดียว
แต่เป็นการรวมตัวของวัตถุ 4 อย่างคือ ดิน น้ำ ไฟ และลม
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นพหุนิยมโดยเด่นชัด แม้แต่เดโมคลิตุส (Democritus)
ก็กล่าวว่า โลกประกอบด้วยปรมาณู 4 อย่างคือ ปรมาณูของดิน น้ำ ไฟ และลม
2. พหุนิยมเชิงจิต (Spiritural Pluralism) กล่าวถึงปรัชญาโมนาด
(Monadology) ของไลบ์นิซ (Leibniz) ซึ่งเป็นลักษณะของนามธรรม เป็นสิ่งเฉพาะ
เป็นอิสระ ไลบ์นิซ ได้ให้ความหมายของโมนาดไว้ว่า โมนาดคือสารัตถะอันติมะ
และปรมาณูที่เป็นจิต โมนาดเป็นสิ่งที่เป็นอมตะ ปราศจากเบื้องต้น
และเป็นสิ่งที่คงที่เป็นสิ่งที่แบ่งแยกไม่ได้เป็นจิต
ดำรงอยู่โดยการควบคุมของโมนาดใหญ่คือพระเจ้า
3. พหุนิยมเชิงปฏิบัติ (Pragmatic Pluralism) วิลเลี่ยม เจมส์
เป็นผู้เริ่มแนวความคิดนี้ โดยเห็นว่า ความจริงต้องไม่ใช่สิ่งรวมกัน แต่ต้องแยกกัน
เพราะแต่ละสิ่งแต่ละอย่างมีคุณสมบัติหรือลักษณะที่แตกต่างกัน
ในลักษณะของการปฏิบัติหรือการเป็นไปแห่งวิวัฒนาการจะต้องแตกต่างกัน
4. พหุนิยมแบบสัจจนิยมใหม่ (Neo realistic Pluralism)
นักปรัชญากลุ่มนี้มีแนวคิดหลากหลายในโลกแห่งความคิดและคุณค่า
โดยพยายามประนีประนอมระหว่างผัสสะและเหตุผลเข้าด้วยกัน
เพราะพวกเขายอมรับความจริงมีมากมาย
ทฤษฎีพหุนิยมนี้ที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง แบ่งออกได้เป็น 2 ทฤษฎีได้แก่
- ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิต (Idealistic Pluralism) ได้แก่พวกที่ถือว่า
ความแท้จริงของปฐมธาตุมีมากมาย แต่มีลักษณะเป็นนามธรรม (จิต) เช่น
ปรัชญาเกี่ยวกับโมนาด (Monad) ของไลบ์นิซ (Leibniz) เป็นต้น
- ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร (Materialistic Pluralism) ได้แก่พวกที่ถือว่า ความแท้จริงของปฐมธาตุมีมากมาย แต่มีลักษณะเป็นรูปธรรม (สสาร) เช่น ปรัชญาเกี่ยวกับปรมาณูนิยม (Atomism) ของเดโมคริตุส (Democritus) ถือว่า ปฐมธาตุของโลกคือ ปรมาณู ปรมาณู เป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่ง สรรพสิ่งเกิดมาจากปรมาณู และจะกลายเป็นปรมาณูอีก กล่าวคือสรรพสิ่งในโลกประกอบด้วย ปรมาณู 4 อย่างคือ ดิน น้ำ ไฟ ลม
หรือปรัชญาของเอมพีโดเคลส (Empedocles) ที่ถือว่า ปฐมธาตุของโลก มิใช่มีเพียงอย่างเดียว แต่มี 4 อย่างคือ ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ดังนั้น สรรพสิ่งในโลกจึงเกิดขึ้นเพราะการรวมตัวกันของธาตุทั้ง 4 และเมื่อแตกสลายก็แตกสลายเพราะการแยกออกจากกันของธาตุทั้ง 4
ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม