ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
นักปราชญ์ทั้งหลายได้กล่าวถึงเหตุที่ทำให้เกิดความคิดทางอภิปรัชญาไว้ต่าง ๆ กัน
แต่เมื่อสรุปแล้ว มีอยู่ 5 ประการ ดังต่อไปนี้
1. ความอยากรู้อยากเห็นในความเป็นไปของธรรมชาติ
สิ่งใดก็ตามที่เป็นสิ่งลี้ลับ เข้าใจยาก เป็นสิ่งเหนือธรรมชาติ
มนุษย์ย่อมจะต้องการอยากรู้อยากเห็นในสิ่งนั้น ๆ
เมื่อมีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเกิดขึ้น จึงพยายามค้นคว้าเพื่อให้รู้
เข้าใจในปรากฏการณ์เหล่านั้น
2. ความบกพร่องของสัตว์โลก
เมื่อสัตว์โลกมีความบกพร่องในการดำเนินชีวิต จึงเกิดความไม่พอใจ
เกิดความสงสัยว่าทำไมคนเราจึงไม่เหมือนกัน
เกิดมาแล้วทำอย่างไรจึงจะดำรงชีวิตอยู่ได้ แล้วพยายามคิดหาทางแก้ไขเหตุการณ์ต่าง ๆ
ให้ดีขึ้นกว่าเดิม
3. ความต้องการความเป็นระเบียบของสังคม
สังคมหรือชุมชน จะต้องมีระเบียบแบบแผนที่ดี
ในการจัดระเบียบคนในสังคมนั้น ๆ ให้มีการเป็นอยู่ด้วยความเรียบร้อย
แต่ถ้าหากขาดระเบียบแบบแผนที่ดี
ระเบียบแบบแผนที่มีอยู่ไม่เข้ากับสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนแล้ว
สังคมก็จะสับสนวุ่นวาย จำเป็นจะต้องคิดค้นหาปทัฏฐานของสังคมส่วนรวม
ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสงบสุข ความเรียบร้อยและปลอดภัยแก่ชุมชน
4. ความต้องการกฎเกณฑ์ที่แน่นอนในการปกครอง
การเมือง หรือการปกครองจะต้องมีกฎเกณฑ์
ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อความสงบเรียบร้อยทางบ้านเมือง ประชาชนจะรู้สึกผิดหวัง
ถ้าบ้านเมืองขาดหลักการปกครองที่ดี มีคุณธรรม จึงต้องมีการคิดค้นหาวิธีการใหม่ ๆ
ขึ้นเป็นกำหนดกฎเกณฑ์ของสังคม
5. อำนาจของพระเจ้ามีมากเกินไป
ศาสนาโดยเฉพาะศาสนาเทวนิยม สอนให้เชื่อในเรื่อง พระเจ้า
ซึ่งมีอำนาจมากมาย ไม่มีขอบเขตจำกัด
จึงท้ายทายผู้มีสติปัญญาให้มีการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าว่า
มีจริงหรือไม่ หรือมีอำนาจอย่างไร มีอำนาจจริงหรือไม่ เป็นต้น
ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม