ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา

ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)

เขาเชื่อว่า วิญญาณเป็นสิ่งเชิงเดี่ยว แบ่งแยกไม่ได้ และเป็นสิ่งไม่มีรูปร่าง วิญญาณจึงเป็นอมตะ ส่วนร่างกายเป็นสารประกอบ แบ่งแยกได้และเป็นสิ่งที่มีรูปร่าง ร่างกายจึงแตกดับ

ทัศนะของไลบ์นิซ (Leibniz) เขาถือว่าวิญญาณหรือโมนาดเป็นปรมาณูทางจิต เป็นสิ่งนิรันดร ไม่มีใครสร้าง ไม่มีใครทำลาย วิญญาณหรือโมนาดเป็นอมตะโดยธรรมชาติ

ทัศนะของเฮเกล (Hegel) เขาถือว่า วิญญาณที่จำกัดทุกวิญญาณมีที่อยู่และทำหน้าที่อยู่ในโลก แต่ไม่สามารถทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ได้โดยอาศัยร่างกายอันจำกัดนี้ ดังนั้นวิญญาณจึงต้องมีอยู่ต่อไปหลังจากร่างกายตายไป เพื่อทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ในโลกอนาคต

ทัศนะของมาร์ติโน (Martineau: 1805 - 1900) นักปรัชญาศาสนาชาวอังกฤษ เขาได้ให้เหตุผลทางอภิปรัชญาเกี่ยวกับอมฤตภาพของวิญญาณเอาไว้ว่า (อมร โสภณวิเชษฐวงศ์, 2520:224)

  1. ในแง่สรีรวิทยา ความตายเป็นเพียงการเปลี่ยนรูปของพลังงาน เมื่อบุคคลตายร่างกายจะแยกออกเป็นธาตุต่าง ๆ และพลังชีวิตก็แยกออกไป ตามกฎการคงปริมาณของพลังงาน พลังงานจะไม่สูญหายไป
  2. ถ้ากฎการคงปริมาณของพลังงานใช้ได้กับพลังงานของจิตหรือพลังชีวิต พลังชีวิตหรือวิญญาณนั้นก็จะไม่สูญหายไปหลังจากร่างกายตายแล้ว แต่จะคงอยู่ในรูปใดรูปหนึ่ง
  3. ถ้ากฎการคงปริมาณของพลังงานใช้ได้กับพลังงานทางฟิสิกส์เท่านั้น แต่ใช้ไม่ได้กับพลังงานทางจิต จิตหรือวิญญาณก็ไม่ขึ้นอยู่กับสสาร ไม่ได้รับการกระทบกระเทือนเพราะการแตกสลายของร่างกาย และจะคงอยู่หลังจากร่างกายตายแล้ว

อีกกลุ่มหนึ่งที่ให้แนวความคิดเอาไว้คือ กลุ่มที่ไม่เชื่อว่าจิตหรือวิญญาณเป็นอมตะ นักปรัชญากลุ่มนี้มีแนวความเชื่อพื้นฐานเป็นสสารนิยม กล่าวคือมนุษย์ประกอบด้วยสสารเพียงอย่างเดียว หรือความจริงแท้มีเพียงสสารอย่างเดียวเท่านั้น จิตก็คือสสารอย่างหนึ่ง ดังนั้น จิตหรือวิญญาณจึงไม่เป็นอมตะ เมื่อร่างกายสูญสลาย จิตก็จะต้องสูญสลายตามไป

ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย