ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา

จักรวาลวิทยา

(Cosmology)

คำว่า “จักรวาล” หมายถึง อวกาศทั้งหมด และสรรพสิ่งที่อยู่ในอวกาศ ไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะใดหรือที่ไหนในโลกหรือในอวกาศนอกโลก สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดเรียกว่า “จักรวาล”

จักรวาลวิทยา เป็นการศึกษาค้นคว้าและหาคำตอบเกี่ยวกับจักรวาลและสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาลว่ามีความเป็นมาอย่างไร สรรพสิ่งในจักรวาลมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ หรือมีความสัมพันธ์กันอย่างไร สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างไร

เมื่อเป็นเช่นนี้ จักรวาลวิทยาจึงศึกษาเกี่ยวกับปัญหาของจักรวาลดังต่อไปนี้ (รศ.ดร.สุจิตรา รณรื่น : 2540)

1. ปัญหาเกี่ยวกับขนาดของจักรวาล

นั่นคือปัญหาที่ว่าจักรวาลมีขอบเขตหรือไม่ คือมีขนาดรู้จักจบหรือไม่ เกี่ยวกับปัญหานี้มีคำตอบ 2 กลุ่มคือ

  1. กลุ่มนักปรัชญาที่เชื่อว่าจักรวาลไร้ขอบเขต กล่าวคือมีขนาดไม่รู้จบ
  2. กลุ่มนักคณิตศาสตร์เชื่อว่า จักรวาลมีขอบเขตจำกัด คือมีขนาดรู้จักจบ

2. ปัญหาเกี่ยวกับการวิวัฒนาการของจักรวาล

นั่นคือปัญหาที่ว่าจักรวาลมีความเป็นมาอย่างไร และจะดำเนินไปอย่างไร เป็นเรื่องที่ยากแก่การให้คำตอบ เพราะไม่มีเครื่องมือสำหรับสอดส่องย้อนไปดูอดีตเพื่อหาจุดเริ่มต้นของจักรวาลได้ เกี่ยวกับปัญหานี้มีคำตอบ 2 กลุ่มคือ

  1. กลุ่มนักคณิตศาสตร์ เชื่อว่าจักรวาลเมื่อเกิดขึ้นและวิวัฒนาการเต็มที่แล้วจะค่อย ๆ ดับลง เพราะการสูญเสียพลังงาน จักรวาลจึงมีการเสื่อมลงเรื่อย ๆ จนหมดพลังงานและในที่สุดสรรพสิ่งก็จะหยุดนิ่งและดับลง
  2. อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าจักรวาลจะไม่ดับลง เพราะในเมื่อจักรวาลไร้ขอบเขต หรือมีขนาดไม่รู้จักจบก็จะมีพลังงานที่มีปริมาณไม่รู้จบเช่นกัน หรือในแง่หนึ่งจะต้องมีการสร้างพลังงานใหม่ขคชึ้นทดแทนพลังงานเก่าที่เสียไป

3. ปัญหาเรื่องจักรวาลกำลังขยายตัว

จากการค้นพบของฮับเบิลในปี ค.ศ. 1929 ทำให้ทราบว่าจักรวาลกำลังขยายตัว โดยเขาใช้เครื่องแยกแสงตรวจสอบแสงจากแกแลกซี่ (Galaxy) จำนวนมากมายในอวกาศ (แกแลกซี่คือกลุ่มดาวแบบทางช้างเผือก คือประกอบด้วยดาวจำนวนมากมายรวมกุล่มกัน) พบว่าเส้นดำเคลื่อนไปทางแถบแสงสีแดงในสเปคตรัม (Spectrum คือแถบแสงเจ็ดสีที่ได้จากการแยกแสงคือม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง) ทำให้ทราบว่าแกแลกซี่กำลังเคลื่อนที่ห่างออกไปจากแกแลกซี่ของเราด้วยความความเร็วสูง แสดงให้เห็นว่าจักรวาลกำลังขยายตัวไปทุกทิศทาง

นักดาราศาสตร์บางท่านไม่เชื่อว่าจักรวาลกำลังขยายตัวโดยให้เหตุผลว่า การที่แสดงจากแกแลกซี่ต่าง ๆ ที่รับโดยสเปคโตรสโคปหรือเครื่องแยกแสง ปรากฏว่าเส้นดำเคลื่อนไปทางแถบแสงสีแดงนั้น อาจไม่ใช่เป็นผลมาจากจักรวาลกำลังขยายตัว

4. ปัญหาเรื่องเวลา (Time)

นั่นคือปัญหาที่ว่า เวลาคืออะไร มีจริงหรือไม่ ถ้ามีจริงมีลักษณะเป็นอย่างไร เหตุที่เราไม่สามารถหาความแจ่มแจ้งเกี่ยวกับเวลาได้เพราะเราไม่มีเครื่องมือใดมาตรวจสอบหรือสอดส่องดูความเป็นไปของมัน ไม่สามารถย้อนกลับไปดูอดีตหรือมองออกไปดูอนาคตได้ นอกจากดูในปัจจุบันเท่านั้น จึงทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับเรื่องเวลาอย่างมาก

ลักษณะของเวลาที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันมี 3 ประเภทคือ

  1. เวลานาฬิกา เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์หรือสร้างขึ้นเพื่อใช้บอกเวลาโดยกำหนดจากการหมุนรอบตัวเองของโลกเป็นหลัก โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบถือเป็น 1 วัน หมุนรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบถือเป็น 1 ปี แล้วแบ่งปีเป็นเดือน และวัน แบ่งวันเป็นชั่วโมง นาทีและวินาที นี่คือเวลานาฬิกา ซึ่งไม่น่าจะเกี่ยวกับเวลาที่แท้จริง
  2. เวลาจิตวิทยา หรือเวลาแห่งการรับรู้ เวลาชนิดนี้เป็นเวลาอัตวิสัย (Subjective time) หรือเวลาในประสบการณ์ของบุคคล เวลาจิตวิทยาคือประสบการณ์ต่อเนื่องของความรู้สึกตัวของปัจเจกบุคคล หรือความรู้สึกตัวเองนั่นเองคือเวลา ดังนั้นก็แสดงว่าในขณะที่เรานอนหลับหรือหมดสติไปก็เท่ากับว่าในขณะนั้นไม่มีเวลาสำหรับเรา เวลาจะเริ่มต้นขึ้นอีกครั้งเมื่อเรารู้สึกตัวขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เวลาในลักษณะนี้ไม่ใช่เวลาที่แท้จริง เพราะเวลาที่แท้จริงจะต้องต่อเนื่องกันไปไม่มีจุดสิ้นสุด เวลาจิตวิทยาหรือเวลาในความรู้สึกอาจยาวหรือสั้นก็ได้ เช่น เมื่อได้รับความทุกข์ จะรู้สึกว่าเวลายาวนาน แต่เมื่อได้รับความสุขจะรู้สึกว่าเวลาสั้นเกินไป
  3. เวลาที่แท้จริง ทฤษฎีที่ตอบว่าเวลาที่แท้จริงไม่เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลา ได้แก่

    เวลาของพระเจ้า (God’s time)
    เซนต์ ออกัสติน (Saint Augustin) เสนอว่า ตามหลักการของศาสนาคริสต์ สรรพสิ่งในจักรวาลเกิดจากการสร้างของพระเจ้า เวลาก็เช่นกัน พระเจ้าทรงสร้างเวลาขึ้นเพื่อให้สรรพสิ่งที่พระองค์สร้างดำเนินไปภายใต้ระบบของเวลา แต่พระองค์อยู่นอกระบบเวลา เมื่อสร้างเวลาได้ก็สามารถกำหนดให้เวลาสิ้นสุดลงในอนาคตได้ โดยที่สรรพสิ่งถูกจำกัดด้วยเวลา ยกเว้นพระเจ้าเพราะพระองค์อยู่นอกระบบเวลา จึงไม่ถูกจำกัดด้วยเวลา เวลาสัมบูรณ์ (Absolute time)
    นิวตัน (Isaac Newton) ถือว่า เวลาเป็นสิ่งที่แท้จริง หรือเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เป็นวัตถุวิสัย (Objective) คือเป็นสิ่งที่มีอยู่ด้วยตัวของมันเอง และไม่ใช่การเคลื่อนที่ของสสาร ไม่ใช่ตัวของสสารที่มีอยู่ภายใต้ระบบของเวลา แต่เวลาเป็นสิ่งหนึ่งต่างหากจากสสารหรือเหตุการณ์

    เวลาคือกลไกของมนัส
    ค้านท์ (Immanuel Kant) เห็นว่า สมรรถนะในการรับรู้เองเวลาอยู่ในกลไกของมนัส การรับรู้เรื่องเวลาไม่ได้พัฒนามาจากประสบการณ์ แต่มันมีอยู่ก่อนประสบการณ์ เป็นกลไกของมนัส หรือจิตของเราในการรับรู้ กล่าวคือมนัสเป็นกลไกในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ แต่เวลาเป็นเพียงกลไกในการปรุงแต่งให้เราเข้าใจได้
  4. ปัญหาเรื่องอวกาศ (Space) นั่นคือปัญหาที่ว่า อวกาศคืออะไร ? เป็นสิ่งที่แท้จริงหรือไม่ ? อวกาศอยู่นอกจากความคิดหรืออยู่ในความคิดมนุษย์ ? โดยทั่วไปคำว่า "อวกาศ" หมายถึงที่ว่างซึ่งจะใส่สิ่งของหรือวัตถุเข้าไปได้ แต่ในทางปรัชญามีความหมายกว้างกว่านั้น คือหมายถึงที่ว่างอันกว้าวใหญ่ออกไปทุกทิศทางอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีขอบเขต

    จึงมีปัญหาว่า อวกาศมีอยู่จริงหรือไม่ มีอยู่นอกความคิดมนุษย์หรือไม่ หรือเป็นเพียงความคิดที่เกิดจากการมีประสบการณ์วัตถุต่าง ๆ ปัญหานี้มีคำตอบ 2 อย่างคือ

    อวกาศคือกลไกของมนัส ค้านท์ถือว่า เวลาและอวกาศไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่จริงภายนอก แต่เป็นสิ่งที่มนัสหรือจิตของเราสร้างขึ้น เวลาและอวกาศเป็นเพียงกลไกในการรับรู้ของมนัส จึงไม่มีอยู่ในความเป็นจริง

    อวกาศแห่งมโนภาพ เป็นอวกาศตามที่เราคิดซึ่งจะแตกต่างไปจากอวกาศในประสบการณ์ของเรา อวกาศในความคิดของเรานั้นเริ่มจากที่ว่าง ณ ที่ใดที่หนึ่ง เช่น เราคิดถึงกล่องว่างเปล่ากล่องหนึ่ง บริเวณในกล่องเป็นอวกาศแล้วเราคิดขยายกล่องนี้ออกไปทุก ๆ ด้าน บริเวณภายในกล่องก็จะใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่มีที่สิ้นสุด ลักษณะดังกล่าวถือว่าเป็นอวกาศทางมโนภาพ

ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย