ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
(Relation between Body and Mind)
ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
เป็นเรื่องที่นักปรัชญาทุกยุคทุกสมัยถกเถียงกันเป็นเวลายาวนาน
หรืออาจพูดว่าเป็นปัญหาปรัชญาตะวันตกที่เก่าแก่มากพอ ๆ
กับกำเนิดของปรัชญาเลยทีเดียว
ปัญหานี้เป็นปัญหาปรัชญาที่ถือว่าสำคัญไม่น้อยไปกว่าปัญหาอื่น ๆ
นักปรัชญาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบันได้พยายามแสดงแนวความคิดของตนเอาไว้ในแง่มุมต่าง
ๆ ต่างคนก็ต่างให้เหตุผลสนับสนุนความเห็นของตนเอง
เพื่อจะให้เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป
ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิตนี้
ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาหาคำตอบอย่างจริงจังในปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่
หรือในคริสตศตวรรษที่ 17 เริ่มจากเดส์การ์ตส์ (Descartes) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส
บิดาแห่งปรัชญาสมัยใหม่ เขาเป็นผู้มีแนวคิดเป็นทวินิยม
กล่าวคือเป็นผู้ยอมรับความจริง 2 อย่างได้แก่ กายกับจิต
จึงก่อให้เกิดปัญหาต่อมาว่า กายกับจิตมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ?
ในทัศนะนักปรัชญาตะวันตก ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต ได้รับคำตอบจากทฤษฎี
7 ทฤษฎีคือ
1. ทฤษฎีปฏิอันตรกิริยานิยม หรืออันตรกริยานิยม (Interactionism)
2.
ทฤษฎีโอกาสนิยม (Occasionalism)
3. ทฤษฎีขนานนิยม (Parallelism)
4. ทฤษฎีปรากฏการณ์นิยม (Epiphenomenalism)
5. ทฤษฎีสรรพัตถจิต (Pan- Psychism)
6. ทฤษฎีความกลมกลืนล่วงหน้า (Pre
established Harmony)
7. ทฤษฎีปรับปรุงตัว (Emergent Theory)
1. ทฤษฎีปฏิอันตรกิริยานิยม
หรืออันตรกริยานิยม (Interactionism)
ผู้ก่อตั้งทฤษฎีนี้คือ เดส์การ์ตส์ (Descartes)
เขาได้แยกระหว่างความคิด (Thought) และสิ่งกินที่ (Extension)
หรือกายกับจิตออกจากกันโดยเด็ดขาด
กายและจิตเป็นสาระคนละประเภทที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยเขาได้อธิบายว่า
จิต เป็นสิ่งที่ไม่กินแค่คิดได้ ส่วนกายเป็นสิ่งที่กินที่แต่คิดไม่ได้
เป็นกระบวนการทางฟิสิกส์ เหตุการณ์ทางจิตก็อยู่ในขอบเขตของจิตต่างหาก
เหตุการณ์ทางกายก็อยู่ในขอบเขตของกายต่างหาก คือเป็นเหตุการณ์คนละระบบ
แต่เหตุการณ์ทั้งสองอย่างมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน หรือเป็นสื่อสัมพันธ์ต่อกัน
มีปฏิกิริยาอาการต่อกันได้ นั่นคือเหตุการณ์ทางกายเป็นสาเหตุให้เกิดเหตุการณ์ทางจิต
และเหตุการณ์ทางจิตก็เป็นสาเหตุให้เกิดเหตุการณ์ทางกาย เช่น เราถูกตีที่ศีรษะ
ซึ่งเป็นเหตุการณ์ทางกาย จะทำให้เรารู้สึกเจ็บ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ทางจิต เป็นต้น
ลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า อันตรกิริยานิยม (Interactionism)
กายและจิตแสดงปฏิกิริยาต่อกันได้อย่างไร ?
เดส์การ์ตส์ตอบว่า
เพราะเมื่อเราทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามความต้องการของเรา
แสดงว่าจิตมีอิทธิพลต่อร่างกาย
และเมื่อเรามีประสบการณ์ทางผัสสะเข้าสู่สมองนั้นก็เพราะว่า
จิตได้รับอิทธิพลจากร่างกาย
ถ้ากายและจิตไม่มีความสัมพันธ์ต่อกัน
แล้วอะไรเป็นกลไกของกระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือแลกเปลี่ยนกัน เพราะกิจกรรมต่าง
ๆของชีวิตมนุษย์จะดำเนินไปไม่ได้โดยปราศจากการร่วมมือกันระหว่างกายกับจิต ?
เดส์การ์ตส์ตอบว่า กายกับจิต แสดงปฏิกิริยาต่อกันโดยการเป็นสาเหตุต่อกัน
เพราะธาตุทั้งสองนี้จะแยกกันอย่างเด็ดขาด
ดังนั้น ทฤษฎีนี้จึงแยกกายกับจิตออกจากกันโดยเด็ดขาด เป็นอิสระต่อกัน
แต่อาการของทั้งสองอย่างมีปฏิกิริยาต่อกัน กล่าวคือสาเหตุของกาย
มีอิทธิพลต่อสาเหตุของจิต และสาเหตุของจิตมีอิทธิพลต่อสาเหตุของ
2. ทฤษฎีโอกาสนิยม (Occasionalism)
ผู้ก่อตั้งทฤษฎีนี้คือ
นิโคลาส มัลบรังซ์ (Nicolas Malebranche)
เขาไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดของเดส์การ์ตส์ที่ใช้ทฤษฎีปฏิกิริยานิยมมาตอบปัญหาเกี่ยวกับกายกับจิต
เขาจึงเสนอทฤษฎีใหม่เรียกว่า ทฤษฎีโอกาสนิยม โดยกล่าวว่า
กายกับจิตไม่มีปฏิกิริยาต่อกัน
แต่การกระทำของฝ่ายหนึ่งเป็นโอกาสให้พระเจ้าทำการเปลี่ยนแปลงให้อีกฝ่ายหนึ่ง เช่น
เมื่อเราตั้งใจจะก้าวขาออกหนึ่งก้าว ทันใดนั้นพระเจ้าก็ยกขาข้างหนึ่งก้าวออกไป
โดยเปรียบเทียบการทำงานของจิตกับกายด้วยเครื่องจักรกล
มนุษย์ปรับเครื่องกลไกให้มันทำงาน เช่นเดียวกับพระเจ้าที่อยู่ภายนอกจิตกับกาย
และถือโอกาสเป็นสาเหตุให้จิตกับกายทำงานประสานกันได้
แนวคิดนี้มีความคล้ายคลึงกับทฤษฎีแห่งความกลมกลืนล่วงหน้าแห่งโมนาดของไลบ์นิซ
แต่ก็ยังมีข้อที่เป็นปัญหาอีกคือ
- ทฤษฎีนี้จำกัดอำนาจของพระเจ้า
และจำกัดพระเจ้าให้เป็นลักษณะปาฏิหาริย์มากู้สถานการณ์
พระเจ้าเป็นเจ้าของเครื่องจักร
- พระเจ้าถูกรวมเข้ามาอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนสาเหตุที่ไม่จำเป็นในการทำงานของจิตและกาย เพราะทฤษฎีโอกาสนิยมนี้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิตว่าไม่มีอะไรใหม่ขึ้นมา หรือไม่มีอะไรบกพร่องมากไปกว่าสภาพอย่างที่มันเป็นอยู่ หรือมีอยู่แล้ว
ดังนั้น ทฤษฎีนี้จึงถือว่า มีอำนาจจากเทวะ ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงต่าง
ๆ ในกายกับจิต และตั้งกิจกรรมของกายและจิตเหล่านั้นไว้อย่างเป็นระเบียบตามจังหวะ
3. ทฤษฎีขนานนิยม (Parallelism)
ผู้ก่อตั้งทฤษฎีนี้คือ
สปิโนซ่า (Spinoza) ที่ได้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
เป็นที่รู้กันในนามทฤษฎีเส้นขนานต่อกัน สปิโนซ่า ได้อธิบายว่า
ความคิดและการกินที่คือคุณภาพสองอย่างของสารัตถะ
อย่างแรกเป็นจิตคือรูปแบบของความคิด อีกอย่างเป็นสสารคือรูปแบบของการกินที่ ดังนั้น
กายกับจิต จึงเป็นสองรูปแบบของสารัตถะเดียวกันทั้งสองรูปแบบสัมพันธ์กับพระเจ้า
รูปแบบของความคิดกับการกินที่แห่งสารัตถะทั้งสองคือ พระเจ้า
เนื่องจากแต่ละอย่างคือรูปแบบของสารัตถะธรรมดา
มันเป็นเพียงธรรมชาติที่ทั้งสองคือความคิดและการกินที่ควรมีอยู่ในสาเหตุที่ใกล้ชิดแม้ว่าในรูปแบบทางหน้าที่ของทั้งสองสิ่งปรากฏเป็นสภาพที่แตกต่างกันก็ตาม
ร่างกายเป็นตัวกระทำต่ออิทธิพลภายนอกอย่างต่อเนื่องและแสดงออกซึ่งรูปแบบใหม่อย่างถาวร
และเป็นสิ่งที่จิตรู้จักอยู่เสมอ ความจริงแล้ว คำว่า จิต
นั้นก็ย่อมใช้บ่งถึงกลุ่มแห่งความรู้
จิตสามารถรู้ธาตุภายนอกก็เพียงในรูปแบบที่ธาตุเหล่านั้นมีอิทธิพลต่อร่างกายเท่านั้น
มันไม่สามารถรู้ธาตุเหล่านั้นได้ในรูปแบบที่ถูกต้อง
นั่นพิสูจน์ว่าจิตไม่มีอิทธิพลต่อกาย หรือกายไม่มีอิทธิพลต่อจิต
จะเห็นว่าความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางกายและทางจิต
ในความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิตของสปิโนซ่าไม่ยอมรับหรือไม่เห็นด้วยกับทวินิยมของเดส์การ์ตส์
โดยที่สปิโนซ่าเชื่อว่า
ความจริงไม่มีอยู่ในการควบคุมของร่างกายที่จะเร้าให้จิตทำการคิดและก็ไม่ใช่อิทธิพลของจิตอะไรที่จะมาควบคุมร่างกายในสภาพใด
ๆ ของร่างกาย เช่น การนอนหลับ การตื่น เป็นต้น
มนุษย์ไม่สามารถจะผลักดันหรือทำกิจกรรมอะไรโดยการนำของจิตได้
เพราะเจตนาของเขาไม่ได้เป็นอิสระ
จะต้องมีสาเหตุบางอย่างกำหนดล่วงหน้าทุกกิจกรรมของจิต
ดังนั้น สปิโนซ่าจึงสรุปว่า ทุก ๆ การกระทำของมนุษย์ถูกกำหนดล่วงหน้า
ในการอธิบายธรรมชาติที่ถูกกำหนดล่วงหน้าแห่งความคิดและการกระทำของมนุษย์
สปิโนซ่า กล่าวว่า จิตเป็นสภาพที่ถูกกำหนดอย่างหนึ่ง
และเป็นรูปแบบพื้นฐานของความคิด เพราะเหตุนี้
จิตจึงไม่สามารถที่จะเป็นสาเหตุแห่งการกระทำของตัวมันเองได้
และจิตก็ไม่มีอำนาจในการเลือกหรือเจตจำนงเสรีแต่อย่างใด
เพราะจิตถูกกำหนดโดยเหตุอย่างหนึ่ง และเหตุอย่างหนึ่งนั้นก็ถูกกำหนดด้วยเหตุอื่น ๆ
อีก ในทำนองเดียวกันนี้ต่อ ๆ ไป
ดังนั้น ทฤษฎีนี้ถือว่า ทั้งกายและจิต
เป็นลักษณะสองอย่างของสารัตถะอันเดียวกัน ได้แก่ พระเจ้า
ทั้งสองอย่างเป็นรูปแบบของการคิด กับการกินที่ของสารัตถะเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้
จึงหมายความว่า เหตุการณ์ทั้ง 2 ประเภทไม่ได้เกี่ยวเนื่องถึงกัน
หรือเป็นสาเหตุต่อกัน กระบวนการทางจิตและกระบวนการทางกายมีความเป็นจริงเท่า ๆ กัน
แต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นสาเหตุแก่กัน
เพียงแต่ทั้งสองกระบวนการเป็นไปด้วยกันและพร้อมกัน
โดยที่เหตุการณ์ทางกายไม่ได้กระทบหรือเป็นสาเหตุของเหตุการณ์ทางจิต
หรือเหตุการณ์ทางจิตก็ไม่ได้กระทบหรือเป็นสาเหตุของเหตุการณ์ทางกาย
แต่เป็นไปเหมือนกับรถไฟ 2 ขบวนวิ่งคู่กันไปบนทางรถไฟคู่
4. ทฤษฎีปรากฏการณ์นิยม (Epiphenomenalism)
(บางแห่งแปลว่าอนุปรากฏการณ์นิยม)
ความเห็นของทฤษฎีนี้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิตได้แก่
จิตคือผลผลิตอย่างที่สองของกิจกรรมทั้งหลายของสมอง ซึ่งเป็นส่วนที่หนึ่งของร่างกาย
จิตมีสถานภาพเหมือนกันกับสมองซึ่งเขาถือว่าเป็นร่างกาย เห็นชัดว่า ทฤษฎีนี้
ลดจิตลงสู่ภาวะที่ไม่ใช่จิตที่ไร้อำนาจที่จะทำอะไร
และยอมรับอะตอมและการเคลื่อนไหวของอะตอมว่าเป็นความจริงพื้นฐานของจักรวาล
อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีนี้ไม่เป็นที่ยอมรับ
เพราะต้นตอของทฤษฎีนี้จัดอยู่ในกลุ่มวัตถุนิยม เป็นการยากที่จะเข้าใจว่า
จิตเป็นสิ่งสำคัญกว่าสมองในกิจกรรมของชีวิตประจำวันของเรา
แต่เรารู้เพียงว่ามีกิจกรรมของจิตอยู่ในจิตของเราตลอดเวลา
ประสบการณ์พิสูจน์ความล้มเหลวทฤษฎีนี้
ดังนั้น ทฤษฎีนี้จึงเห็นว่า
จิตคือผลผลิตขั้นที่สองของกิจกรรมทางสมองซึ่งเป็นส่วนที่หนึ่งของร่างกาย
นั่นคือปรากฏการณ์ทางจิตเป็นเพียงผลที่เนื่องมาจากปรากฏการณ์ทางสมอง
แต่ไม่สามารถเป็นเหตุให้เกิดปรากฏการณ์ทางสมอง อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีนี้ยังถือว่า
ปรากฏการณ์ทางจิตกับปรากฏการณ์ทางสมองมิใช่สิ่งเดียวกัน
5. ทฤษฎีสรรพัตถจิต (Pan - Psychism)
ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยจิตมีอยู่มากมายในสรรพสิ่ง และทุก ๆ อย่าง
นั่นหมายถึงกิจกรรมทางกายทุก ๆ อย่าง ประกอบไปด้วยกิจกรรมทางจิตที่เป็นขนานอันหนึ่ง
นั่นคือเบื้องหลังของกิจกรรมทางร่างกายจะต้องมีกิจกรรมทางจิตที่เป็นขนานกันอยู่
ไม่ว่ากิจกรรมทางร่างกายจะขึ้นอยู่กับอินทรียภาพของมนุษย์หรือไม่ก็ตาม
แสดงให้เห็นว่ามีจิตอยู่ในทุก ๆ สิ่งทุก ๆ อย่าง
6. ทฤษฎีความกลมกลืนล่วงหน้า (Pre established Harmony)
ผู้ก่อตั้งทฤษฎีนี้คือไลบ์นิซ (Leibniz)
ซึ่งได้กล่าวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิตว่า ร่างกายอันใดเป็นฟิสิกส์นี้
เป็นอิสระคงทนต่ออิทธิพลของสิ่งที่ไม่ใช่ฟิสิกส์ใด ๆ
เขาเห็นด้วยกับทฤษฎีทวินิยมของเดส์การ์ตส์ แต่อธิบายเพิ่มเติมว่า หน้าที่ต่าง ๆ
ทางร่างกายเกิดขึ้นอย่างอิสระและเดินตามกฏต่าง ๆ ของมันเอง กฎต่าง ๆ
เหล่านั้นก็คือกฎแห่งกลศาสตร์
จากการอธิบายนี้ ไลบ์นิซได้พิสูจน์ว่า เมื่อหน้าที่ต่าง ๆ
ทางร่างกายเดินตามกฎต่าง ๆ ของมัน หน้าที่ต่าง ๆ ของจิตก็ปฏิบัติงานตามกฎของมัน
ซึ่งไม่สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับการทำงานของร่างกายได้
ในสภาพนี้กายกับจิตมีวิถีทางที่แตกต่างกันของมันเองโดยปราศจากอิทธิพลของกันและกัน
ไลบ์นิซได้ยกตัวอย่างนาฬิกาสองเรือนที่แตกต่างกันเพื่อบอกเวลาเหมือนกัน
แต่มันไม่ได้สร้างอิทธิพลต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นวิถีทางใด ๆ ในลักษณะเดียวกัน
กายกับจิตก็ทำหน้าที่ของตนอย่างอิสระ
สิ่งที่ปรากฏเป็นปฏิกิริยาต่อกันระหว่างกายกับจิตนั้น
คือสิ่งที่ถูกทำให้เป็นสาเหตุโดยการกลมกลืนล่วงหน้า
เพียงแต่ถ้าเรารู้การเปลี่ยนแปลงทั้งหลายที่เกิดขึ้นก่อน
เราก็สามารถรู้สิ่งที่จิตเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
ดังนั้น ทฤษฎีนี้จึงถือว่า
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิตมีอยู่บนพื้นฐานทางเหตุผลที่พระเจ้ากระทำไว้ล่วงหน้า
7. ทฤษฎีปรับปรุงตัว (Emergent Theory)
ทฤษฎีนี้แสดงเหตุผลว่า จิตคือการปรับปรุงตัว และกำลังเกิดขึ้นในร่างกาย
ธรรมชาติสร้างจิตโดยผ่านตัวกลางคือร่างกาย ในระยะขึ้นแห่งการวิวัฒนาการนั้น
เป็นเพียงแต่ขั้นใหม่ ได้ลดความสำคัญของขั้นที่มีมาก่อนของมัน
จิตได้รับอำนาจเหนือร่างกาย ซึ่งแสดงบทบาทระดับรอง ดังนั้น
จิตจึงเป็นธาตุใหม่อย่างหนึ่งที่มีรูปใหม่ของมันเองในร่างกาย
ดังนั้น ทฤษฎีนี้จึงถือว่า จิตคือการปรากฏตัวที่มีกำเนิดในร่างกาย
ในทางพระพุทธศาสนา ได้แสดงทัศนะความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิตไว้ว่า
กายกับจิตมีธรรมชาติที่แตกต่างกันอย่างตรงกันข้าม กล่าวคือ จิตเป็นวัตถุนามธรรม
ส่วนกายเป็นธาตุวัตถุธรรมไม่รู้สิ่งภายนอก เช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
และไม่รู้ธรรมารมณ์อีกด้วย แต่จิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ที่เกิดจากรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ เพราะจิตมีธรรมชาติรู้เป็นคุณภาพ ดังนั้น
กายกับจิตจึงไม่ใช่สิ่งเดียวกัน กายก็ไม่ใช่จิตและจิตก็ไม่ใช่กาย
แม้ว่ากายกับจิต จะมีธรรมชาติที่แตกต่างกันอย่างตรงกันข้าม
แต่ก็ถือว่าเป็นธรรมชาติสัมพันธ์กัน เป็นไปอย่างอิงอาศัยกันและกัน
เมื่ออย่างหนึ่งแตกสลายไป อีกอย่างหนึ่งก็ทำลายลงด้วย ในวิสุทธิมรรค
พระพุทธโฆษาจารย์ได้แสดงไว้ว่า รูปและนามเป็นของคู่กันทั้งคู่อาศัยกันและกันเป็นไป
เมื่ออย่างหนึ่งแตกสลายไปก็แตกสลายทั้งคู่ตามปัจจัย แสดงให้เห็นว่า ทั้งกายและจิต
แม้ว่าจะไม่ใช่สิ่งเดียวกันแต่ก็เป็นองค์ประกอบของกันและกันอย่างจำเป็น
ซึ่งทำให้เกิดกระบวนการชีวิตขึ้น
ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม