ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา

ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่น ๆ

อภิปรัชญา (Metaphysics) เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่ว่าด้วยเรื่องความเป็นจริงและความจริงแท้ (Reality) เกี่ยวกับโลกและจักรวาล ตลอดจนธรรมชาติของมนุษย์ว่ามีความเป็นจริงอย่างไร ความเป็นจริงที่แสวงหานั้นเป็นความจริงสุดท้ายหรือความจริงสูงสุดที่เรียกว่า ความจริงอันติมะ (Ultimate Reality) อันเป็นพื้นฐานที่มาของความจริงอื่น ๆ ดังนั้น จึงทำให้ปรัชญาสาขานี้ มีความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่น ๆ มากมาย จะขอยกมาที่นี้เฉพาะที่เห็นสำคัญเท่านั้นคือ

  1. อภิปรัชญากับศาสนา (Metaphysics and Religion)
  2. อภิปรัชญากับวิทยาศาสตร์ (Metaphysics and Science)
  3. อภิปรัชญากับญาณวิทยา (Metaphysics and Epistemology)

1. อภิปรัชญากับศาสนา

ระหว่างอภิปรัชญากับศาสนา มีทั้งที่คล้ายคลึงกันและแตกต่างกัน ที่คล้ายคลึงกันมีลักษณะที่สำคัญดังนี้

  1. อภิปรัชญาและศาสนา มีวัตถุประสงค์ขั้นต้นเหมือนกัน นั่นคือเพื่อศึกษาเบื้องหลังของโลกหรือจักรวาล
  2. ทั้งอภิปรัชญาและศาสนา พยายามที่จะก้าวไปให้พ้นปรากฏการณ์ในปัจจุบัน เพื่อให้มองเห็นความแท้จริง
  3. ทั้งอภิปรัชญาและศาสนาเน้นการฝึกจิตว่า เป็นวิธีที่เข้าถึงความแท้จริงได้ ยกเว้นอภิปรัชญาฝ่ายสสารนิยม
  4. ทั้งอภิปรัชญาและศาสนา เชื่อในความสามารถของจิตมนุษย์ว่าสามารถสัมผัสความแท้จริงได้ ยกเว้นอภิปรัชญาฝ่ายสสารนิยม

อภิปรัชญาและศาสนา (เทวนิยม) มีลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้

  1. อภิปรัชญาใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มาพิจารณาสภาพธรรมที่เป็นโลกุตตระ ส่วนด้านศาสนาใช้วิธีมอบกายถวายชีวิตต่อสภาพธรรมนั้น
  2. อภิปรัชญาใช้เหตุผลในการเข้าถึงความแท้จริง ส่วนศาสนาใช้ความภักดีและศรัทธาในพระเจ้าในการเข้าถึงสัจธรรม
  3. อภิปรัชญา ไม่เริ่มต้นศรัทธาในสิ่งที่จะศึกษาค้นคว้า แต่เริ่มต้นด้วยความสงสัย ส่วนศาสนาเริ่มต้นด้วยศรัทธา
  4. อภิปรัชญามีขอบเขตที่จะต้องศึกษากว้างกว่าศาสนา คือว่าด้วยความแท้จริงเกี่ยวกับโลกทั้งมวล ส่วนศาสนาว่าด้วยเรื่องพระเจ้าในส่วนที่สัมพันธ์กับมนุษย์เท่านั้น
  5. อภิปรัชญา ศึกษาเพื่อความรู้จริงเท่านั้น ส่วนศาสนามุ่งปฏิบัติให้เข้าถึงความจริง

2. อภิปรัชญากับวิทยาศาสตร์

ความสัมพันธ์ระหว่างอภิปรัชญากับวิทยาศาสตร์ที่จะพึงศึกษา คือ

อภิปรัชญา คือการคาดคะเนความจริงก่อนวิทยาศาสตร์ แนวความคิดทางอภิปรัชญาเช่น ธาเลส (Thales) บอกว่า “น้ำ เป็นปฐมธาตุของโลก หรือสรรพสิ่งมาจากน้ำ” หรือ เฮราคลิตุส (Heraclitus) บอกว่า “ไฟ เป็นปฐมธาตุของโลก หรือสรรพสิ่งมาจากไฟ” เหล่านี้เป็นต้น ถือว่าเป็นการคาดคะเน การคาดคะเนเช่นนี้ถือว่าเป็นเรื่องของอภิปรัชญา ต่อมา เรื่องโครงสร้างของเอกภพกายภาพก็ดี เรื่องของส่วนประกอบของสิ่งทั้งหลายก็ดี เป็นหน้าที่ของศาสตร์เช่น ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เป็นต้นที่จะต้องให้คำตอบโดยใช้วิธีการทดสอบ ทดลอง ซึ่งเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์

3. อภิปรัชญากับญาณวิทยา

โดยทั่วไปแล้วถือว่า อภิปรัชญากับญาณวิทยาเป็น 2 สาขาของปรัชญา โดยอภิปรัชญานั้น เป็นการค้นคว้าถึงธรรมชาติของความแท้จริงสุดท้าย ส่วนญาณวิทยา เป็นการค้นคว้าถึงธรรมชาติของความรู้

กับปัญหาที่ว่า ระหว่างอภิปรัชญากับญาณวิทยา อะไรสำคัญกว่ากัน ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ นักปรัชญาบางกลุ่มเห็นว่าญาณวิทยามาก่อน เพราะการตรวจสอบถึงความเป็นไปได้และขอบเขตของความรู้นั้นเป็นสิ่งสำคัญอันเป็นพื้นฐานในการแสวงหาและคันคว้าถึงธรรมชาติของความแท้จริงสุดท้ายซึ่งเป็นเรื่องของอภิปรัชญา แต่นักปรัชญาบางกลุ่มก็ได้เริ่มต้นปรัชญาของเขาด้วยอภิปรัชญา และถือว่าญาณวิทยาต้องสอดคล้องหรือคล้อยตามอภิปรัชญา โดยทัศนะดังกล่าวแล้ว ทั้งญาณวิทยาและอภิปรัชญา ต่างก็เป็นสาขาของตัวเองต่างหากไม่เกี่ยวเนื่องกัน

อภิปรัชญา (Metaphysics) จึงเป็นวิชาที่ว่าด้วยความแท้จริงของสรรพสิ่ง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภววิทยา (Ontology) ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความมีอยู่ ความเป็นอยู่ของสรรพสิ่ง ความมีอยู่ของสรรพสิ่งก็คือความแท้จริงของสรรพสิ่ง ความแท้จริงของสรรพสิ่งย่อมเป็นความมีอยู่ของสรรพสิ่ง ดังนั้น ทั้ง 2 คำจึงเป็นอันเดียวกัน ต่างแต่ว่า Ontology ใช้มาก่อน Metaphysics ใช้ทีหลัง กล่าวคืออภิปรัชญาศึกษาเรื่องธรรมชาติที่แท้จริงเกี่ยวกับโลก วิญญาณหรือจิต และพระผู้เป็นเจ้า การที่เราจะเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติที่แท้จริงของโลก วิญญาณหรือจิต และพระผู้เป็นเจ้านั้น ต้องอาศัยญาณวิทยาเป็นเครื่องมือในการพิสูจน์ความจริงเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้

ญาณวิทยา (Epistemology) คือทฤษฎีความรู้ เป็นวิชาที่ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ธรรมชาติและเหตุแห่งความรู้ที่แท้จริง ซึ่งเป็นการศึกษาถึงรายละเอียดของความรู้ทั้งหมด เพื่อให้เห็นความเป็นไป และตัดสินได้ว่าอะไรเป็นความจริงแท้ ซึ่งเกิดจากความรู้ที่แท้จริง เป็นการศึกษาสภาพทั่ว ๆ ไปของความรู้อย่างกว้าง ๆ

ดังนั้น อภิปรัชญาจะต้องใช้ญาณวิทยาเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งที่มีอยู่ กล่าวคือญาณวิทยา เป็นพื้นฐานหรือมูลฐานที่ทำให้เกิดปรัชญานั้น ความจริงญาณวิทยาและอภิปรัชญามีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ซึ่งสิ่งหนึ่งจะปราศจากอีกสิ่งหนึ่งย่อมเป็นไปไม่ได้ ทฤษฎีว่าด้วยความรู้นำไปสู่ความรู้สิ่งต่าง ๆ

จะอย่างไรก็ตาม ทั้งอภิปรัชญาและญาณวิทยาต่างก็มีวิธีการอธิบายสิ่งเดียวกัน นั่นคือธรรมชาติที่แท้จริง และทั้งสองอย่างต่างก็อาศัยซึ่งกันและกัน เพื่อค้นหาความจริงของสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง

ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย