ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา
อมฤตภาพของวิญญาณ
กับคำถามที่ว่า เมื่อตายแล้ววิญญาณไปไหน
นักวิทยาศาสตร์ทางปรจิตวิทยาตะวันตกลงความเห็นว่า ร่างกายประกอบไปด้วยจิตและวิญญาณ
ถ้าหากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่สามารถคงความเป็นมนุษย์อยู่ได้
วิญญาณเป็นพลังงานพิเศษ เป็นนามธรรม บุคคลธรรมดาไม่สามารถมองเห็น
หรือสัมผัสวิญญาณได้ ต้องเป็นผู้มีสมาธิจิตที่สูงเท่านั้น
จึงจะสามารถสัมผัสวิญญาณได้ ในกรณีที่บุคคลถึงแก่ความตาย
วิญญาณจะละทิ้งกายเนื้อหรือร่างกายที่สิ้นชีวิตแล้วไปพร้อมกับกายทิพย์
และไม่กลับมาสู่กายเนื้ออีก ซึ่งเรียกกันว่า วิญญาณออกจากร่าง
ดร.สตีเวนสัน ได้สรุปเอาไว้อย่างน่าฟังว่า
วิญญาณเป็นพลังงานที่ลึกลับชนิดหนึ่ง
ซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถหาเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ค้นหาวิญญาณได้
ท่านได้ยืนยันว่า วิญญาณไม่แตกดับสลายไปพร้อมกับร่างกาย
ยังคงมีการสืบต่อเป็นสันตติไม่ขาดสายสามารถทิ้งร่างกายเก่าไปเกิดในร่างกายใหม่ได้ตามสภาพของกรรมดี
กรรมชั่วที่ได้กระทำไว้ก่อนสิ้นชีวิต
ปัญหาเกี่ยวกับอมฤตภาพของวิญญาณ เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย
กล่าวคือเมื่อคน ๆ หนึ่งตายลง ชีวิตของเขาสิ้นสุดลงเพียงนั้นหรือไม่
หรือมีอะไรต่อไปอีก ปัญหานี้มีคำตอบ 2 กลุ่ม36คือ
1. กลุ่มที่เชื่อว่าจิตหรือวิญญาณเป็นอมตะ
กลุ่มนี้ถือว่ามนุษย์ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
- ส่วนที่เป็นร่างกาย
- ส่วนที่คิดได้ หรือจิตวิญญาณ
เมื่อตายลงร่างกายก็แตกสลายไป
แต่ส่วนที่คิดได้หรือจิตวิญญาณยังมีอยู่ไม่แตกสลายตามร่างกาย เพราะเป็นอมตะ ดังนั้น
เมื่อร่างกายแตกสลาย จิตหรือวิญญาณอาจไปหาร่างใหม่อยู่ที่เรียกว่าไปเกิดใหม่
หรืออยู่ในสภาพที่ไม่มีร่างกาย
กลุ่มที่เชื่อว่าจิตหรือวิญญาณเป็นอมตะ มีจำนวนมากมาย เช่น ลัทธิเพลโต้
(Platoism) ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม เป็นต้น
2. กลุ่มที่เชื่อว่าจิตหรือวิญญาณไม่เป็นอมตะ
- กลุ่มนี้มีทัศนะว่ามนุษย์ประกอบสสารอย่างเดียว สิ่งที่เรียกว่าจิตหรืออสสารก็เป็นสสารเช่นเดียวกันกับร่างกาย จึงมีแตกมีดับ หรือมีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับร่างกาย จิตหรือวิญญาณจึงมิใช่สิ่งคงอยู่ชั่วนิรันดร์
- กลุ่มที่เชื่อว่าจิตหรือวิญญาณไม่เป็นอมตะ เช่น พวกสสารนิยม ลัทธิจารวากของปรัชญาอินเดีย เป็นต้น
ทัศนะเกี่ยวกับวิญญาณเป็นอมตะหรือไม่ ?
ตามที่กล่าวไว้แล้วว่า
กลุ่มนักปรัชญาที่ได้กล่าวถึงปัญหาเรื่องวิญญาณเป็นอมตะหรือไม่นั้น มี 2
กลุ่มคือกลุ่มที่เชื่อว่าจิตหรือวิญญาณเป็นอมตะ
และกลุ่มที่เชื่อว่าจิตหรือวิญญาณไม่เป็นอมตะ
ในกลุ่มที่เชื่อว่าจิตหรือวิญญาณเป็นอมตะนั้น ได้ถือว่า
วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่ตายจะคงอยู่ต่อไปหลังจากร่างกายตายแล้ว
นักปรัชญาหลายคนได้ให้เหตุผลเรื่องอมฤตภาพของวิญญาณเอาไว้
ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม