ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา

อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ

เรื่องจิต หรือวิญญาณ เป็นการค้นคว้าถึงธรรมชาติของวิญญาณ ความมีอยู่ของวิญญาณ จุดหมายปลายทางของวิญญาณ ลักษณะ โครงสร้าง กำเนิด หน้าที่ของจิตหรือวิญญาณ ความสัมพันธ์ระหว่างวิญญาณกับร่างกาย หรือความสัมพันธ์ระหว่างจิตและสสาร และศึกษาเกี่ยวกับตัวของจิตหรือวิญญาณว่าคืออะไรกันแน่

โดยทั่วไปแล้วนักปรัชญาจะถือว่า จิตเป็นความแท้จริงเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น สสารหรือวัตถุเป็นเพียงปรากฏการณ์ของจิตเท่านั้น เช่น ร่างกายของมนุษย์ เป็นปรากฏการณ์ชั่วคราวของจิต เป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวของจิต เมื่อร่างกายสูญสลายไป จิตก็ยังคงอยู่ไม่สูญสลายไปกับร่างกาย แม้แต่ในคำพังเพยของไทยที่ยึดหลักคำสอนพระพุทธศาสนา ก็กล่าวอ้างอิงเอาไว้ว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” นั่นแสดงให้เห็นว่า จิตเท่านั้นเป็นความแท้จริง ไม่ใช่สสารหรือร่างกายแต่อย่างใด

ในปรัชญาสมัยโบราณได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องจิตวิญญาณ โดยนักปรัชญาสมัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นเพลโต้ (Plato) หรืออริสโตเติ้ล (Aristotle) พยายามศึกษาว่าวิญญาณคืออะไร มีลักษณะอย่างไร มีความสัมพันธ์กับร่างกายอย่างไร จุดหมายปลายทางของวิญญาณคืออะไร มีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้บรรลุจุดหมายนั้น วิญญาณเป็นอมตะหรือว่าสูญสลายไปพร้อมกับร่างกาย วิญญาณสัมพัทธ์กับวิญญาณสัมบูรณ์มีความสัมพันธ์อย่างไร หรือวิญญาณมนุษย์กับพระเจ้ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร

เมื่อพิจารณาดังกล่าวแล้ว จะเห็นว่าแนวความคิดดังกล่าวเป็นแนวความคิดของนักปรัชญากลุ่มจิตนิยม (Idealism) โดยเฉพาะ กล่าวคือลัทธินี้ถือว่า จิตเป็นตัวการสำคัญ สสารหรือวัตถุเป็นรอง เป็นการให้คำตอบว่าความเป็นจริงของสรรพสิ่งหรือแก่นแท้ของสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาลคือ “จิต” หรือสรรพสิ่งขึ้นอยู่กับจิตเท่านั้น

ลัทธิจิตนิยม มีแนวความคิดที่สัมพันธ์กับศาสนาเกือบทุกศาสนา เพราะศาสนาโดยส่วนมากถือว่า “จิตสำคัญกว่าร่างกาย” แต่ลัทธินี้ก็ไม่ได้ปฏิเสธความมีอยู่ของสสารหรือวัตถุ เพียงแต่ว่าความมีอยู่ของสสารหรือวัตถุต้องขึ้นอยู่กับจิต นั่นคือจิตมีความสำคัญสูงกว่าหรือเหนือกว่าสสารหรือวัตถุ สสารมีความสำคัญรองลงมา ซึ่งมีความคิดที่ตรงกันข้ามกับลัทธิสสารนิยม (Materialism) ที่ถือว่าสสารเท่านั้นเป็นสิ่งที่แท้จริง จิตเป็นเพียงผลพลอยได้ของสสาร กล่าวคือเป็นการทำหน้าที่ของสมองเท่านั้น แต่ลัทธิจิตนิยมถือว่าจิตเท่านั้นเป็นความแท้จริง สสารมีอยู่ได้ก็เพราะอาศัยจิต หรือเป็นปรากฏการณ์หรือการแสดงออกของจิต ระบบหรือกลไกต่าง ๆ ของสสารหากไม่มีจิต ก็จะเป็นสิ่งที่ไร้ความหมาย เพราะจิตเป็นสิ่งที่ให้ความหมายและให้คุณค่าของระบบสสารหรือกลไกเหล่านั้น

ปรัชญาเมธีอริสโตเติ้ล (Aristotle) ได้กล่าวว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” และ“มนุษย์เป็นสัตว์ที่รู้จักคิด” ซึ่งทำให้มนุษย์มีความแตกต่างจากสัตว์โดยทั่วไป มนุษย์มีความรู้สึกนึกคิด มีอารมณ์เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รับรู้รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโลก ส่วนสัตว์ไม่รู้จักคิด เมื่อกล่าวเช่นนี้ มนุษย์เราจะต้องประกอบด้วย 2 อย่างคือ สรีระร่างกายและจิตหรือวิญญาณ เช่น เมื่อเท้ามีบาดแผลเกิดเลือดไหล การไหลของเลือดเป็นเรื่องของสรีระร่างกาย ส่วนการรู้สึกเจ็บปวด เป็นเรื่องของจิตหรือวิญญาณ ถ้ามนุษย์เรามีเพียงสรีระร่างกาย มนุษย์ก็อาจจะเป็นเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในโลก เพราะองค์ประกอบต่าง ๆ ของสรีระร่างกายมนุษย์นั้น ไม่ได้แตกต่างไปจากวัตถุอื่น ๆ เลย

จะอย่างไรก็ตาม แนวความคิดของนักปรัชญากลุ่มจิตนิยม ถือว่า “จิตหรือวิญญาณ ไม่ใช่สสารหรือวัตถุ ไม่เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย และในขณะเดียวกันจิตหรือวิญญาณยังมีสมรรถนะที่สามารถบังคับให้ร่างกายเคลื่อนไหวไปมาได้ตามความต้องการ วิถีชีวิตของมนุษย์แต่ละคนนั้น ย่อมเป็นไปตามการบังคับบัญชาของจิตแต่ละคน ร่างกายเป็นเพียงการสนองตอบเจตจำนงของจิตเท่านั้น”

เมื่อเป็นเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า นักปรัชญากลุ่มนี้ ยอมรับว่า มนุษย์มีองค์ประกอบ 2 อย่างนั่นคือ จิต และร่างกาย โดยเชื่อว่า จิตมีความสำคัญกว่าร่างกาย เพราะเป็นตัวตนที่แท้จริงของคนเรา โดยที่จิตหรือวิญญาณมีสภาวะเป็นอมตะ ส่วนร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นแล้วดับไป หรือมีการสูญสลายไปนั่นเอง เพราะร่างกายมีสัมผัสกับโลกภายนอก ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปต่าง ๆ นานาไม่แน่นอน จึงก่อให้เกิดสิ่งต่าง ๆ มากมายเช่น ความทุกข์ ความสุข เป็นต้นอันเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างไม่รู้จักจบสิ้น ในเมื่อจิตมีสภาวะเป็นอมตะ จึงรับรู้สิ่งที่เป็นอมตะด้วยกัน เช่น คุณธรรม ความดี เป็นต้น

เมื่อกล่าวโดยสรุปก็คือว่า ปัญหาเกี่ยวกับจิตหรือปรัชญาจิตนี้ เป็นการศึกษาเรื่องสำคัญ 4 ประเด็นคือ

1. ปัญหาเกี่ยวธรรมชาติของจิต หรืออะไรคือจิต (Nature of Mind)
2. ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับกาย (Relation between Mind and Body)
3. ปัญหาเกี่ยวกับเจตจำนงเสรี (Free Will)
4. ปัญหาเกี่ยวกับความเป็นอมตะของจิต (Immortality)

ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย