ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
เกี่ยวกับคำถามที่ว่า อะไรคือชีวิต ชีวิตมีความเป็นมาอย่างไร มีนักปรัชญาจำนวนมากพยายามให้คำตอบ ขอนำมาเสนอในที่นี้บางทฤษฎีดังนี้
- ทฤษฎีจักรกลนิยม (Mechanicism) ถือว่า
ชีวิตหรืออินทรีย์เป็นเสมือนเครื่องจักรกลที่สลับซับซ้อน
ชีวิตคือพลังงานทางฟิสิกส์และเคมีที่ซับซ้อน ชีวิตเกิดมาจากสสารที่ไม่มีชีวิต
คืออนินทรียสารต่าง ๆ เช่น คาร์บอน ออกซิเจน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน แคลเซียมเป็นต้น
สังเคราะห์กันเข้าเป็นอินทรียสารขึ้นมาเอง กลายเป็นสิ่งมีชีวิต
นักปรัชญาที่สำคัญในทฤษฎีนี้ได้แก่ โธมัส ฮ็อบส์ (Thomas Hobbes)
- ทฤษฎีชีวิตนิยม (Vitalism)
ถือว่าอินทรีย์มีพลังวิเศษที่ไม่ปรากฏในสิ่งที่ไม่มีชีวิต
พลังวิเศษนี้ทำให้อินทรีย์เจริญเติบโตได้ ปรับตัวได้ และสืบพันธุ์ได้
บางครั้งเรียกว่า พลังงานชีวิตในอดีต หรือตัวการชีวิต (Vital principle)
กล่าวคือเป็นพลังที่ผลักดันให้มีชีวิต
แทรกซึมอยู่ในสสารจึงทำให้สสารกลายเป็นสิ่งที่มีชีวิตและพัฒนาสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ
นักปรัชญาที่สำคัญในทฤษฎีนี้ได้แก่ แบร์กซอง (Henri Bergson : 1859 - 1941)
- ทฤษฎีชีวิตนิยมใหม่ (Neo - Vitalism)
ถือว่าชีวิตไม่อาจจะอธิบายด้วยพื้นฐานทางกลศาสตร์ได้
ชีวิตเกิดมีขึ้นเพราะตัวการที่ไม่ใช่สสาร แต่มีลักษณะเป็นอสสาร นั่นคือจิต
นักปรัชญาที่สำคัญในทฤษฎีนี้ได้แก่ ฮันส์ ดรีช (Hans Driesch)
นักชีววิทยาชาวเยอรมัน
- ทฤษฎีวิวัฒนาการเชิงสร้างสรรค์ ถือว่าพลังชีวิต เป็นความแท้จริงที่สิ้นสุด ซึ่งมีการวิวัฒนาการไปเป็นสิ่งใหม่เสมอ วิวัฒนาการของพลังชีวิตเป็นไปในเชิงสร้างสรร ไม่มีกาลเป็นเวลาเป็นเครื่องกำหนด ไม่ว่าจะเป็นอดีตหรืออนาคต ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางด้านวัตถุ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าและถอยหลัง การที่พลังชีวิต วิวัฒนาการไปเป็นจิต เป็นการเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้า และการที่พลังชีวิต วิวัฒนาการไปเป็นสสาร เป็นการเปลี่ยนแปลงถอยหลัง ดังนั้น ชีวิตไม่ใช่ผลของสสาร หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากสสาร แต่เป็นพลังชีวิต
ทัศนะเกี่ยวกับมนุษย์ของธรรมชาตินิยม
ธรรมชาตินิยม เป็นทฤษฎีที่อยู่กึ่งกลางระหว่างสสารนิยมและจิตนิยม
จึงเป็นลักษณะการประนีประนอมทฤษฎีทั้งสองเข้าด้วยกัน
โดยที่มีความเห็นขัดแย้งกับทั้งสองทฤษฎีว่า มนุษย์เรานั้น
ไม่ใช่มีแต่เพียงร่างกายซึ่งเป็นสสารตามที่ชาวสสารนิยมเข้าใจอย่างเดียว
และก็ไม่ใช่ว่ามีแต่จิตวิญญาณที่เป็นอสสารตามที่ชาวจิตนิยมเข้าใจอย่างเดียวเท่านั้น
แต่มนุษย์จะต้องประกอบด้วยร่างกายและจิตวิญญาณ
ทั้งสองอย่างเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเท่ากัน และเป็นจริงเหมือนกัน
การยอมรับเรื่องจิตวิญญาณ เป็นคล้ายกับว่า
ธรรมชาตินิยมเป็นพวกที่มีความคิดเห็นคล้ายกับจิตนิยม
แต่การยอมรับว่ามนุษย์มีจิตวิญญาณนั้น
มีลักษณะที่แตกต่างกันจากพวกจิตนิยมโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ
พวกจิตนิยม เชื่อว่าจิตวิญญาณ เป็นสิ่งที่แยกออกเป็นอิสระจากกาย
และเป็นอมตะ ส่วนพวกธรรมชาตินิยม กล่าวว่า
จิตวิญญาณไม่สามารถแยกออกเป็นอิสระจากร่างกายได้ และจิตวิญญาณก็ไม่ได้เป็นอมตะด้วย
จิตวิญญาณของมนุษย์เรา เป็นความสามารถอย่างหนึ่งที่ได้สืบมอดกันมา
เป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด
จิตวิญญาณเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีความแตกต่างจากสัตว์ และเมื่อมนุษย์เสียชีวิต
ทั้งร่างกายและจิตวิญญาณก็ดับสิ้นไปด้วยกัน
ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม