ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา

ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา

เพลโต้ได้ตั้งทฤษฎีที่ถือว่า “วิญญาณเป็นเนื้อสาร”

คำว่า “เนื้อสาร” หมายถึงสิ่งที่คงอยู่อย่างยั่งยืน ไม่เปลี่ยนแปลง ที่ว่าวิญญาณเป็นเนื้อสารจึงหมายความว่าวิญญาณคงอยู่อย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม้ว่าร่างกายจะตายไป วิญญาณก็ไม่ตายไปพร้อมกับร่างกาย

เพลโต้ ได้แบ่งหน้าที่ของจิตหรือวิญญาณออกเป็น 2 ระดับคือ

  1. ระดับต่ำ ได้แก่การจงใจ และความรู้สึก เป็นการทำหน้าที่ระดับต่ำของวิญญาณ เพราะต้องเกี่ยวข้องกับร่างกาย วิญญาณส่วนนี้จึงไม่เป็นอมตะ จำต้องตายหรือแตกสลายไปพร้อมกับร่างกาย กล่าวคือเมื่อร่างกายตายแล้ววิญญาณก็ทำหน้าที่รู้สึกโดยผ่านประสาทสัมผัสของร่างกายไม่ได้ และไม่สามารถสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหวหรือทำพฤติกรรมใด
  2. ระดับสูง ได้แก่การคิด เป็นการทำหน้าที่ระดับสูงของวิญญาณ เพราะการคิดย่อมประกอบด้วยเหตุผลหรือต้องใช้สติปัญญา เหตุผลหรือสติปัญญา เป็นสิ่งที่ไม่ตาย เพราะไม่ขึ้นอยู่กับร่างกาย

เพลโต้ได้แบ่งวิญญาณหรือจิตออกเป็น 3 ส่วนคือ

1. ส่วนที่เป็นความอยากหรือตัณหา
2. ส่วนที่เป็นความรู้สึก หรืออารมณ์
3. ส่วนที่เป็นเหตุผล

วิญญาณ ส่วนที่เป็นความอยากหรือตัณหา และส่วนที่เป็นความรู้สึกหรืออารมณ์ เป็นวิญญาณเทียม หรือเป็นวิญญาณที่อยู่กับร่างกาย ไม่เป็นอมตะ เมื่อร่างกายแตกสลายก็จะแตกสลายหรือดับไปด้วย ส่วนวิญญาณที่เป็นส่วนของเหตุผล หรือมนัสวิญญาณนั้น เป็นอมตะ

เพลโต้เชื่อว่า วิญญาณที่แท้จริงของมนุษย์คือมนัสวิญญาณ วิญญาณมนุษย์มีกำเนิดมาจากวิญญาณโลก ซึ่งอยู่ในโลกแห่งแบบ เนื่องจากวิญญาณมนุษย์เคยอยู่ในโลกแห่งความคิดมาก่อน จึงกลับไปสู่โลกแห่งความคิดนั้นอีก วิญญาณมีกัมมันตภาพในตัวเองและเป็นเหตุให้สรรพสิ่งเคลื่อนไหว เมื่อเป็นเช่นนี้ วิญญาณจึงไม่ได้ถูกสร้างขึ้น เพราะเหตุที่ไม่ได้ถูกสร้างขึ้น จึงเป็นสิ่งที่ไม่แตกทำลาย วิญญาณมีอยู่ก่อนร่างกาย ร่างกายเป็นเพียงพาหนะของวิญญาณ ต้องอาศัยวิญญาณหรือมีวิญญาณคอยควบคุม จุดหมายปลายทางของวิญญาณคือโลกแห่งความคิด

ดังนั้น จึงสรุปเหตุผลที่เพลโต้ให้เกี่ยวกับอมฤตภาพของวิญญาณได้ดังต่อไปนี้

  1. วิญญาณเป็นสิ่งเชิงเดี่ยว แบ่งแยกย่อยลงอีกไม่ได้ วิญญาณจึงไม่แตกสลายและเป็นอมตะ
  2. พระผู้เป็นเจ้าผู้สร้างวิญญาณเป็นผู้มีความกรุณา ไม่ให้วิญญาณแตกดับ และไม่ให้สิ้นผลแห่งการกระทำของตน วิญญาณจึงเป็นอมตะ
  3. วิญญาณเป็นหลักของชีวิต จึงจำเป็นต้องคงอยู่เพื่อก่อกำเนิดชีวิตใหม่ วิญญาณจึงเป็นอมตะ
  4. วิญญาณเป็นสิ่งที่มีเหตุผล ในเมื่อเหตุผลเป็นสิ่งที่ไม่ตายหรือเป็นอมตะ วิญญาณก็จะต้องเป็นอมตะด้วย
  5. วิญญาณมีอยู่ก่อนร่างกาย จึงจำเป็นต้องมีอยู่หลังจากร่างกายตายไป
  6. วิญญาณเคยอยู่ในโลกแห่งความคิดมาก่อน เมื่อเกิดในร่างกายแล้ว จึงคิดถึงโลกแห่งความคิด เมื่อร่างกายตายลงจึงกลับไปสู่โลกแห่งความคิดอีก และรวมกับความคิดซึ่งเป็นสิ่งนิรันดร

ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย