ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา

อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ

ปัญหาแรกที่จะต้องศึกษาเกี่ยวกับอภิปรัชญาก็คือ ปัญหาเกี่ยวกับความจริงของโลก เพราะความจริงของโลกเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด นักปรัชญาจึงได้หยิบยกเอาเรื่องนี้มาเป็นเรื่องแรกในการหาคำตอบ เรื่องนี้เป็นการศึกษาธรรมชาติ โดยศึกษาธรรมชาติต่าง ๆ ของเอกภพ หรือจักรวาล โดยค้นคว้าสืบหา ถึงธรรมชาติ โครงสร้างของกาล สสาร และอื่น ๆ เป็นการศึกษาเพื่อให้ทราบว่าอะไรเป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่ง วิวัฒนาการของจักรวาล ธรรมชาติหรือโลกเกิดขึ้นได้อย่างไร ใครเป็นผู้สร้างโลก โลกหรือจักรวาลมีสภาพเป็นจิตหรือสสาร

เมื่อกล่าวถึงเรื่องของจักรวาล หมายถึงว่าเราจะต้องพยายามทำความเข้าใจในเรื่องของเอกภพว่าคืออะไร มีลักษณะความเป็นไปอย่างไร หรือมีวิวัฒนาการอย่างไรบ้าง ดังนั้น ควรทำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่าเอกภพ มีธรรมชาติและวิวัฒนาการอย่างไร ดังนี้

ธรรมชาติของจักรวาล จะกล่าวถึงลักษณะของจักรวาล หรือเอกภพว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร คำว่า “เอกภพ” (Cosmogony) หมายถึงอวกาศทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยกาลเวลา และสสารทั้งมวล เอกภพที่ปรากฏอยู่นี้ มีนักปรัชญาและนักดาราศาสตร์หลาย ๆ คน ได้วิเคราะห์และหาคำตอบ ซึ่งแต่มีแนวคำตอบที่เหมือนกันบ้าง ไม่เหมือนกันบ้าง ทั้งนี้รวมไปถึงนักวิทยาศาสตร์ด้วย เพราะเรื่องเหล่านี้นักวิทยาศาสตร์ได้กล่าวไว้เป็นเรื่องที่น่าฟังทีเดียว เช่นเรื่องของแสง ที่บอกว่าแสงจะใช้เวลาสองหมื่นล้านปีจึงจะสามารถวิ่งได้รอบเอกภพ (แสงวิ่งได้ วินาทีละ 300,000 กิโลเมตร) เป็นต้น และนอกจากเอกภพของเราแล้ว น่าจะมีเอกภพอื่น ๆ ซึ่งอยู่ในอวกาศอื่น ๆ ด้วย

กับคำถามที่ว่า เอกภพมีวิวัฒนาการมาอย่างไร ? ข้อนี้มีสมมติฐานคือ เมื่อประมาณ 5,000 ล้านปีมาแล้ว ขณะที่ดวงอาทิตย์กำลังโคจรไปตามวิถีทาง มีดาวดวงหนึ่งเฉียดเข้ามาใกล้และดึงดูดกลุ่มหมอกเพลิงให้ยืดออกไปทั้งในทางที่ถูกดึงดูดและทิศทางตรงกันข้าม เมื่อกลุ่มหมอกเพลิงนี้เย็นตัวลง จึงได้แตกตัวเองออกเป็นดาวเคราะห์ต่าง ๆ ในระบบสุริยจักรวาล แนวความคิดของการเกิดระบบสุริยจักรวาลที่กล่าวมานี้เรียกว่า ทฤษฎีดึงดูด (Tidal theory) ซึ่ง เซอร์ เจมส์ จีนส์ ได้เสนอเอาไว้

นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มเชื่อว่า เอกภพจะต้องมีวันหยุดนิ่งและดับลง เพราะเกิดจากการสูญเสียพลังงานจากการเปลี่ยนภาวะของพลังงานจากรูปหนึ่งไปยังอีกรูปหนึ่ง แต่บอกคนบอกว่า มันเป็นไปไม่ได้ที่จะดับลง เพราะจะต้องมีการสร้างพลังงานใหม่ขึ้นมาทดแทนพลังงานเก่าที่สูญเสียไป

นักปรัชญาท่านหนึ่งคือ สเปนเซอร์ (Herbert Spencer) ได้กล่าวเกี่ยวกับเอกภพไว้ว่า เอกภพ เป็นกระบวนการวิวัฒนาการกระบวนเดียวกัน ประกอบด้วยสสาร การเคลื่อนที่ และพลังงาน กระบวนการวิวัฒนาการของเอกภพมีขั้นตอน ดังนี้

1. เกิดการกลั่นตัวของสสาร
2. เกิดการเคลื่อนไหว
3. แปรสภาพจากการฟุ้งกระจายเข้าเป็นกลุ่มก้อน
4. มีลักษณะของเนื้อสารแตกต่างกัน
5. คงสภาพการเคลื่อนไหว และคงสภาพการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดไป

ดังนั้น จึงเห็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่ได้บันทึกเกี่ยวกับวิวัฒนาการของเอกภพว่า แต่เดิมเอกภพมีสภาวะเป็นกลุ่มหมอกเพลิงที่ฟุ้งกระจาย เมื่อกลุ่มหมอกเพลิงเย็นลง จึงมีการจับตัวกันเป็นกลุ่มก้อนและแปรสภาพออกไป มีการแยกตัวออกจากกลุ่มก้อนใหญ่ไปเป็นหน่วยย่อย ๆ ลงไป และมีคุณสมบัติเฉพาะแตกต่างกัน เพราะความแตกต่างของสภาวะแวดล้อม

นักปรัชญา และนักคิดจำนวนมากพยายามที่จะให้คำตอบ หรืออธิบายเกี่ยวกับวิวัฒนาการของเอกภพและชีวิตเอาไว้ แต่อย่างไรก็ตาม ก็คงหนีไม่พ้นลักษณะหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ยอมรับกันในปัจจุบัน

ลูเครติอุส (Lucretius) นักกวีโบราณชาวโรมัน ได้กล่าวว่า ชีวิตเกิดขึ้นมาเอง ก้อนดินที่เราเห็น ถ้าหากมีความชื้นและความอบอุ่นที่พอเหมาะแล้ว จะเกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นมา เช่นถ้าเราตักน้ำจากบ่อใส่ภาชนะผึ่งแดดไว้ไม่นานก็จะปรากฏเชื้อชีวิตเล็ก ๆ จำนวนมากมาย

อาร์เรนีอุส (Arrhenius) เสนอทฤษฎีว่า ชีวิตล่องลอยมาในอวกาศจากดาวเคราะห์ หรือดาวฤกษ์ดวงใดดวงหนึ่ง หรืออาจจะติดมากับอุกกาบาตที่ตกมาสู่โลก

ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ได้กล่าวว่า ชีวิตมีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษร่วมกัน และแปรสภาพเป็นชั้น ๆ จากสภาวะต่ำสุดขึ้นมาเป็นสภาวะสูงสุด ทั้งพืชและสัตว์มีความสามารถในการแพร่พันธุ์ได้ในลักษณะทวีคูณ

กับคำถามที่ว่า อะไรเป็นเนื้อแท้ของจักรวาล ? อะไรคือสิ่งที่เราเรียกว่า “จริง” หรือ “ไม่จริง” ? สิ่งเหล่านั้น มีอยู่จริงได้อย่างไร ? อะไรเป็นปฐมธาตุหรือบ่อเกิดของโลก หรือจักรวาล ? นั่นคือสิ่งที่นักปรัชญาพยายามหาคำตอบในปัญหาแรกของอภิปรัชญานี้ ในเรื่องดังกล่าวนี้ เราจึงปัญหาที่จะพิจารณาอยู่ 3 ทัศนะคือ

1. ทัศนะฝ่ายจิตนิยม (Idealism)
2. ทัศนะฝ่ายสสารนิยม (Materialism)
3. ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม (Naturalism)

ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย