ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
- เพลโต้ เห็นว่า พระเจ้าคือความคิดเกี่ยวกับความดี
อันเป็นความคิดเกี่ยวกับความดีที่สมบูรณ์ที่สุด พระเจ้าเป็นความแท้จริงสูงสุด
หรือเป็นแบบที่สมบูรณ์สูงสุด และเป็นแบบที่อมตะนิรันดร
- อริสโตเติ้ล ถือว่า พระเจ้ามีลักษณะเป็นความคิด
แต่มิใช้ความคิดที่มีอยู่ในจิต เป็นสิ่งที่แท้จริงในตัวเอง
ซึ่งเป็นอิสระจากจิตมนุษย์ พระเจ้าคือเหตุสูงสุด สสารเป็นเหตุเชิงวัตถุของโลก
แต่พระเจ้าเป็นเหตุเชิงประสิทธิภาพ เหตุเชิงรูปแบบและเหตุสุดท้ายของโลก
- ลัทธิสโตอิค ถือว่าพระเจ้าคือเหตุผลสากล
ซึ่งควบคุมโลกและควบคุมจุดหมายปลายทางของมนุษย์ กฎเหตุผลสากลก็คือกฎธรรมชาติ
กฎธรรมชาติก็คือกฎจริยธรรม
เพราะฉะนั้นธรรมชาติและชะตากรรมของบุคคลจึงเป็นอันเดียวกันกับเหตุผลสากล
ดังนั้น พระเจ้า หมายถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดตามแนวทางที่มันเกิดเพราะสิ่งต่าง
ๆ และบุคคลทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุมของเหตุผล หรือพระเจ้า
นั่นคือพระเจ้ามีในทุกสิ่งทุกอย่าง
- เซนต์ ออกัสติน เชื่อว่าพระเจ้าคือเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดของสรรพสิ่ง
ไม่มีสิ่งใดอยู่ภายนอกจากพระจ้า พระเจ้ามีคุณสมบัติคือความดี
ความยุติธรรมและปัญญา ปรากฏได้ในที่ทุกแห่งและทุกเวลา
มีอำนาจไม่สิ้นสุดและเป็นนิรันดร
- เดส์การ์ตส์ ถือว่า พระเจ้าเป็นเนื้อสารที่ไม่สิ้นสุด เป็นนิรันดร
เป็นอิสระ รู้สิ่งทั้งปวง มีอำนาจทั่วไปและเป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง
เขาได้พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้าว่า ข้าพเจ้ามีความคิดเกี่ยวกับพระเจ้า
ซึ่งเป็นความคิดติดตัวมาแต่เกิด ความคิดนี้ พระเจ้าเป็นต้นเหตุให้เกิดขึ้น
และเป็นความจริง เพราะฉะนั้น พระเจ้าจึงมีอยู่
- สปิโนซ่า ถือว่า พระเจ้าคือเนื้อสารอันแท้จริงเพียงสิ่งเดียว (One
Substance) คุณลักษณะสำคัญของพระเจ้าคือความคิดและการกินที่
พระเจ้าคือต้นเหตุและความดำรงอยู่และเป็นของสรรพสิ่ง พระเจ้ามีลักษณะเป็นจิต
- ไลบ์นิซ ถือว่า พระเจ้าเป็นโมนาดใหญ่ หรือโมนาดศูนย์กลางของโมนาดทั้งหลาย
พระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกธรรมชาติและโลกจริยธรรมให้กลมกลืนกัน
- ค้านท์ ไม่ยอมรับความมีอยู่ของพระเจ้า ด้วยการคิดหาเหตุผลทางทฤษฎี
หรือการคิดหาเหตุผลทางวิทยาศาสตร์
กล่าวคือเหตุผลทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้าไม่ได้ ค้านท์เห็นว่า
พระเจ้าเป็นอุดมคติในการจัดระเบียบคือจัดปรากฏการณ์ทางกายกับปรากฏการณ์ทางจิตให้กลมกลืนกัน
และเป็นหลักจริยธรรมเพื่อจัดความดีกับความสุขให้กลมกลืนกัน
นั่นคือพระเจ้ามีอยู่เพื่อเหตุผลทางจริยธรรมเท่านั้น
- ฟิชต์ เห็นว่าพระเจ้าคืออัตตาสมบูรณ์
เป็นผู้สร้างอัตตาที่จำกัดและสสารมากมายซึ่งล้วนเป็นความแท้จริง
- เชลลิ่ง ถือว่าสิ่งสัมบูรณ์คือสิ่งกลาง ๆ ไม่ใช่จิต ไม่ใช่วัตถุ
ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่สสาร แต่เป็นเอกภาพชั้นสูงซึ่งเป็นที่มาของอัตตาและสสาร
- เฮเกล ถือว่าความแท้จริงมีเพียงจิตดวงเดียวที่เรียกว่า สิ่งสัมบูรณ์ นั่นคือพระเจ้า พระเจ้าคือความคิดสัมบูรณ์ หรือเหตุผลสากล หรือวิญญาณสัมบูรณ์ ซึ่งแสดงตัวเองในธรรมชาติ ในจิตที่จำกัดและในสังคมระดับต่าง ๆ กัน พระเจ้าเป็นสิ่งที่รู้ตัวเองอย่างไม่สิ้นสุดและเป็นนิรันดร ไม่ใช่อัตตาและสสาร แต่อยู่ในอัตตาและสสารนั้น
ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม