ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา

       ก่อนที่เราจะได้ศึกษาเกี่ยวกับความหมายและความเป็นมาของอภิปรัชญา เราควรจะทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งก่อนว่า ปรัชญาคืออะไร นักปราชญ์ได้แบ่งแยกเอาไว้อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นเบื้องต้นแห่งการศึกษา และเพื่อความเข้าใจในการศึกษาปรัชญาสาขาต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งอภิปรัชญาต่อไป

มนุษย์ ถือได้ว่าเป็นสัตว์ประเสริฐที่รู้จักคิด มีการพัฒนาการมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ จนกระทั่งปัจจุบัน มนุษย์ในสมัยก่อนได้สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ เห็นภัยธรรมชาติ จึงเกิดความสงสัยและประหลาดใจในสิ่งที่ได้พบเห็น จึงพากันพยายามที่จะทำความเข้าใจกับสภาพเหล่านั้น โดยพยายามแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เห็นว่ามันคืออะไร เป็นไปอย่างไร เกิดขึ้นได้อย่างไร มีสภาพความแท้จริงเป็นอย่างไรกันแน่ นั่นก็แสดงให้เห็นว่า ปรัชญาเกิดมาจากความสงสัย (Doubt) หรือความแปลกใจ (Wonder) เกี่ยวกับธรรมชาติ นั่นเอง

ความพยายามในการหาคำตอบเหล่านี้ ได้ถูกถ่ายทอดมายังอนุชนรุ่นหลัง จนทำให้เกิดเป็นกลุ่มชนที่มีแนวความคิดลักษณะเดียวกันเกิดขึ้น แนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องปรากฏการณ์ทางธรรมชาตินั้นได้เป็นบ่อกำเนิดของปรัชญา เพราะมนุษย์รู้จักคิดหาเหตุผลในสิ่งที่ได้ประสบพบเห็น หรือสิ่งที่ปรากฏ ปรัชญาจึงเกิดขึ้นมาพร้อมกับการคิดของมนุษย์ หรือเกิดพร้อมกับมนุษย์นั่นเอง

ปรัชญา จึงชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญ ๆ ในแนวความคิดของมนุษย์เราว่า เราคิดเกี่ยวกับปัญหานั้น ๆ อย่างไร และเราได้คำตอบอย่างไรบ้าง การศึกษาปรัชญา จะส่งผลให้เป็นผู้ที่มีเหตุผล มีวิจารณญาณที่ดี รู้จักมองโลกเป็นกลาง ๆ และเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบข้างในวงกว้าง อันเป็นเหตุให้เป็นคนใจกว้าง รู้จักปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม และรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น มีความคิดที่เป็นระบบ ไม่เป็นคนเชื่อง่าย รู้จักวิเคราะห์วิจารณ์ นอกจากนี้ ปรัชญายังเป็นพื้นฐาน หรือเป็นต้นตำรับแห่งวิชาการทั่วไป เพราะสรรพวิชาล้วนแต่แตกแยกออกมาจากปรัชญาทั้งสิ้น

ดังนั้น จึงควรที่จะศึกษาเกี่ยวกับความเบื้องต้นแห่งปรัชญาให้เข้าใจเสียก่อนที่เราจะทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องอื่น ๆ ต่อไป เกี่ยวกับปรัชญานี้

ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย