ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา

สาขาปรัชญา

(Branches of Philosophy)

ปรัชญา เป็นวิชาที่มีเนื้อหากว้างขวาง เพราะเป็นต้นตอแห่งสรรพวิชา วิชาการหรือศาสตร์ต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีปรัชญาเป็นหลักทั้งนั้น จึงมีนักปราชญ์จำนวนมากที่พยายามจะแบ่งแยกปรัชญาออกเป็นสาขาต่าง ๆ เพื่อนำไปศึกษาได้ง่ายขึ้น จะอย่างไรก็ตาม แม้นักปราชญ์จะพยายามแบ่งแยกอย่างไรก็คงอยู่ในขอบเขต 3 เรื่องใหญ่ ๆ ซึ่งได้แบ่งแยกไว้ตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ คือ อภิปรัชญา ญาณวิทยาและคุณวิทยา

ดังนั้น สาขาของปรัชญาที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป จึงมี 3 สาขาใหญ่ ๆ คือ

1. อภิปรัชญา (Metaphysics) หรือภววิทยา (Ontology)

อภิปรัชญา (Metaphysics) เป็นวิชาที่ว่าด้วยความแท้จริงของสรรพสิ่ง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภววิทยา (Ontology) ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความมีอยู่ ความเป็นอยู่ของสรรพสิ่ง โดยทั่วไปแล้วถือว่า สิ่งที่มีอยู่ย่อมเป็นสิ่งแท้จริง และสิ่งแท้จริงย่อมมีอยู่ ความมีอยู่กับความแท้จริงจึงเป็นอันเดียวกัน ดังนั้น ทั้ง 2 คำจึงเป็นอันเดียวกัน ต่างแต่ว่า Ontology ใช้มาก่อน Metaphysics ใช้ทีหลัง

อภิปรัชญาหรือภววิทยา มีขอบข่ายในการศึกษา 3 เรื่องคือ

  1. อภิปรัชญาหรือภววิทยาว่าด้วยธรรมชาติ ศึกษาเรื่องเอกภพหรือธรรมชาติ ซึ่งรวมไปถึงเรื่องของอวกาศ กาล สสาร ความเป็นเหตุและผล ชีวิต วิวัฒนาการ ความเป็นไปแบบเครื่องจักรกลของเอกภพ และความเป็นไปแบบมีวัตถุประสงค์
  2. อภิปรัชญาหรือภววิทยาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ ศึกษาเรื่องธรรมชาติของวิญญาณ กำเนิดของวิญญาณ จุดหมายปลายทางของวิญญาณ และความสัมพันธ์ระหว่างวิญญาณกับร่างกาย
  3. อภิปรัชญาหรือภววิทยาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์ ศึกษาเรื่องธรรมชาติของพระเจ้า คุณลักษณะของพระเจ้า ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับเอกภพ และกับวิญญาณ

2. ญาณวิทยา (Epistemology)

คือทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge) เป็นวิชาที่ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ธรรมชาติและเหตุแห่งความรู้ที่แท้จริง ซึ่งเป็นการศึกษาถึงรายละเอียดของความรู้ทั้งหมด เพื่อให้เห็นความเป็นไป และตัดสินได้ว่าอะไรเป็นความจริงแท้ ซึ่งเกิดจากความรู้ที่แท้จริง เป็นการศึกษาสภาพทั่ว ๆ ไปของความรู้อย่างกว้าง ๆ หากพูดถึงญาณวิทยาแล้ว ต่างก็พยายามที่จะอธิบายหรือตอบปัญหาเกี่ยวกับ

  1. ความรู้คืออะไร มีลักษณะเป็นอย่างไร
  2. ความรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร
  3. จะสร้างความรู้ได้อย่างไร
  4. อะไรคือสิ่งที่เราสามารถรู้ได้ และรู้ได้มากน้อยเพียงไร
  5. อะไรคือเงื่อนไข เหตุปัจจัย หรือแหล่งให้เกิดความรู้ได้
  6. ความรู้ที่ได้มานั้นเป็นจริงหรือไม่ หากความรู้นั้นเป็นจริง ถูกต้อง เราสามารถทดสอบความรู้นั้นได้อย่างไร หรือมีมาตรการในการทดสอบได้อย่างไร

3. คุณวิทยา (Axiology)

เป็นวิชาที่ว่าด้วยคุณค่าต่าง ๆ คุณค่าที่ว่านั้นแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ

  1. จริยศาสตร์ (Ethics) เป็นวิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความประพฤติ กล่าวถึงความดี ความชั่ว การตัดสินความดีความชั่ว เป็นการแสวงหาความดีอันสูงสุด
  2. สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) เป็นวิชาที่ว่าด้วยความดี หลักการตัดสินความงาม องค์ประกอบของความงาม เป็นเรื่องเกี่ยวกับศิลปะ เป็นการแสวงหาความงามอันสูงสุด
  3. ตรรกศาสตร์ (Logic) เป็นวิชาที่ว่าด้วยการให้เหตุผล การนิยามความหมายอันแท้จริง เป็นการแสวงหาความจริงอันสูงสุด อันประกอบด้วยอุปนัย และนิรนัย
  4. เทววิทยา (Theology) เป็นเรื่องของความบริสุทธิ์ทางจิตใจ กล่าวคือหลักคำสอนทางด้านศาสนา

ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย