ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
คำว่า จิต มโน หรือวิญญาณ ในทัศนะฝ่ายตะวันออกนั้น มีการให้ความหมายแตกต่างกัน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า คำเหล่านี้ได้มีใช้มาก่อนสมัยพุทธกาล แต่จะใช้คำว่า มโน ก่อนคำอื่น ดังจะเห็นได้จาก
- มีคำกล่าวเปรียบเทียบในปรัชญาโยคะว่า สมัยก่อนพุทธกาล คำว่า มโน
นับว่าเป็นบทในเรื่องจิต โดยยึดถือเอามโนเป็นมูลเค้า
ท่านแบ่งหลักพฤติการของมโนไว้ 4 ประเภทคือ 1. พุทธิ ความแน่ใจ 2. จิตต์
ความตริตรอง 3. สมฤติ ความระลึกทรงจำ และ 4. อหังการ ความถือตัว
ซึ่งท่านปตัญชลีไม่ยอมรับความเห็นนี้
- ปรัชญาสำนักพระเวท ท่านสปตพราหมณ์ อรรถกถาจารย์ ได้นิยามความหมายเอาไว้ว่า
มโน คือที่สุดแห่งชีวิตทั้งปวง มโนรับมาซึ่งอารมณ์ กามทั้งปวง มโนอิสระจากกาม
แต่ก็มีอารมณ์กามเป็นสมบัติ เพราะไม่ปรารถนาอะไร
- ในคัมภีร์อุปนิษัท ได้มีข้อความตอนหนึ่งอธิบายความหมายของมโนไว้ว่า
มโนคืออายตนะแห่งความรู้ทั้งมวลของเราทั้งหลาย
- นักปราชญ์ศาสนาฮินดูท่านหนึ่งคือ ท่านศิวานันทะ
ได้กล่าวเกี่ยวกับมโนเอาไว้ว่า มโน คือสิ่งที่แยกออกจากพระเจ้า
มโนคือกำแพงกั้นกลางระหว่างเรากับพระเจ้า ดังนั้น เราจงรื้อกำแพงลงเสีย โดยวิธี
โอมจินตนะ การระลึกถึงคำว่า โอม แล้วเราจะได้ไปพบพระองค์
- ในคัมภีร์ภควัทคีตา อันเป็นคัมภีร์ที่แยกออกมาจากคัมภีร์อุปนิษัท ก็ได้จัดมโนเข้าเป็นประกฤติหนึ่งในจำนวนประกฤติ 8 อย่าง ดังข้อความที่ว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ ธาตุสุขุม มโนและอหังการ เหล่านี้รวมกันเป็นลักษณะของเรา ซึ่งมีส่วนประกอบ 8 ส่วน
ดังนั้น เราอาจจะเห็นได้ว่า มโน ถือว่าเป็นแม่บท เป็นสภาพดั้งเดิมของจิตและวิญญาณ ในทางพระพุทธศาสนา ได้มีคำที่เป็นไวพจน์ หรือคำเหมือนของสิ่งเหล่านี้หลายคำ ซึ่งใช้แทนกันได้ดังต่อไปนี้
- จิต คำว่า จิต แปลว่า คิด เป็นธรรมชาติที่ซับซ้อน มีความอยากเป็นพื้นฐาน
สามารถพัฒนาได้ คนจะดีหรือชั่วเพราะอาศัยจิตเป็นมูลฐาน จิต
เป็นตัวที่ทำหน้าที่คิด หรือรู้อารมณ์ จิตจะเกิดขึ้นได้ก็อาศัยอารมณ์
เว้นอารมณ์เสียแล้วย่อมเกิดขึ้นไม่ได้
- มโน แปลเป็นภาษาไทยที่เข้าใจง่ายว่า ใจ ซึ่งเป็นรากเหง้าของศัพท์ 3
อย่างคือ มานสะ มนายตนะ และมนินทรียะ
- คำว่า มานสะ หมายถึง ใจ หรือเรียกว่ามนัส ได้แก่กิจกรรมด้านปัญญา ความรู้ และเหตุผล นั่นหมายความว่า ธรรมชาติใดที่มีฉันทะไว้ภายใน ธรรมชาตินั้นชื่อว่า มนัส
- คำว่า มนายตนะ หมายถึง อายตนะคือมนะ (มโน, ใจ) กล่าวคือ มนะหรือใจ เป็นอายตนะหนึ่งหรือเป็นเครื่องติดต่อเพื่อการรับรู้อารมณ์อย่างหนึ่ง ในบรรดาอายตนะ 6 นั่นหมายความว่า ธรรมชาติใดที่ต้องอาศัยอายตนะเป็นเครื่องติดต่ออารมณ์ที่มากระทบ ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า มนายตนะ
- คำว่า มนินทรียะ หมายถึงอินทรีย์คือ มนะ กล่าวคือ มนะหรือใจ เป็นอินทรีย์อย่างหนึ่ง นั่นหมายความว่า ธรรมชาติใดที่ต้องอาศัยอายตนะเป็นอินทรีย์ที่ครองความเป็นใหญ่ในกิจทั้งปวง ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า มนินทรีย์ - วิญญาณ หมายถึงอาการที่จิตเข้าไปรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ
หรือผลที่เกิดจากการกระทบระหว่างอายตนะภายในกับอายตนะภายนอก
เป็นรากเหง้าของศัพท์ 3 อย่างคือ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุ และตัชชา มโนวิญญาณธาตุ
- คำว่า วิญญาณขันธ์ แปลว่า กองแห่งวิญญาณ เป็นศัพท์ที่ใช้ในขันธ์ 5 อันเป็นเครื่องแสดงว่าวิญญาณมีอยู่หลายอย่าง เช่น จักขุวิญญาณ เป็นกองหนึ่ง โสตวิญญาณ เป็นกองหนึ่ง เป็นต้น นั่นหมายความว่า ธรรมชาติใดที่มีจิตวิญญาณเป็นเหตุปัจจัยมาประกอบ ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า วิญญาณขันธ์
- คำว่า มโนธาตุ แปลว่าธาตุคือมโน ธาตุที่ทำหน้าที่รับรู้ หมายถึงวิญญาณในวิถี ที่เรียกว่าวิถีวิญญาณ นั่นหมายความว่า ธรรมชาติใดที่รู้อารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า มโนธาตุได้แก่อาวัชชนจิต และสัมปฏิจฉนจิต
- คำว่า ตัชชา มโนวิญญาณธาตุ เกิดขึ้นต่อจากมโนธาตุ ได้แก่วิญญาณในวิถีประเภทสันตีรณจิต และโวฏฐัพพนจิต - หทยะ (ธรรมชาติใดที่รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน ธรรมชาตินั้นชื่อว่า หทัย)
มีความหมายดังนี้
- หมายถึง หัวใจที่เป็นก้อนเนื้อ ซึ่งทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย อยู่ที่ทรวงอกด้านซ้าย มีหลักฐานปรากฏอยู่ในอาการ 32
- หมายถึง มันสมอง ตามหลักฐานทางสรีรวิทยา แพทย์พบว่า สมองเป็นต้นกำเนิดแห่งการคิด ส่วนหลักฐานทางอภิธรรมอธิบายว่า มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป รูปนั้นเรียกว่า หทัยวัตถุ
- หมายถึง ความรู้สึกนึกคิด - ปัณฑระ แปลว่า ธรรมชาติที่ผ่องใส เหตุที่ท่านใช้คำว่า ปัณฑระ เป็นชื่อของจิต เพราะจิตสามารถทำให้ผ่องใสได้ นั่นหมายความว่า ธรรมชาติใดที่มีลักษณะผ่องใส ธรรมชาตินั้นชื่อว่า ปัณฑระ"
ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม