ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา

พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า

(Proof for Existence of God)

กับคำถามที่ว่า พระเจ้ามีอยู่จริงหรือไม่ ?

ปัญหานี้เป็นปัญหาที่นักปรัชญาและนักการศาสนาพยายามหาข้อพิสูจน์ โดยที่นักการศาสนาฝ่ายเทวนิยมพยายามพิสูจน์ว่า พระเจ้ามี ในขณะที่นักการศาสนาฝ่ายอเทวนิยมพยายามพิสูจน์ว่า พระเจ้าไม่มี

แม้แต่นักปรัชญาเทวนิยม และนักปรัชญาจิตนิยมก็เช่นกัน พยายามหาเหตุผลและข้อเท็จจริงมาประกอบการพิสูจน์ให้เห็นจริงว่า พระเจ้ามีอยู่จริง เพื่อเป็นการหักล้างข้อโต้แย้งของฝ่ายอเทวนิยมที่มักอ้างว่า พระเจ้าไม่มีจริง ข้อพิสูจน์ของพวกเทวนิยมจำนวนมากก็อาศัยข้ออ้างทางศาสนา คือหลักศรัทธา และมีอยู่จำนวนไม่น้อยที่อาศัยข้ออ้างทางปรัชญา นั่นคือหลักเหตุผลและประสบการณ์ของมนุษย์ นักอภิปรัชญาถือว่า ข้อพิสูจน์ที่อาศัยหลักเหตุผลและประสบการณ์ของมนุษย์ เป็นข้อพิสูจน์ที่ควรเชื่อถือได้มากกว่า

นักปรัชญาฝ่ายเทวนิยม (Theism) กล่าวคือกลุ่มนักปรัชญาที่เชื่อความมีอยู่ของพระเจ้า ได้กล่าวถึงลักษณะของพระเจ้าไว้ว่า

  1. พระเจ้าเป็นอสสาร (Non – corporeal) คือเป็นจิตบริสุทธิ์ ไม่มีตัวตนที่จะเห็นได้หรือสัมผัสได้อย่างสสาร
  2. พระเจ้าทรงสรรพเดชะ (Omnipotent) คือมีอำนาจเต็มบริบูรณ์ สามารถทำทุกอย่างได้โดยไม่มีอะไรติดขัดหรือขัดข้อง เช่น การสร้างโลก สัตว์ พืช เป็นต้น
  3. พระเจ้าทรงสรรพญาณะ (Omniscient) คือมีความรู้เต็มบริบูรณ์ ทรงรอบรู้ทุกอย่าง รู้ทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคต
  4. พระเจ้าทรงมีอยู่ทุกแห่งและทุกขณะ (Omnipresent) คือไม่ถูกจำกัดด้วยกาลและอวกาศ
  5. พระเจ้าทรงเป็นองค์แห่งความดีสูงสุด (All good) คือทรงรักและเมตตาต่อมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนดีหรือคนชั่ว

นอกจากลักษณะดังกล่าวแล้ว ฝ่ายเทวนิยมได้พยายามที่จะพิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้าโดยนำเหตุผลต่าง ๆ มาประกอบ
เหตุผลที่นำมาประกอบการพิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้านั้นมี 4 ประการคือ

1. เหตุผลทางจักรวาลวิทยา (Cosmological Argument)
2. เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์ (Teleological Argument)
3. เหตุผลทางภววิทยา (Ontological Argument)
4. เหตุผลทางจริยธรรม (Moral Argument)

ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย