ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
(Idealistic Pluralism)
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิต (Idealistic Pluralism)
ได้แก่พวกที่ถือว่า ความแท้จริงของปฐมธาตุมีมากมาย แต่มีลักษณะเป็นนามธรรม
(จิต) เช่น
ปรัชญาเกี่ยวกับโมนาด (Monad) ของไลบ์นิซ (Leibniz)
ที่ว่าจิตประกอบขึ้นด้วยปรมาณู หรือโมนาด
โมนาดเป็นส่วนย่อยของจิตหรือจิตน้อยของแต่ละดวง โมนาดมีจำนวนมากมาย ดังนั้น
จึงก่อให้เกิดสรรพสิ่งขึ้นมากมาย
ไลบ์นิซ เชื่อว่าความจริงแท้มีลักษณะเป็นจิต ซึ่งมีจำนวนมากมาย
ที่เรียกว่า ปรมาณูทางจิต (Monad) แต่ละหน่วยมีการเป็นอยู่ที่อิสระ
โมนาดคือสารัตถะอันติมะและเป็นปรมาณูที่เป็นจิต โมนาดทั้งหลายเหล่านั้นเป็นสิ่งอมตะ
โมนาดแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
- โมนาดหลับ (Sleeping monads)
โมนาดส่วนนี้เป็นวัตถุและการแสดงออกของโมนาดในฐานะตัวแทนของจักรวาลที่ไม่ใช้สร้างสรรหรือแสดงกิจกรรมอะไร
เป็นโมนาดที่ใช้ความรู้สึกสำนึก เป็นโมนาดระดับต่ำสุด
ไลบ์นิซไม่ได้ถึงวัตถุสารโดยทั่วไป
แต่หมายถึงสภาวะที่เป็นสารัตถะอันแบ่งแยกลงไปอีกได้
- โมนาดฝัน (Dreaming monads) โมนาดส่วนนี้หมายถึงสัตว์ และพืชต่าง ๆ
ที่มีความรู้สึกสำนึกแต่ไม่มีเหตุผล
โมนาดส่วนนี้สามารถสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างความสำนึกต่าง ๆ ได้
แต่ไม่มีอิสรภาพในการเลือก เพราะไม่มีเหตุผลในการเลือกพฤติกรรมของตนเองได้
พฤติกรรมของสิ่งเหล่านี้มีสิ่งอื่นเป็นตัวกำหนด
เพราะได้รับการวิวัฒนาการไปโดยไม่อาศัยเหตุผลเป็นเครื่องตัดสิน
- โมนาดตื่น (Waking monads) โมนาดส่วนนี้หมายถึงมนุษย์
เพราะมนุษย์สามารถมีความรู้สึกนึกคิด
และมีเหตุผลในการตัดสินใจเลือกพฤติกรรมของตนเอง
โมนาดส่วนนี้เป็นส่วนที่ทำให้มนุษย์สามารถรู้และเข้าใจพระเจ้า ตลอดถึงเอกภพได้
โมนาดส่วนนี้จึงแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
- สามารถใช้เหตุผลได้ เพราะมีปัญญาซึ่งมีรากฐานมาจากอิสรภาพในการเลือกเป็นเครื่องตัดสิน
- มีลักษณะตกอยู่ในอารมณ์ ซึ่งเป็นลักษณะของความเปลี่ยนแปลงและโดดเดี่ยวจากปัญญา
เราสามารถสรุปแนวคิดของไลบ์นิซได้ ดังต่อไปนี้
1. ความแท้จริงก็คือ
โมนาด ซึ่งมีจำนวนมากมาย ขึ้นอยู่กับจอมโมนาดหรือพระเจ้า
2. จอมโมนาดหรือพระเจ้า มีลักษณะสมบูรณ์ คือประกอบด้วยอำนาจ ปัญญา ฯลฯ
3. โมนาด ที่อยู่ในระดับต่ำกว่าจอมโมนาด เป็นโมนาดที่จำกัดในเรื่องความสมบูรณ์
และขึ้นอยู่กับจอมโมนาด
4. จัดแบ่งโมนาดได้ดังนี้
- โมนาดที่มีเหตุผล คือมนุษย์
- โมนาดต่ำลงมาคือ สัตว์ และพืช ที่มีความรู้สึก
- โมนาดต่ำที่สุดคือ อินทรีย์และอนินทรีย์
ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม