ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา

การนิยามความหมายของนักปรัชญา

การนิยามความหมายของคำว่า “Philosophy” มีลักษณะตามที่กล่าวมาแล้วเฉพาะตอนต้นของสมัยกรีกเท่านั้น ต่อมาความหมายของปรัชญาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะของแนวความคิด และสภาวะแวดล้อม

นักปรัชญาบางคน ให้ความหมายอันแท้จริงของปรัชญาว่า หมายถึงหลักแห่งความรู้และความจริงอันสูงสุด อันเป็นอันติมะ ส่วนนักปรัชญาบางกลุ่มก็นิยามความหมายว่า ปรัชญา คือความรู้ที่สากลและจำเป็น (Universal and Necessary Knowledge) ที่บอกว่าเป็นความรู้ที่สากล (Universal Knowledge) เพราะเป็นความรู้ที่ใช้อธิบายทุกสิ่งทุกอย่างได้ ที่บอกว่าเป็นความรู้ที่จำเป็น (Necessary Knowledge) เพราะเป็นความรู้ที่จำเป็นต้องรู้และจำเป็นสำหรับสรรพวิชา เนื่องจากวิชาทั้งปวงต้องมีปรัชญาเป็นหลัก

ด้วยเหตุที่ปรัชญามีลักษณะกว้างมาก จึงมีนักปรัชญาและนักภาษาศาสตร์หลายท่าน ตั้งแต่สมัยโบราณ จนกระทั่งปัจจุบัน ที่พยายามจะนิยามความหมาย หรือให้ข้อจำกัดความของคำว่า “ปรัชญา” เอาไว้ อาทิเช่น

เพลโต้ (Plato) กล่าวว่า “ปรัชญา คือการศึกษาหาความรู้เรื่องสิ่งที่เป็นนิรันดรและความเป็นจริงของสิ่งเหล่านั้น หรือธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลาย กล่าวคือปรัชญามุ่งที่จะให้รู้สิ่งที่เป็นนิรันดรและธรรมชาติแท้จริงของสิ่งทั้งหลาย”

อริสโตเติ้ล (Aristotle) กล่าวว่า “ปรัชญา เป็นศาสตร์ที่ค้นคว้าหาความแท้จริงของสิ่งที่มีอยู่โดยตัวเอง”
ค้านท์ (Immanuel Kant) กล่าวว่า “ปรัชญา คือศาสตร์ที่ว่าด้วยความรู้และการวิเคราะห์วิจารณ์หรือการตรวจสอบความรู้”
เจมส์ (William James) กล่าวว่า “ปรัชญา คือหลักการที่ใช้อธิบายความเป็นมาของสิ่งทั้งปวง โดยไม่มีการยกเว้น”
คองท์ (Auguste Comte) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส กล่าวว่า “ปรัชญา คือศาสตร์แห่งศาสตร์ทั้งปวง”

ศรัณย์ วงศ์คำจันทร์ ให้ข้อจำกัดความของปรัชญาเอาไว้ว่า “ปรัชญา คือวิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริงของสิ่งต่าง ๆ ในโลก พยายามค้นหาเหตุผล ความรู้ที่แท้จริงแน่นอน ที่สามารถอธิบายสิ่งต่าง ๆ ได้ เป็นวิชาที่แสดงออกให้เห็นถึงความคิดและวิวัฒนาการแห่งความคิดของมนุษย์อีกด้วย เพราะนักปรัชญามีอิสระที่จะคิด ค้นคว้าสิ่งต่าง ๆ ตามประสบการณ์ ความเชื่อ และความยึดถือของตน”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญมี แท่นแก้ว และสถาพร มาลีเวชพงศ์ ให้ข้อจำกัดความของปรัชญาเอาไว้ว่า “ปรัชญา คือวิชาที่คิดหาเหตุผลตามหลักตรรกวิทยาเพื่อเข้าถึงความจริง”

ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ข้อจำกัดความของปรัชญาเอาไว้ว่า “ปรัชญา คือวิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง”

ในหนังสือสารานุกรมชุดเวิลด์บุ๊ค (The World Book Encyclopedia) ได้ให้ความหมายว่า “ปรัชญา คือการศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ และสภาวะการดำรงอยู่ของมนุษย์ในจักรวาล”

จากการนิยามความหมายหรือข้อจำกัดความเหล่านี้ จะเห็นได้ว่า ปรัชญาคือหลักแห่งความรู้และความจริง หลักแห่งการแสวงหาความรู้ แสวงหาความจริง และหลักแห่งการค้นคว้าหาเหตุผลและหามาตรการในการตัดสินเกี่ยวกับธรรมชาติ หรือความแท้จริงของสรรพสิ่งในโลก

ปรัชญา จึงมีลักษณะครอบคลุมศาสตร์ทั้งปวง ในปัจจุบันจึงไม่นิยมที่จะให้คำจำกัดความของปรัชญา แม้จะมีอยู่ก็มีลักษณะที่กว้างที่สุด เช่น ปรัชญา เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยหลักการ (Science of Principle) ซึ่งมีลักษณะที่กว้างมาก เพราะหลักการ หรือทฤษฎีนั้น เป็นหัวใจของศาสตร์ทุกแขนง ด้วยเหตุที่ว่าศาสตร์ใดขาดหลักการหรือหลักปรัชญา ก็ย่อมเป็นศาสตร์ไม่ได้ นักปราชญ์ท่านจึงกล่าวว่า ไม่มีศาสตร์ใดจะสมบูรณ์ ถ้าขาดหลักปรัชญา (No Science is complete without Philosophy)

เมื่อเป็นเช่นนั้น เราอาจสรุปได้ว่า ปรัชญาเป็นความรู้ที่สากลและจำเป็น กล่าวคือใช้ได้กับทุกวิชา และทุกวิชาต้องมีหลักปรัชญาด้วย

ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย