ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา

วิวัฒนาการของจิตนิยม

แนวความคิดแบบจิตนิยมมีวิวัฒนาการมาจากปรัชญากรีกโบราณ นักปรัชญากรีกสมัยโบราณยุคแรก ๆ ส่วนใหญ่จะมีแนวความคิดแบบสสารนิยม แต่ก็มีบางท่านที่มีแนวคิดแบบจิตนิยม ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างสักหนึ่งท่าน

อแนกซากอรัส (Anaxagoras 500 - 428 ก่อนค.ศ.)

อแนกซากอรัส มีความเชื่อว่า ปฐมธาตุมี 2 อย่างคือ จิต (Mind) และสสาร (Matter) สภาพของจิตจะแทรกอยู่ในทุกสิ่งและทำให้ทุกสิ่งเกิดขึ้น ส่วนสสารนั้น สามารถที่จะแยกออกมาได้มากมาย เขาถือว่า พลังไม่ใช่สสาร แต่เป็นจิตที่เขาเรียกว่า “มโน” หมายถึงจิตหรือพุทธิปัญญา ซึ่งทำให้สิ่งต่าง ๆ เคลื่อนไหว ทำให้เกิดโลกขึ้น สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกไม่ว่าจะเป็นความเป็นระเบียบ ความงาม และความกลมกลืนของจักรวาล เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดจากพลังที่ไร้เหตุผล โลกที่ปรากฏจะต้องมีปัญญาควบคุมไว้ และบังคับให้ดำเนินไปสู่จุดหมายปลายทางที่กำหนดไว้

เกี่ยวกับเรื่องมนุษย์

จิตนิยม เชื่อว่า มนุษย์ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ร่างกาย ซึ่งเป็นสสาร และจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นอสสาร ในขณะที่สสารนิยมบอกว่า มนุษย์คือเครื่องจักรกล จิตนิยมก็จะบอกว่า มนุษย์คือจิตวิญญาณ ที่บอกว่ามนุษย์คือจิตวิญญาณ เพราะ

  1. มนุษย์มีการริเริ่ม เหตุว่าสสารทั่วไป เช่น ก้อนหิน ไม่มีริเริ่ม พวกมันมีการเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนไหว เพราะปัจจัยภายนอกมากระทบ มันจะมีลักษณะเป็นอย่างไร ดำรงอยู่อย่างไร ล้วนแต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกทั้งสิ้น แต่ว่ามนุษย์ไม่ได้เป็นเช่นนั้น มนุษย์มีการริเริ่ม มีความคิด มีความต้องการ มีความอยาก สิ่งเหล่านี้แหละเป็นตัวการริเริ่มที่ทำให้มนุษย์เกิดการเคลื่อนไหว เช่น ถ้าเราหิวน้ำ เท้าก็จะต้องเดินไปหาน้ำมาดื่ม เป็นต้น
  2. มนุษย์มีการเรียนรู้ มนุษย์คือจิตวิญญาณในแง่ที่ว่า มนุษย์มีความรู้สึกนึกคิด มีอารมณ์ สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ ซึ่งแตกต่างจากสสารโดยทั่วไปที่ไม่มีการเรียนรู้
  3. มนุษย์มีความรู้สึกขัดแย้ง ดังที่กล่าวแล้วว่า มนุษย์ประกอบด้วย 2 ส่วนคือร่างกายและจิตวิญญาณ ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ถาวร มีการเกิดขึ้นและดับไป ส่วนจิตวิญญาณ เป็นอมตะ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ถ้าหากคนเรามีแต่ร่างกายอย่างเดียว ก็จะทำอะไรได้ตามความต้องการทางกาย แต่ถ้ามีจิตอยู่ด้วย หากร่างกายจะทำในสิ่งที่ไม่ดี จิตก็จะมีความรู้สึกขัดแย้งไม่ให้ทำในสิ่งนั้น

ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย