ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
ปรัชญาเริ่มต้นหรือเกิดขึ้นจากความสงสัยในปรากฏการณ์ธรรมชาติ
นักปรัชญาจึงพยายามศึกษาว่า สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เป็นอยู่อย่างไร
โดยที่นักปรัชญาบางท่านเชื่อว่าปรากฏการณ์มีได้เพราะขึ้นอยู่กับจิตของมนุษย์เป็นตัวกำหนด
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงทำให้มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของจิตว่า
อะไรคือสิ่งที่เราเรียกว่า จิต จิตมีลักษณะเป็นอย่างไร ดำรงอยู่ได้อย่างไร
เหล่านี้เป็นต้น
นักปรัชญาฝ่ายตะวันตกได้ศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องของจิต มโน
หรือวิญญาณในลักษณะที่แตกต่างกัน
แต่มีจุดมุ่งหมายเป็นอันเดียวกันคือเพื่อต้องการทำตัวเองให้เป็นอิสระ
หรือเพื่อต้องการเข้าถึงตนเองอย่างแท้จริง
อันเป็นการศึกษาถึงสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวมากที่สุด เพื่อให้รู้จักตัวตนมากยิ่งขึ้น
ในการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ นักปรัชญาตะวันตกได้เรียกชื่อต่าง ๆ กัน
ขึ้นอยู่ที่ลักษณะของการศึกษาหรือแนวคิด ซึ่งสามารถรวบรวมได้ดังนี้
1. Psyche (ไซคี) คำว่า Psyche
มีความหมายหลายอย่างซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของผู้ศึกษากล่าวคือ
- ตามความหมายเดิมในภาษากรีก คำว่า Psyche หมายถึง ลมหายใจ
ที่มีความหมายอย่างนั้นเพราะเกิดจากการสังเกตเห็นว่าลมหายใจเป็นลักษณะเด่นของการมีชีวิต
สิ่งที่มีชีวิตย่อมจะต้องมีลมหายใจ หากยังมีลมหายใจแสดงว่ายังมีชีวิตอยู่
จึงเรียกลมหายใจที่เป็นเครื่องหมายของชีวิตว่า ไซคี ต่อมา คำว่า Psyche
ได้ถูกใช้เรียกชีวิต (Life)
- ในนิยายกรีกโบราณถือว่า คำว่า Psyche
เป็นจิตหรือวิญญาณที่มีวิวัฒนาการหรือเปลี่ยนสภาพมาจากโซล (Soul)
โดยถือว่าจิตหรือวิญญาณดั้งเดิมของมนุษย์ที่อยู่ในสภาพของนกหรือแมลง
แล้วต่อมาวิญญาณนกหรือแมลงนั้นก็วิวัฒนาการขึ้นมาเรื่อย ๆ
จนกระทั่งกลายมาเป็นมนุษย์ และวิญญาณในร่างมนุษย์ที่วิวัฒนาการมานั้นก็เรียกว่า
Psyche
เกี่ยวกับลักษณะความเป็นไปนี้ อริสโตเติ้ล (Aristotle) นักปรัชญากรีกโบราณก็ให้การสนับสนุน เพราะเชื่อว่า สิ่งที่มีชีวิตเกิดมาจากสารไม่มีชีวิต เมื่อประกอบกันเข้าเป็นรูปร่างแล้วจะมีวิญญาณเข้ามาสิงอยู่ วิญญาณนั้นประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ จากนั้นสิ่งที่มีชีวิตนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นสิ่งที่มีชีวิตที่มีรูปร่างสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น ไส้เดือนเกิดจากของบูดของเน่าในดิน หิ่งห้อยและแมลงเกิดจากหยดน้ำค้าง ยุงและลูกน้ำเกิดจากน้ำ กุ้ง หอย กบเกิดจากโคลน หนูเกิดจากดินชื้น เป็นต้น ส่วนมนุษย์นั้นเดิมมีรูปร่างเป็นตัวหนอนแล้วเปลี่ยนรูปร่างมาจนกลายเป็นมนุษย์ ... - ในสมัยของปรัชญาเมธีเพลโต้ (Plato) คำว่า Psyche ได้ถูกใช้ในความหมายว่า ความรักอันสูงส่ง การที่เพลโต้ได้ใช้คำว่า Psyche ในลักษณะดังกล่าว เพราะได้รับอิทธิพลมาจากเรื่องการวิวัฒนาการของ Soul มาใช้เป็น Psyche ตามนิยายของกรีกโบราณ ในฐานะสิ่งที่วิวัฒนาการมานั้นหมายถึงสิ่งที่ถูกทำให้ดีขึ้นหรือให้เจริญขึ้น ความรักอันสูงส่งของเพลโต้ก็คือความรักที่ผ่านการพิสูจน์จนกลายเป็นรักแท้ และเต็มไปด้วยความเสียสละมั่นคง
ในเทพนิยายกรีกชื่อ The Metamor Phosses of Apuleius
อันเป็นเทพนิยายว่าด้วยความรัก ในละครเรื่องนี้นางเอกของเรื่องจึงมีชื่อว่า ไซคี
เทพนิยายเรื่องนี้มีความย่อว่า
ไซคี เป็นพระราชธิดาองค์เล็กของกษัตริย์พระองค์หนึ่ง
ต่อมาได้เกิดรักใคร่กับคิวพิด (Cupid) ชายหนุ่มรูปงามถึงขั้นได้เสียกัน
ครั้นแล้วคิวพิดก็หายตัวไป พระราชธิดาได้ออกติดตามหาคนรัก ได้ผ่านอุปสรรคนานัปการ
คิวพิดได้มาพบพระนางขณะที่นอนสลบไสลอยู่กลางทาง
จึงได้ไปขอร้องเทพจูปิเตอร์ให้ช่วยให้นางฟื้น ท่านเทพได้ช่วยตามคำขอร้องของคิวพิด
และในที่สุดก็ได้ช่วยให้คนทั้งสองได้สมรักด้วยการแต่งงานกัน
เนื่องจากไซคีคือความรักอันสูงส่งและมีตัวตนในเทพนิยาย ในราวศตวรรษที่ 5
ก่อนคริสตศักราช นักศิลปะทั้งหลาย
ได้สร้างสร้างสัญลักษณ์ของไซคีเป็นรูปผู้หญิงสาวติดปีก
เพราะถือเอานางเอกของเรื่องนวนิยายเป็นสัญลักษณ์
และที่ติดปีกก็เพื่อเป็นการเตือนให้คนทั้งหลายระลึกถึงว่า ไซคี
ได้วิวัฒนาการมาจากนกซึ่งเป็นวิญญาณดั้งเดิม และด้วยอิทธิพลความเชื่อดังกล่าวนี้
ในปัจจุบันเราจะเห็นสัญลักษณ์ของความรักมักทำเป็นรูปหัวใจ
2. Mind (ไมนด์)
คำว่า Mind
เป็นไวพจน์ของจิตที่นักปรัชญาตะวันตกสมัยปัจจุบันได้ใช้อธิบายลักษณะหรือธรรมชาติของจิต
โดยมากแล้วจะใช้ คำว่า Mind คู่กับคำว่า Body
เพราะในสมัยนี้ได้อธิบายเกี่ยวกับมนุษย์ไว้ว่า มนุษย์ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ร่างกาย
(Body) และจิตใจ (Mind) ซึ่งหมายถึงรูปธรรมและนามธรรมนั่นเอง
ลักษณะที่เป็นรูปธรรม ได้แก่สิ่งที่ปรากฏออกมาภายนอก ซึ่งสามารถเห็นได้
และมีความสัมพันธ์อยู่กับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การยืน การเดิน การนั่ง
การนอน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีลักษณะที่ตรงกันข้ามกับลักษณะที่เป็นรูปธรรม
กล่าวคือลักษณะที่เป็นนามธรรม เช่น ความคิด ความต้องการ ความอยาก
หรือความรู้สึกต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายใน
ไม่สามารถมองเห็นได้ สิ่งที่เป็นนามธรรมเหล่านี้แหละ เรียกว่า Mind
3. Soul30 (โซล) คำว่า Soul เป็นมีการให้ความหมายดังนี้
ความหมายตามนิทานดั้งเดิมของกรีก คำว่า Soul
หมายถึงวิญญาณดั้งเดิมของมนุษย์ที่อยู่ในสภาพเป็นสัตว์เดรัจฉาน เช่น นกและแมลง
และต่อมานกหรือแมลงนั้นได้วิวัฒนาการขึ้นมาเป็นมนุษย์ ดังนั้น คำว่า Soul
ก็คือวิญญาณที่มีตัวตนเป็นสัตว์เดรัจฉาน
ความหมายทางด้านศาสนา คำว่า Soul
หมายถึงวิญญาณที่มีตัวตนหลังจากตาย (ผี เทวดา) นักวิญญาณนิยมเชื่อว่า
หลังจากที่มนุษย์ตายแล้ว ยังจะต้องมีชีวิตตัวตน มีรูปร่างเหมือนขณะที่ยังมีชีวิต
สภาพของชีวิตตัวตนรูปร่างที่มีอยู่หลังจากตายไปแล้วนี่เองเรียกว่า Soul
ตามทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle) คำว่า Soul แบ่งออกเป็น 3
อย่าง และมีอยู่ในสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น กล่าวคือ
- วิญญาณในพืช (Vegetative Soul) หรือที่เราเรียกว่า ชีววิญญาณ
วิญญาณในพืชเป็นวิญญาณระดับต่ำสุด
เราจะสังเกตลักษณะความเป็นไปได้จากการเจริญเติบโตและการผลิตหรือการสืบพันธุ์
อำนาจที่ทำให้พืชเจริญเติบโตและสืบพันธุ์นั่นก็คือ Soul
- วิญญาณในสัตว์ (Animal Soul) หรือที่เราเรียกว่าผัสสวิญญาณ
(Sensitive Soul) วิญญาณระดับนี้เป็นระดับกลาง
เราจะสังเกตลักษณะความเป็นไปได้จากการเคลื่อนไหว ซึ่งแสดงออกมาตามความรู้สึก
หรือความต้องการ
- วิญญาณในมนุษย์ หรือมนัสวิญญาณ หรือพุทธิวิญญาณ (Intellective Soul) วิญญาณระดับนี้เป็นวิญญาณระดับสูงสุด เราจะสังเกตได้จากการใช้สติปัญญาพิจารณาเหตุผล จะสังเกตได้ว่า คำว่า Soul เป็นคำที่นักปรัชญาสมัยโบราณใช้อธิบายลักษณะความเป็นของธาตุที่มีความเคลื่อนไหว แสดงออกมาเป็นความรู้สึก นึกคิด และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
4. Spirit (สปิริต) คำว่า Spirit มีการให้ความหมายหลายอย่างดังนี้
ใน Advanced Lerners Dictionary ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
- คำว่า Spirit หมายถึงวิญญาณ (Soul) และนามธรรมส่วนอื่น ๆ เช่น สติปัญญา
- คำว่า Spirit หมายถึงสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติที่มีอยู่ในมนุษย์ สามารถแยกออกจากร่างกายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตาย
- คำว่า Spirit หมายถึงผี (Spirit, Goblin) นางพรายน้ำ (Elf)
- คำว่า Spirit หมายถึงพระเจ้า (God) วิญญาณที่ไม่มีรูปร่าง
- คำว่า Spirit หมายถึงความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง และความมี ชีวิตชีวาในการทำงาน
- คำว่า Spirit หมายถึงทัศนคติหรือเจตนคติทางศีลธรรม (Mental or moral Attitude)
- คำว่า Spirit หมายถึงสภาพของจิตใจ เช่นความรู้สึกเป็นสุขหรือทุกข์ ความสมหวังหรือความผิดหวัง เป็นต้น
- คำว่า Spirit หมายถึง อิทธิพล หรือความโน้มเอียง ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดพัฒนาการ
ใน Heritage Illustrated Dictionary ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
- คำว่า Spirit หมายถึงอำนาจที่เป็นตัวการให้เกิดมีชีวิตขึ้นในสิ่งที่มี ชีวิต (Animal Force)
- คำว่า Spirit หมายถึงพระเจ้าหรือผีที่มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์
- คำว่า Spirit หมายถึงสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติทั่วไป
- คำว่า Spirit หมายถึงตัวการที่ก่อให้เกิดชีวิตที่มองไม่เห็น สัมผัส ไม่ได้
- คำว่า Spirit หมายถึงเจตจำนงหรือธาตุแท้ของคน (Will)
- คำว่า Spirit หมายถึงลักษณะทั่วไปของคน เช่น ความหยิ่ง เป็นต้น
- คำว่า Spirit หมายถึงความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง
- คำว่า Spirit หมายถึงความภักดีอย่างมั่นคง
- คำว่า Spirit ในอังกฤษสมัยกลาง หมายถึง ลมหายใจ (Breath) ลมหายใจของเทวดา (Breath of God) แรงกระตุ้น (Inspiration) เพื่อให้เกิดการ หายใจ ซึ่งเป็นคำที่มาจากภาษาลาตินว่า Spiritus
จะสังเกตได้ว่า คำว่า Spirit เป็นคำที่นักปรัชญาสมัยใหม่นิยมใช้กัน
ซึ่งลักษณะของความรู้สึก หรือทำหน้าที่รู้
5. Nous (เนาส์)
คำว่า Nous เห็นมีปรากฏครั้งแรกอยู่ในปรัชญาของอแนกซากอรัส (Anaxagoras)
ซึ่งท่านได้ให้ความหมายของคำนี้ไว้ว่า Nous หมายถึง ความนึกคิด ความมีเหตุผล
โดยที่ท่านอธิบายไว้ว่า Nous เป็นพลังงานซึ่งทำให้สิ่งต่าง ๆ เคลื่อนไหว
ทำให้เกิดโลกขึ้น เป็นพลังงานที่มีความนึกคิด มีเหตุผล ความมีระเบียบ
ความงามและความกลมกลืนของจักรวาฬ ล้วนแสดงให้เห็นว่า เกิดมาจากพลังงานที่มีเหตุผล
6. Consciousness (คอนเซียสเนส)
ใน Heritage Illustrated Dictionary ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
- คำว่า Consciousness หมายถึงความรู้สึกตัว
- คำว่า Consciousness หมายถึงเจตนคติเบ็ดเสร็จ
- คำว่า Consciousness ใช้อธิบายความหมายของศาสตร์ต่าง ๆ กล่าวคือ
- เพทนาการ (Sensation)
- มโนภาพ (Mental Image)
- จินตนาการ (Thought)
- ความปรารถนา (Desire)
- อารมณ์ (Emotion)
- เจตนา (Volition)
- ความชอบ (Like)
คำว่า Consciousness ได้มีการนำมาใช้ในลักษณะที่แตกต่างกันในแต่ละยุคแต่ละสมัย
ทั้งที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ และนักปรัชญา
ในปัจจุบันได้นำมาใช้กันอย่างกว้างขวางในชีวิตประจำวัน
เพราะได้นำมาเป็นเครื่องกำหนดความแตกต่างระหว่างการหลับและการตื่น
การหลับไม่ว่าจะเป็นการหลับตามธรรมชาติหรือการหลับเพราะสลบก็ตาม
ก็มีอาการเหมือนกันคือไม่รู้สึกตัว (Unconsciousness)
ในทางตรงกันข้ามหากคนไม่หลับก็แสดงว่าเป็นคนมีความรู้สึก (Consciousness)
7. Heart (ฮาร์ต)
ใน Advanced Lerners Dictionary ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
- คำว่า Heart หมายถึงอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายที่ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตต่อไปตามระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
- คำว่า Heart หมายถึงศูนย์กลางของอารมณ์ทั้งหลาย เช่น ความรัก ความเกลียด เป็นต้น
- คำว่า Heart หมายถึงส่วนกลาง ใจกลาง
- คำว่า Heart หมายถึงเนื้อหาสาระ แก่นแท้ เช่น เนื้อหาสาระของวิชา
- คำว่า Heart หมายถึงถิ่นที่อุดมสมบูรณ์
- คำว่า Heart หมายถึงสิ่งที่มีรูปร่างคล้ายหัวใจ
- คำว่า Heart ใช้เรียกคนที่มีรูปร่างน่ารัก
เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ไวพจน์หรือคำที่ใช้เรียกจิต มโน
หรือวิญญาณในภาษาตะวันตกนั้น มีอยู่ 7 อย่างคือ
1. Psyche 2. Mind 3. Soul 4. Spirit
5. Nous 6. Consciousness 7.
Heart
ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม