ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
เรื่องสสารเป็นเรื่อง¬ที่นักปรัชญาได้คิดกันเป็นเรื่องปฐมฤกษ์ หรือเป็นเรื่องแรก
หรืออาจกล่าวได้ว่า แนวความคิดเกี่ยวกับสสารนั้น
เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวของมนุษย์หรือเป็นสภาวะแวดล้อม
เป็นธรรมชาติที่มนุษย์จะต้องคิดหาคำตอบ
ตามประวัติศาสตร์ที่เราได้ศึกษากันมานักคิดทางตะวันเริ่มต้นตั้งแต่ ธาเลส (Thales)
เป็นต้นมา ได้พยายามศึกษาค้นหาหาความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติหรือบ่อเกิดของโลก
ซึ่งได้ข้อสรุปเกี่ยวกับสสารเป็นส่วนมาก
ดังนั้น แนวความคิดทางตะวันตกเกี่ยวกับสสารนิยมจึงมีมากมาย
จะกล่าวไว้ในที่นี้เฉพาะนักปรัชญาที่เด่น ๆ ดังต่อไปนี้
1. ธาเลส (Thales : 624 - 547 ก่อนค.ศ.)
แนวคิดที่สำคัญของธาเลสก็คือ การค้นหาคำตอบเกี่ยวกับคำถามที่ว่า
อะไรเป็นปฐมธาตุของโลก เขาได้สรุปแนวคิดไว้ว่า น้ำ (Water) เป็นปฐมธาตุของโลก
เพราะสรรพสิ่งเกิดมาจากน้ำ และจะกลับกลายไปเป็นน้ำอีก
ที่เป็นเช่นนั้น ธาเลสให้เหตุผลว่า เพราะน้ำมีลักษณะที่แปลก
สามารถเปลี่ยนรูปได้ต่าง ๆ นานัปการ ไม่ว่าจะจับตัวเป็นของแข็ง
ละลายตัวกลายเป็นของเหลว หรือแม้แต่กลายเป็นไอหรือก๊าซ ลักษณะความเป็นไปต่าง ๆ
นี้ทำให้เชื่อได้ว่าเป็นต้นตอของโลก เพราะโลกมีลักษณะความเป็นไปดังกล่าว
เขายังได้อธิบายไว้ว่า เมื่อน้ำระเหยไปในอากาศ ความเย็นของน้ำก็จะค่อย ๆ
แปรสภาพเป็นความร้อน นั่นคือน้ำแปรสภาพเป็นไฟ แต่เมื่อน้ำตกลงมาในรูปของสายฝน
นั่นก็แสดงว่าน้ำกำลังแปรสภาพเป็นดิน ลักษณะเช่นนี้จึงเชื่อได้ว่า
น้ำเป็นปฐมธาตุของโลก
2. อแนกซิมานเดอร์ (Anaximander : 610 - 545 ก่อนค.ศ.)
อแนกซิมานเดอร์ แสดงความคิดเห็นคัดค้านธาเลส ผู้เป็นอาจารย์ว่า
ปฐมธาตุของโลกไม่ใช่น้ำ แต่ควรเป็นสิ่งที่มีลักษณะเป็นกลาง นั่นคือสภาวะไร้รูป
(Formless Material) กล่าวคือยังไม่เป็นอะไรเลย มีลักษณะเป็นสิ่งไร้ขอบเขต
(infinity) มีปริมาณไม่จำกัด
ดังนั้น เขาจึงสรุปว่า ปฐมธาตุของโลกก็คือ อนันตะ (Infinite)
เพราะอนันตะยังไม่มีลักษณะที่แน่นอนตายตัวว่าเป็นอย่างไร
3. อแนกซิเมเนส (Anaximenes : 588 - 528 ก่อนค.ศ.)
แนวคิดที่สำคัญของอแนกซิเมเนสก็คือ ปฏิเสธแนวคิดที่ว่า น้ำและอนันต์
เป็นปฐมธาตุของโลก เขาเสนอว่า อากาศ (Air) เป็นปฐมธาตุของโลก เพราะว่า
อากาศคือสิ่งที่เป็นวิญญาณของคนเรา เป็นองค์ประกอบของชีวิตเรา
เป็นสิ่งที่ผูกพันสิ่งทั้งปวงในจักรวาล เป็นมวลสารพื้นฐานของสิ่งทั้งปวง
มีพลังในการขับเคลื่อนตัวเอง แผ่ขยายไปไม่มีที่สิ้นสุด ไร้ขอบเขต
มนุษย์เราจะดำรงชีวิตอยู่ได้เพราะการหายใจ
หากไม่มีอากาศหายใจก็แสดงว่ามนุษย์คนนั้นไม่มีชีวิตหรือตายแล้ว
เขากล่าวว่า สรรพสิ่งในโลกเกิดมาจากอากาศ อากาศทำให้เกิดเมฆ
เมฆทำให้เกิดฝน และฝนตกลงมาเป็นดินและหิน แล้วก็จะกลายเป็นอากาศอีก
4. เฮราคลิตุส (Heraclitus : 540 - 470 ก่อนค.ศ.)
เขาเสนอแนวคิดว่า ปฐมธาตุของโลกคือ ไฟ (Fire) เป็นสิ่งที่มีพลังในตัวเอง
มีสภาพไม่คงที่ เป็นพลังที่เปลี่ยนแปลงตัวเองไปเป็นอย่างอื่นอยู่เสมอ
เราจะสังเกตได้จากเปลวไฟที่เรามองเห็น จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
แม้ว่าบางครั้งความคิดเราจะบอกว่ามันไม่เปลี่ยนแปลง
แต่ความเป็นจริงเปลวไฟนั้นเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
เฮราคลิตุส กล่าวว่า ไฟ เป็นต้นตอของสรรพสิ่ง
ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไฟและไฟก็เป็นทุกสิ่งทุกอย่าง ไฟเปลี่ยนไปเป็นน้ำ
แล้วน้ำก็เปลี่ยนไปเป็นดิน ดินก็เปลี่ยนไปเป็นไฟอีก
ธรรมชาติของไฟทำให้มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุด เพราะไฟให้ชีวิต
ให้พลังงานที่ไม่คงสภาพการเปลี่ยนแปลงทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างดำรงอยู่ได้
ความเปลี่ยนแปลงจึงเป็นสัจจะ
ดังนั้น เฮราคลิตุส จึงสรุปว่า ไฟคือปฐมธาตุของโลก
ไฟจะต้องเป็นแก่นแท้ของสรรพสิ่ง (Fire must be the essence of all things)
5. โธมัส ฮ็อบส์ (Thomas Hobbes : 1588 - 1679)
ฮ็อบส์
เป็นนักสสารนิยมชาวอังกฤษ ที่ถือว่า จิตคือการทำหน้าที่ของสมอง
สสารเท่านั้นเป็นความจริงแท้ นั่นคือสากลโลกเป็นประมวลแห่งสสารวัตถุ สสารวัตถุมี 2
อย่างคือ
1. สสารวัตถุชนิดที่มีความรู้สึกตัวน้อย ได้แก่สิ่งที่เราเรียกว่า
สิ่งสามัญหรือสิ่งนอกกาย
2. สสารวัตถุชนิดที่มีความรู้สึกตัวมาก ได้แก่สิ่งที่เราเรียกว่า เจตภูต
ฮ็อบส์ อธิบายว่า โลกและชีวิตเป็นขบวนการเคลื่อนไหวอย่างกลไกล
จนเขาได้นามว่าเป็นบิดาแห่งลัทธิจักรกลนิยม (Mechanicism) โดยที่ลัทธินี้ถือว่า
อินทรีย์ เป็นเครื่องจักรกลที่ละเอียดซับซ้อน ชีวิตคือพลังงานทางฟิสิกส์
เคมีที่ซับซ้อนเท่ากัน ชีวิตเกิดจากสสารที่ไม่มีชีวิต คือนินทรียสารต่าง ๆ เช่น
คาร์บอน ออกซิเจน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ฯลฯ สังเคราะห์เข้ากันเป็นอินทรียสารขึ้นมาเอง
กลายเป็นสิ่งที่มีชีวิตขึ้น
ฮ็อบส์ถือว่า ชีวิตและความคิดทุกอย่างเกิดขึ้นตามกฎกลศาสตร์
โลกเป็นเสมือนเครื่องจักรประกอบด้วยสสารและพลังงาน สสาร ชีวิต และจิต
เกิดขึ้นโดยบังเอิญ ปรมาณูรวมตัวกันโดยบังเอิญ ไม่ใช่จุดมุ่งหมายเพื่อใคร กล่าวคือ
ปรมาณูรวมตัวกันเป็นโมเลกุล โมเลกุลรวมตัวกันเป็นสสาร สสารรวมตัวกันเป็นดาวต่าง ๆ
เป็นโลก เมื่อพื้นผิวโลกเย็นลงก็กลายเป็นสารประกอบเชิงซ้อนของคาร์บอน เรียกว่า
คอลลอยด์ (Colloids) ซึ่งยังไม่มีชีวิต และวิวัฒนาการสูงขึ้น จนกลายเป็นอินทรียสาร
เป็นชีวิตชั้นต่ำ คือพืช วิวัฒนาการสูงขึ้นไปอีกเป็นสัตว์
ที่สุดก็วิวัฒนาการเป็นมนุษย์ นับว่าเป็นกระบวนการวิวัฒนาการ 4 ระดับ คือ สสาร
อินทรียสาร ชีวิต และจิต
6. คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx : 1818 - 1883)
คาร์ล
มาร์กซ์ เป็นนักปรัชญาสสารนิยมแบบวิภาษวิธี (Dialectic) โดยยึดสังคมเป็นหลัก
เน้นด้านสสารนิยมหรือวัตถุนิยม
เพราะถือว่าสสารมีพลังพัฒนาตัวเองตามกฎวิภาษวิธีของเฮเกล
กล่าวคือต้องวางตัวให้ขัดแย้งกันเพื่อจะได้หาทางประนีประนอมกันเพื่อส่วนรวมจะได้ก้างหน้า
เมื่อประนีประนอมกันได้แล้วก็ต้องวางตัวตรงกันข้ามอีก เพื่อหาทางประนีประนอมอีก
ทำลักษณะอย่างนี้เรื่อยไป ในปัจจุบัน มาร์กซ์เห็นว่า
ลักษณะการขัดแย้งในสังคมก่อให้เกิดการพัฒนาหรือความเจริญก้าวหน้า
มาร์กซ์ เชื่อว่า สสารและพลังงานทำให้เกิดชีวิต
ชีวิตมนุษย์พัฒนามาจากชีวิตสัตว์ เพราะมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกับสัตว์ในขั้นพื้นฐาน
ที่กลายเป็นมนุษย์ เพราะมีคุณธรรม มีสติปัญญาสูง ก็เนื่องมาจากจิต เป็นพลังความคิด
เพราะทำหน้าที่ของสมอง จิตเป็นพลังความคิดของสมองนี้เอง
จึงสามารถพัฒนาจากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่งได้
นั่นคือจากระดับต่ำขึ้นไปสู่ระดับสูงได้
ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม