ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
จากการศึกษาเรื่องของปรัชญา จะเห็นได้ว่าปรัชญามีบ่อเกิดมาจากความสงสัย
หรือความประหลาดใจ เริ่มต้นตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ
ซึ่งมีความสงสัยเกี่ยวกับปฐมธาตุของโลก
ต่างคนต่างพยายามหาคำตอบเกี่ยวกับคำถามที่ว่า อะไรเป็นปฐมธาตุของโลก
หรืออะไรเป็นบ่อเกิดของโลก บางคนบอกว่า น้ำ เป็นปฐมธาตุของโลก บางคนบอกว่า ดิน
เป็นปฐมธาตุของโลก เหล่านี้เป็นต้น
การยึดถือแนวความคิดอย่างนี้ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นมาจากความสงสัยเพื่อต้องการค้นหา
หรือสืบค้นความแท้จริงของโลก
สำนักปรัชญาตะวันออก เช่น นักปรัชญาอินเดียโบราณ
ก็มีความสงสัยเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ฝนตก
เป็นต้น ท่านเหล่านั้นคิดว่าเหตุที่เป็นเช่นนั้น อาจจะเป็นเพราะมีเทพเจ้าสิงอยู่
อาจจะเป็นเพราะมีพระผู้เป็นเจ้าผู้สร้าง มีลักษณะการสร้าง การควบคุมดูแล
และการทำลาย ใช่หรือไม่ จึงพยายามค้นหาความเป็นจริงของโลก
ต่อมานักปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่
ก็มีความสงสัยเกี่ยวกับสิ่งใกล้ตัวนั่นคือสงสัยเกี่ยวกับตัวตน เกี่ยวกับวิญญาณ
เกี่ยวกับพระเจ้า แล้วพยายามสืบค้น หาหลักฐานอ้างอิงเพื่อหาความจริงของสิ่งเหล่านี้
เมื่อเป็นเช่นนี้ ความสงสัยจึงเป็นบ่อเกิดแห่งปรัชญา เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งความคิด
และการคิดก็ก่อให้เกิดการคิดหาเหตุผล การวิเคราะห์วิจารณ์ต่อมา
เราจะสังเกตเห็นว่า
แนวคิดเรื่องแรกที่นักปรัชญาค้นคิดก็คือเรื่องเกี่ยวกับโลก
หรือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น อะไรเป็นปฐมธาตุของโลก ฝนตก ฟ้าร้อง
เหล่านี้เกิดมาจากอะไร เป็นสิ่งที่มีอยู่อย่างแท้จริงหรือไม่ ลักษณะการคิดเช่นนี้
เป็นการคิดเกี่ยวกับสาขาของปรัชญาสาขาหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า อภิปรัชญา (Metaphysics)
อภิปรัชญา จัดเป็นปรัชญาบริสุทธิ์ คือเป็นเนื้อหาของวิชาปรัชญาแท้ ๆ
เพราะเป็นแนวความคิด หรือเป็นทฤษฎีล้วน ๆ อภิปรัชญาเป็นปรัชญาแบบเก่า
หรือที่เรียกว่า ปรัชญาสมัยโบราณ
อภิปรัชญา เป็นสาขาของปรัชญาสาขาหนึ่ง
เป็นสาขาที่รวมศาสตร์ที่ว่าด้วยความมีอยู่ของจักรวาล
เป็นสาขาที่ค้นหาเรื่องสภาวะแห่งความเป็นจริง อะไรเป็นสิ่งที่เป็นจริง
และอะไรเป็นสิ่งที่ได้จากสิ่งที่เป็นจริง โลกคืออะไร จักรวาลมีได้อย่างไร
วัตถุหรือจิตเป็นความจริง มนุษย์คืออะไร
เหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัญหาที่จะหาคำตอบได้จากอภิปรัชญา
เมื่อเป็นเช่นนี้ อภิปรัชญา
จึงเป็นสาขาของปรัชญาที่ศึกษาถึงความเชื่อเกี่ยวกับความเป็นจริง
ซึ่งพยายามจะหาคำตอบจากสิ่งต่าง ๆ มากมาย เช่น อะไรคือจิต จิตมีจริงหรือไม่
อะไรคือพระเจ้า พระเจ้ามีจริงหรือไม่
จิตกับพระเจ้ามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างไรหรือไม่ อะไรแน่ที่เป็นความแท้จริง
ในการศึกษาเกี่ยวกับอภิปรัชญาดังกล่าว จึงเกิดมีทฤษฎีอภิปรัชญาขึ้นมากมาย
แต่ก็อยู่ในลักษณะของ 3 ทฤษฎีหลักคือ
- ทฤษฎีสสารนิยม (Materialism) ทฤษฎีนี้พยายามศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งที่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส เพราะยอมรับเรื่องของวัตถุ หรือสสารเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง จึงพยายามหาความจริงเกี่ยวกับสสาร
- ทฤษฎีจิตนิยม (Idealism) ทฤษฎีนี้พยายามศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับอะไรคือธาตุแท้ของมนุษย์ โดยเน้นไปที่เรื่องของจิต เพราะยอมรับว่า จิต เท่านั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง
- ทฤษฎีธรรมชาตินิยม (Naturalism) ทฤษฎีนี้พยายามศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเอกภพ หรือธรรมชาติว่า อะไรเป็นผู้สร้าง เกิดขึ้นมาได้อย่างไร มีลักษณะเป็นอย่างไร รวมไปถึงเรื่องของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีอำนาจสร้างโลก ควบคุมโลก และทำลายโลก เหล่านี้เป็นต้น
ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม