ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ

เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแฟลช

1. การส่องแสงแฟลชทางอ้อม (Indirect Flash) หรืออาจเรียกว่าแฟลชสะท้อน (Bounce Flash) คือ การใช้แสงแฟลชที่สะท้อนจากเพดานกำแพงหรือ แผ่นสะท้อนโดยเฉพาะ เพื่อการถ่ายภาพ ลำแสงที่ตกกระทบเพดานกำแพงหรือแผ่นสะท้อนลงบนวัตถุจะมีลักษณะนุ่มและกระจาย (Diffused Light) ช่วยขจัดเงาดำ หรือแสงที่แข็งกระด้างข้อควรระวังในเรื่องนี้ก็ คือ การตั้งหน้ากล้องหรือขนาดของรูรับแสง ควรเพิ่มให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ประมาณ 2 เอฟ สตอปจากการคำนวนได้ตามวิธีปกติ อย่างไรก็ตามถ้าใช้กระดาษแข็งสีขาวติดบนแฟลชเพื่อสะท้อนแสง กระดาษควรห่างจากแฟลชประมาณ 13 ซม . และตั้งมุมของกระดาษที่จะสามารถสะท้อนแสงให้ตกลงบนวัตถุได้ถูกต้อง แผ่นกระดาษสีขาวยังช่วยสะท้อนแสงแฟลชไปยังดวงตาให้เกิดแววในดวงตาอีกด้วย

2. การลดแสงแฟลชให้นุ่มนวลขึ้น (Diffusing Flash) ในกรณีที่ต้องการลดแสงแฟลชให้นุ่มนวลขึ้นควรใช้แผ่นกรองแสงบังหน้าแฟลชไว้ซึ่งแผ่นกรองแสงนี้ มีลักษณะเป็นพลาสติคใสอาจใช้วัสดุอื่น ๆ แทนได้ เช่น ผ้าเช็ดหน้า กระดาษเช็ดเลนส์ ถุงน่องของสุภาพสตรี เป็นต้น ควรใช้ยางหรือเชือกยึดติดตัวแฟลชให้แข็งแรง การตั้งขนาดรูรับแสงควรเพิ่มให้มีขนาดใหญ่ขึ้นประมาณ 1-2 เอฟสต๊อปจากการคำนวนได้ตามวิธีการปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนา หรือบางของวัสดุ ที่บังหน้าแฟลช ภาพที่ได้จะมีลักษณะนุ่มนวล เพราะแสงไม่จ้าหรือแข็งเกินไป

3. การใช้แฟลชเสริม (Fill In Flash, Environmental Flash) ในบางครั้งการถ่ายภาพกลางวันขณะที่มีแดดจัด ๆ ทำให้ตาหยี มีเงาดำมากทำให้ ได้ภาพที่ไม่สวยงาม อาจใช้แฟลชช่วยลดเงา หรือเป็นแสงเสริมดวงอาทิตย์ เพื่อลบเงาที่ไม่ต้องการได้ ซึ่งลักษณะนี้ต้องการแสงแฟลชประมาณ ? หรือ ? เท่าของ แสงแฟลชที่ใช้ในยามปกติ การเปิดขนาดรูรับแสงนั้นให้ใช้ขนาดเดียวกันกับที่ถ่ายด้วยแสงแดดอย่างเดียว หากแต่จะต้องคำนวณหาระยะทางที่เป็นที่ตั้งของแฟลช โดยเอาค่าของขนาดรูรับแสงหารด้วยไกด์นัมเบอร์ก็จะเป็นระยะห่างของตำแหน่งของแฟลชหรือของกล้องด้วยเมื่อติดแฟลชไว้บนตัวกล้องลักษณะนี้ แสงอาทิตย์และ แสงแฟลชจะมีความเข้มเท่ากัน ถ้าต้องการภาพสวยงามขึ้น อาจให้แสงอาทิตย์ส่องหลังวัตถุ และแฟลชส่องด้านหน้าจะได้ภาพที่มีความสวยงามนุ่มนวลแปลกตาเพราะ มีแสงสีขาวรอบ ๆ วัตถุด้วย ในกรณีที่ไม่ต้องการให้ความเข้มของแสงของแฟลช เท่ากับแสงดวงอาทิตย์ อาจใช้ผ้าเช็ดหน้าหุ้มหลอดแฟลชช่วยลดความสว่างลงได้

4. การใช้แฟลชโดยไม่ต่อสายเข้ากล้อง (Painting With Flash, Open Flash) ในกรณีที่ต้องการแสงแฟลชส่องสว่างให้แก่ภาพอย่างทั่วถึงทุกซอกทุกมุม ในเวลาถ่ายภาพกลางคืน หรือฉากที่มีแสงสว่างไม่พอ แต่ฉากนั้นมีความกว้างใหญ่มีพื้นที่มากแสงแฟลชไปไม่ถึง สามารถถ่ายภาพได้โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า การเปิดแฟลชโดยไม่ต่อสายเข้ากล้อง วิธีทำก็ คือเปิดรูรับแสงไว้ที่ B หรือ T (Time Exposure) แล้วฉายแสงแฟลชซ้อนเข้าไปในภาพนั้น ๆ อาจฉายแสงได้มากครั้ง ตามที่ต้องการ โดยที่กล้องต้องผนึกให้แข็งแรงบนขาตั้งและการฉายแสงแฟลชอาจใช้ ฟิลเตอร์สีต่าง ๆ ช่วยให้ภาพมีสีสันสวยงามตามจินตนาการได้ ในการเปิดรูรับแสงนั้น ให้ใช้หลักการคำนวณ โดยใช้ระยะทางจากแฟลชถึงวัตถุที่ถ่ายหารด้วยไกด์นัมเบอร์เช่นเดียวกันกับการใช้แฟลชปกติ ข้อควรคำนึงในการใช้เทคนิคนี้ก็ คือหลีกเลี่ยงการ ฉายแสงแฟลชเข้าหน้าเลนส์ถ่ายภาพเพราะจะทำให้เกิดแสงเป็นวง (Flare) ในภาพได้

5. การใช้แฟลชกับแว่นกรองแสง สีต่าง ๆ (Filtered Flash) ดังที่ทราบมาแล้วว่าแสงแฟลชจะมีอุณหภูมิสีของแสงใกล้เคียงกับแสงอาทิตย์ ดังนั้นเมื่อใช้กับ ฟิล์มถ่ายภาพกลางวัน (Daylight) จะได้ภาพสีธรรมชาติเราสามารถสร้างอารมณ์ในภาพให้เกิดสีสันต่าง ๆ ได้โดยการสวมฟิลเตอร์เข้าที่หน้าแฟลชเพื่อให้การ ฉายแสงมีสีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสีอุ่นหรือสีเย็นได้ตามต้องการ และการสวมฟิลเตอร์ที่แฟลชจะไม่ทำให้สีธรรมชาติของแสงอื่น ๆ เปลี่ยนไป แตกต่างกับการสวมฟิลเตอร์ ที่หน้าเลนส์ จะมีผลกระทบต่อแสงส่วนรวม ฟิลเตอร์ที่นำมาครอบแฟลช อาจใช้ฟิลเตอร์แผ่นจำพวกฟิลเตอร์ช่วยในการอัดภาพเรียกว่า CP (Color Printing) ฟิลเตอร์แก้ไขสี CC (Color Compensating) หรือฟิลเตอร์แก้ไขแสง (Light Balancing) ก็ได้ ซึ่งมีจำหน่ายตามร้านถ่ายภาพทั่วไป หรืออาจจะประดิษฐ์ขึ้นมา ใช้เองก็ได้ โดยการนำแผ่น อาซีเดทใสชนิดด้าน มาระบายด้วยสีน้ำ สีเทียนหรือ สีเพิ่มเติมภาพก็จะได้ฟิลเตอร์ครอบแฟลชที่ใช้งานได้มีข้อคำนึงคือ เมื่อใช้ฟิลเตอร์ครอบ หน้าแฟลช รูรับแสงต้องเปิดชดเชย ให้มากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากการสูญเสียจากการกลืนแสงของฟิลเตอร์

ข้อแนะนำในการเปิดรูรับแสงเพิ่มเติม คือถ้าใช้ฟิลเตอร์สีแดงเปิดเพิ่ม 2 เอฟสต๊อป สีเขียว หรือน้ำเงิน เพิ่ม 1 เอฟสต๊อป สีน้ำเงินอ่อน สีส้ม หรือ สีม่วง เพิ่ม 1/2 เอฟสต๊อป แต่ถ้าเป็นสีเหลืองไม่ต้องเพิ่มขนาดของรูรับแสง

 

6. การใช้แฟลช 2 ดวง (Multiple Flash) ในบางครั้งอาจใช้แฟลชดวงเดียวทำให้ภาพที่ได้ไม่สวยงาม เพราะมีเงามากความตัดกันของแสงสูง ขาดรายละเอียดที่จำเป็น ดังนั้นอาจใช้แฟลชอีกดวงหนึ่งเพิ่มเติม โดยแฟลชตัวแรกเรียกว่าเป็นแสงหลัก (Main Light) ติดตั้งไว้ใกล้วัตถุ และอีกตัวหนึ่งติดตั้งไว้ ที่กล้องห่างจากวัตถุออกไป เรียกว่าเป็นแสงเพิ่ม (Fill Light) การใช้แฟลชสองดวง อาจใช้การต่อสายหรือเครื่องช่วยเปิดแสงแฟลช (Slave-Unit) โดยไม่จำเป็นต้อง ต่อสายก็ได้ ข้อคำนึงคือ อัตราส่วนของแสงของแฟลชทั้งสองตัว ถ้าต้องการอัตราส่วนระหว่างแสงหลัก และแสงเพิ่มเป็นอัตราส่วน 2:1 ควรให้ตำแหน่งของแสง หลักห่างจากวัตถุ 8 ฟุต แสงเพิ่ม 11 ฟุต ถ้าอัตราส่วน 3:1 ระยะห่าง 6.3 และ 11 ฟุต แต่ถ้าต้องการอัตราส่วน 4:1 ระยะห่าง 5.6 และ 11 ฟุตตามลำดับ

7. การใช้แฟลชกับวัตถุที่เคลื่อนที่ ในบางครั้งการถ่ายภาพวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวต้องใช้ความไวชัตเตอร์สูงมาก โดยเฉพาะการใช้ฟิล์มชนิดที่มีความไวต่ำ ทำให้ไม่สะดวกสบายในการถ่ายภาพ ในการแก้ไขอาจใช้แฟลชเข้าช่วยได้โดยการเปิดความไวชัตเตอร์ตามที่เหมาะสมสำหรับกล้องที่ใช้ และเปิดรูรับแสงตามที่คำนวณได้ จากระยะห่างจากแฟลชถึงวัตถุที่ถ่าย ก็จะได้ภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวนั้นคมชัด หยุดการเคลื่อนไหวได้และยังมีแฟลชพิเศษ ที่มีช่วงความสว่างของแสงสั้นและเร็วมาก ๆ สามารถถ่ายภาพลูกปืนวิ่งผ่านวัตถุ ลูกธนูวิ่งหาเป้าเหล่านี้ให้หยุดนิ่งได้

8. การใช้แฟลชถ่ายภาพปลาในตู้กระจกวิธีใช้แฟลชในการถ่ายภาพปลาในตู้กระจก ควรให้ตำแหน่งของแสงแฟลชส่องจากข้างบนตู้ปลาและกล้องถ่าย อยู่ด้านหน้าของตู้ปลาในการตั้งรูรับแสงควรคำนึงถึงความชัดลึก เพราะปลาจะเคลื่อนไหวไปมา ถ้าตั้งความชัดตื้นจะได้ภาพที่ไม่หยุดนิ่งไหวพร่าได้ อย่างไรก็ตามควรตั้ง รูรับแสงให้กว้างกว่าปกติสัก 1 หรือ 2 เอฟสต๊อป เพื่อชดเชยแสงที่เกิดการสูญเสียจากการหักเหภายในน้ำ เนื่องจากปัจจุบันอุปกรณ์ประกอบแฟลชมีให้ผู้ใช้เลือกใช้ ตามความต้องการไม่ว่าจะเป็นแผ่นสะท้อนแสง ร่มสะท้อนแสง ตาไฟฟ้า (Slave Unit) ด้ามถือสายยาวเป็นต้น เพื่อให้การสร้างภาพได้สวยงามยิ่งขึ้น และสะดวกสบาย ในการถ่ายภาพผู้ใช้สามารถเลือกซื้อหาตามต้องการ

» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย

» พยานอันซื่อสัตย์

» บทบาทของภาพถ่าย

» ภาพที่ควรบันทึกเป็นหลักฐาน

» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย

» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

» ชนิดของกล้องถ่ายรูป

» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป

» อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง

» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป

» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว

» การบรรจุฟิล์มเข้ากล้อง

» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป

» ชนิดของเลนส์

» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์

» ฟิล์ม (Film)

» โครงสร้างของฟิล์ม

» ชนิดของฟิล์ม

» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม

» ประเภทของแฟลช

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR

» การคำนวนหาแฟลชไกด์นัมเบอร์

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์

» เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแฟลช

» ฟิลเตอร์ (Filter)

» ทฤษฎีสีของแสง

» แสงสีและฟิลเตอร์

» ฟิลเตอร์หรือแว่นกรองแสง

» ชนิดของฟิลเตอร์

» วิธีระมัดระวังรักษาฟิลเตอร์

» ประเภทของชัตเตอร์

» ความเร็วของชัตเตอร์

» การปรับความเร็วชัตเตอร์

» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง

» การหาค่าของแสง

» เซลล์วัดแสงชนิดต่าง ๆ

» ประเภทของวิธีการวัดแสง

» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง

» การจัดองค์ประกอบภาพ

» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ

» หลักการวิจารณ์ภาพถ่าย

» การล้างฟิล์ม

» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ

» เทคนิคการทำภาพ

» เทคนิคการทำโฟโต้สเก๊ตชิ่ง

» การสำเนาภาพ

» วิธีใช้แท่นถ่ายสำเนา

» การนำภาพออกแสดง

» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี

» วิธีการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่คมชัด

» หลักในการถ่ายภาพกลางแจ้ง

» เสนอแนะงานถ่ายภาพ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย