ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ

พยานอันซื่อสัตย์

 (The Faithful Witness)

การถ่ายภาพถือเป็นหลักฐาน หรือ พยานอันซื่อสัตย์ (The Faithful Witness) อันเป็นประจักษ์พยานของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม มนุษย์ได้ใช้ภาพถ่าย เพื่อบอกข่าวสารมาเป็นเวลานาน จากหลักฐานอ้างอิงกล่าวว่า เมื่อเดือนพฤษภาคม ค . ศ .1842 ช่างภาพ 2 คน คือ คาร์ล เอฟ . สเตชเนอร์ (Carl F. Stelzner) และเฮอร์แมน บีโอ (Herman Biow) ได้ถ่ายภาพซากของเมืองฮัมบรูก (Hamburg) ประเทศเยอรมันนี ซึ่งถูกไฟไหม้ เสียหายมาก บ้านเรือนถูกไฟไหม้ไปกว่า 4,000 หลัง คนตายกว่า 100 คน ซึ่งเขาทั้งสองได้บันทึกเหตุการณ์ด้วยภาพถ่ายไว้กว่า 40 ภาพโดยการใช้กระบวนการ ดาแกโรไทพ์ ช่างภาพจำนวนมาก ที่ให้ความสำคัญของการบันทึกเรื่องราวของโลกในแต่ละยุคสมัย อย่างตรงไปตรงมา ตามความเป็นจริง อาทิผู้คนตามถนนหนทาง อาคารบ้านเรือนที่เก่าแก่และที่สร้างขึ้นใหม่สภาพความเป็นอยู่ ของคนต่างถิ่นและต่างวัฒนธรรม สภาพภูมิประเทศตลอดจนสภาพและเหตุการณ์ของความขัดแย้ง เหตุการณ์ของสงคราม เป็นต้น

ช่างภาพสงครามคนแรกคือ โรเจอร์ เฟนตัน (Roger Fenton ค . ศ .1819-1869) ซึ่งเป็นชาวอังกฤษ เขาเป็นนักกฏหมาย และนักถ่ายภาพ โดยเฉพาะภาพเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม ภาพทิวทัศน์ ภาพบุคคล ในปี ค . ศ .1855 เขาได้รับแต่งตั้งจากพระนางวิคตอเรียแห่งอังกฤษ ให้เดินทางไปถ่ายภาพสงครามไครเมียร์ (Crimean War) ขณะนั้น เขาอายุ 35 ปี เขาได้เดินทางไปกับผู้ช่วย 2 คน รถม้าขนอุปกรณ์ถ่ายภาพพร้อมดัดแปลงรถม้าเป็นห้องมืดด้วยอุปกรณ์ที่เขา นำไปด้วยคือ กล้องถ่ายรูป 5 กล้อง เลนส์ชนิดต่าง ๆ เพลทกระจก 700 แผ่น เคมีภัณฑ์ เตา อาหาร เหล้าองุ่นและเครื่องมือ ที่จำเป็น เขาเรียกพาหะของเขาว่าคาราวานถ่ายภาพ (Photo graphic Van) เขาไปถึงสมรภูมิไครเมียร์ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ค . ศ .1855



เขาใช้ชีวิตอยู่ในสมรภูมิ เป็นเวลา 4 เดือน จนถึงเดือน กรกฏาคม ค . ศ .1855 จึงเดินทางกลับมา พร้อมด้วยเนกาตีฟประมาณ 360 แผ่นซึ่งเป็นภาพทิวทัศน์ในสนามรบ ภาพป้อมค่ายทหาร ภาพนายทหาร ภาพของ เขาได้รับการตีพิมพ์ในเอกสารชื่อ Illustrated London News และนำออกแสดงนิทรรศการที่กรุงลอนดอน และปารีสด้วย บรรณาธิการหนังสือ The Practical Mechanics Journal ได้ใช้ภาพถ่ายตีพิมพ์ลงในวารสาร แทนภาพเขียน เพราะเขาเห็นว่า ภาพเขียนมีคุณสมบัติในการสื่อความหมายได้น้อยกว่าภาพถ่าย และภาพถ่ายสามารถ นำสิ่งต่าง ๆ มาแสดงต่อหน้าผู้ชมได้ตรงตามความเป็นจริงมากกว่า หนังสือพิมพ์ London Times ได้ยกย่องผลงาน ของเฟนตันว่าเป็นภาพถ่ายมาจากความเป็นจริงและภาพถ่ายถือว่าเป็นพยาน หรือ หลักฐานอันซื่อสัตย์ (The Faithful Witness

ภาพถ่ายมีบทบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างดีเยี่ยมชิ้นหนึ่งคือ ภาพเยล โล่สโตน (Yellowstone) ซึ่งมีขนาด 20"x24" ถ่าย โดยวิลเลี่ยมเฮนรี่ แจ๊คสัน (William Henry Jackson) ซึ่งได้เดินทางไปสำรวจรัฐโอเรกอน (Oregon) และรัฐไวโอมิง (Wyoming) ร่วมกับคณะของ ด๊อกเตอร์เฟอร์ดินันด์ วี เฮเดน (Dr.Ferdinand V.Hayden) ภาพนี้ได้นำเสนอต่อรัฐบาลสหรัฐในปี ค . ศ .1871 ในปีถัดมาสหรัฐได้พิจารณา และประกาศให้สถานที่ แห่งนี้เป็นวนอุทยานแห่งชาติ แห่งแรกของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสถานที่สวยงามมาก มีน้ำพุร้อน (Geysers) หุบเหว ทะเลสาบ ภูเขา ลำเนาไพร สัตว์ป่า มากมาย นับว่าภาพถ่ายได้มีบทบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างได้ผลจริง ๆ นอกจากนั้นยังมีช่างภาพที่นิยมถ่ายภาพเพื่อการสำรวจคือ จอห์น เค ฮิลเลอร์ (John K.Hillers) ได้ท่องเที่ยวเพื่อหาความรู้ทางธรณีวิทยา ธรรมชาติวิทยา โบราณวัตถุ และมนุษยวิทยา ซึ่งเขาจะเดินทางไปสำรวจที่ต่าง ๆ ร่วมกับจอห์น เวสลี่ย์ เพาเวลล์(John Westly Powell) เช่น แม่น้ำโคโลราโด (Colorado) หุบเขาแกรนแคนยอน (Grand Canyon) ในรัฐยูทาห์ (Utha) และรัฐอริโซนา (Arizona) ตลอดจนชีวิตของคนเผ่าอินเดียนแดงดังนั้นจะเห็นว่าเพาเวลล์ได้ถ่ายทอดความรู้ด้านธรณีวิทยา ภูมิศาสตร์ ธรรมชาติวิทยา โบราณวัตถุและประวัติศาสตร์ หุบเขาแกรนแคนยอนได้สำเร็จ

ในด้านการศึกษาพบว่ามนุษย์มีการใช้ภาพติดต่อสื่อสารกันก่อนการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนเสียอีกผู้ที่นำภาพมาประกอบกับบทเรียนเป็นคนแรกคือ โยฮันอมอสคอมมินิอุส (Johamn Amos Camenius) หนังสือเล่มแรกที่มีภาพประกอบชื่อ Orbis Pictus ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหา ได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับคำกล่าวที่ว่า " ภาพหนึ่งภาพมีความหมายมากกว่าพันคำ " อย่างไรก็ตามภาพในสมัยนั้นอาจจะยังไม่พัฒนาถึงขั้นการถ่ายภาพ แต่เป็นจุดเริ่มต้นของความคิดในการนำภาพต่าง ๆ รวมทั้งภาพถ่ายมาใช้เพื่อการศึกษาอย่างแท้จริง สำหรับการถ่ายภาพในเมืองไทยนั้นจากหลักฐานพบว่า จอห์น ทอมสันหรือเจ ทอมสัน (John Thomson) ชาวอังกฤษได้เข้ามาในประเทศไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ . ศ .2408 ( ค . ศ .1865) ได้บันทึกภาพชีวิตความเป็นอยู่ สภาพบ้านเรือน และพระราชพิธีโสกันต์ของ รัชกาลที่ 5 เมื่อยังทรงพระเยาว์ ทำให้ภาพถ่ายต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยและมีคุณค่ายิ่งต่อการศึกษา ทอมสัน ยังได้เดิน ทางไปหลาย ๆ ประเทศในแถบเอเชียเพื่อบันทึกภาพชีวิตความเป็นอยู่ สภาพภูมิศาสตร์และเหตุการณ์ต่าง ๆ ของประเทศเหล่านั้นออกเผยแพร่ให้ชาวโลก ได้รู้จักผลงานที่มีชื่อเสียงในด้านสภาพสังคมและชีวิตความเป็นอยู่ของทอมสันที่ร่วมกันทำกับอด๊อฟสมิธ (Adolphe Smith) อีกชิ้นหนึ่งคือภาพแสดง สภาพความเป็นจริงของสังคมอังกฤษในยุคนั้นคือภาพของสลัมเด็กยากจนไร้ที่อยู่อาศัยและได้ตีพิมพ์ในหนังสือชื่อ Street Life in London.

» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย

» พยานอันซื่อสัตย์

» บทบาทของภาพถ่าย

» ภาพที่ควรบันทึกเป็นหลักฐาน

» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย

» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

» ชนิดของกล้องถ่ายรูป

» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป

» อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง

» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป

» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว

» การบรรจุฟิล์มเข้ากล้อง

» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป

» ชนิดของเลนส์

» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์

» ฟิล์ม (Film)

» โครงสร้างของฟิล์ม

» ชนิดของฟิล์ม

» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม

» ประเภทของแฟลช

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR

» การคำนวนหาแฟลชไกด์นัมเบอร์

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์

» เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแฟลช

» ฟิลเตอร์ (Filter)

» ทฤษฎีสีของแสง

» แสงสีและฟิลเตอร์

» ฟิลเตอร์หรือแว่นกรองแสง

» ชนิดของฟิลเตอร์

» วิธีระมัดระวังรักษาฟิลเตอร์

» ประเภทของชัตเตอร์

» ความเร็วของชัตเตอร์

» การปรับความเร็วชัตเตอร์

» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง

» การหาค่าของแสง

» เซลล์วัดแสงชนิดต่าง ๆ

» ประเภทของวิธีการวัดแสง

» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง

» การจัดองค์ประกอบภาพ

» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ

» หลักการวิจารณ์ภาพถ่าย

» การล้างฟิล์ม

» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ

» เทคนิคการทำภาพ

» เทคนิคการทำโฟโต้สเก๊ตชิ่ง

» การสำเนาภาพ

» วิธีใช้แท่นถ่ายสำเนา

» การนำภาพออกแสดง

» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี

» วิธีการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่คมชัด

» หลักในการถ่ายภาพกลางแจ้ง

» เสนอแนะงานถ่ายภาพ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย