ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ
คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ภาพถ่ายที่ดีทางทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ควรมีคุณลักษณะ
ดังนี้
1. มีความหมาย มีมโนทัศน์เพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่งในภาพ
เพื่อทำให้ชวนดู และเป็นที่สนใจ น่าศึกษา ติดตาม
ค้นคว้าภาพถ่ายที่ดีควรมีทั้งคุณค่าในทางศิลปะ และคุณค่าทางการสื่อสาร
เพื่อบอกให้รู้ว่าอะไรเกิดขึ้นในภาพ หรือภาพนั้น ๆ เกี่ยวข้องกับอะไร เป็นภาพอะไร
มีรูปร่างลักษณะเช่นไร ขนาดใด เป็นต้น เช่น
ภาพหมอลำเรื่องต่อกลอนที่พระเอกเป็นผู้ที่มีอำนาจวาสนา
มีข้าทาสบริวารมากมายคอยรับคำสั่ง
และคอยปรนนิบัติขณะที่พระเอกคนนั้นกำลังนั่งว่าราชการอยู่ภาพนี้
จะแสดงให้เห็นบรรยากาศทั่ว ๆ ไปของท้องพระโรงที่มีบริวารนั่งเรียงราย
ขณะที่พระเอกกำลังนั่งบนบรรลัง ออกคำสั่ง พฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้แสดงทั้งหมด
จะถูกบันทึกเอาไว้ หากเป็นภาพเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น
อุปกรณ์การทำมาหากิน เป็นต้นว่า ข้องใส่ปลา
หรือไซดักปลาควรถ่ายภาพมือที่จับข้องอยู่หรือ
มีไม้บรรทัดเพื่อวัดขนาดให้เห็นขนาดจริง อันเป็นการเปรียบเทียบด้วย
2. มีความเด่น
โดยการจัดสิ่งสำคัญภายในกรอบภาพให้มองเห็นเด่นชัดด้วยการสร้างความลึกของภาพให้มองเห็นชัดเจนเลือกตั้งมุมกล้องให้มองเห็น
ส่วนสำคัญสะดุดตา หรือสามารถเลือกจังหวะของการกดไกลั่นชัตเตอร์ได้นั่นเอง เช่น
ภาพแสดงการจับปลา โดยการทอดแหก็ถ่ายภาพในจังหวะที่แหกำลังกาง
ออกเต็มผืนและทิ้งตัวลงในน้ำอย่างรวดเร็ว ทำให้มองเห็นความมหึมาของผืนแห
และความมีอำนาจของผู้จับปลา ที่หวังจะจับเอาปลาทั้งตัวเล็กตัวใหญ่
ซึ่งเป็นสัตว์ที่เสียเปรียบมนุษย์นั้นไปเป็นอาหาร เพื่อยังชีพต่อไป
3. มีเอกภาพ หมายถึง การใช้รูปร่าง
เส้นพื้นผิวให้ได้รับแสงและเงาเฉพาะจุดที่ต้องการเน้นเท่านั้นและวัตถุที่อยู่ในภาพต้องมีความสัมพันธ์กลมกลืน
กันสิ่งใดที่ทำให้รกรุงรังไม่กลมกลืนกับเหตุการณ์ในภาพต้องหลีกเลี่ยง
อาจจะด้วยการจัดกรอบภาพเสียใหม่ หรือเปลี่ยนทิศทางการถ่ายภาพหรือแก้ไข
ด้วยวิธีการอื่น ๆ
4. มีระยะ เนื่องจากภาพถ่ายส่วนมากเป็นภาพแบนราบ มี 2 มิติ
ยกเว้นภาพพิเศษบางอย่าง คือภาพ 3 มิติเท่านั้น
ดังนั้นเพื่อแสดงระยะห่างและมาตราส่วน ของสิ่งที่ปรากฏในกรอบภาพ
ควรถ่ายภาพให้มีพื้นหน้า หรือฉากหน้าอยู่ใกล้ ฉากกลางอยู่ระยะกลาง
และฉากหลังอยู่ไกลสุด เช่นเดียวกับวัตถุที่มีขนาดเดียวกัน
แต่เมื่ออยู่ฉากหน้าจะมีขนาดใหญ่ และเล็กลงไปเรื่อย ๆ
จนถึงฉากหลังการถ่ายภาพลักษณะนี้คือ การถ่ายภาพให้มีมิติ ไม่ใช่ให้แบนราบ
เป็นภาพสองมิติ ซึ่งไม่น่าสนใจ การสร้างมิติในภาพอาจใช้แสงเข้าช่วยได้ เช่น
ฉากหนัาจะได้รับแสงสว่างมาก ส่วนฉากหลังจะได้รับแสงน้อย
หรือได้รับแสงเฉพาะส่วนที่ต้องการส่วนอื่น ๆ ก็เป็นไปตามบรรยากาศก็ได้
5. สีตัดกันเป็นธรรมชาติ ในการถ่ายภาพขาวดำนั้น
สีตัดกันหมายถึงส่วนที่เป็นสีขาวตัดกับส่วนที่เป็นสีดำ ส่วนภาพสีธรรมชาติได้แก่
ส่วนที่เป็นสีแก่ตัดกับส่วนที่เป็น สีอ่อนสีตัดกันส่งผลไปถึงการประกอบภาพด้วย
ถ้ามีสีตัดกันพอเหมาะพอดีจะทำให้ภาพนั้นน่าสนใจและมีเอกภาพ
โดยปกติส่วนที่เป็นสีขาวท่ามกลางส่วน ที่เป็นสีดำจะเรียกร้องสายตาได้ดีกว่าสีอื่น
ๆดังนั้นนักถ่ายภาพควรพิจารณาในเรื่องนี้ด้วยตลอดถึงการควบคุมการตั้งหน้ากล้อง
การควบคุมแสงการเลือก ระยะชัดที่เหมาะสมในการถ่ายภาพสไลด์นั้น
หากต้องการสีที่เข้มคือ สีแดงก็แดงจริง ๆ สีเขียวก็เขียวสด
ในขณะที่ฉายจำเป็นต้องตั้งหน้ากล้องให้เล็กหรือแคบกว่าปกติ
ครึ่งเอฟสตอปหากตั้งหน้ากล้องกว้างกว่าปกติคือให้แสงเข้ามากจะทำให้สีซีดจาง
(Overexposure)
6. มีรูปแบบที่เหมาะสม นั่นคืออาจเป็นภาพแนวตั้ง หรือแนวนอน
ควรสัมพันธ์กับวัตถุที่ถ่ายด้วย เช่น
ต้องการแสดงถึงความสูงของตึกควรถ่ายภาพในแนวตั้ง
เพราะภาพแนวตั้งแสดงถึงความคงทนถาวร ความมั่นคงแข็งแรง
ส่วนภาพแนวนอนให้ความรู้สึกสงบราบเรียบในปัจจุบันนี้กรอบภาพของกล้องถ่ายภาพ
ชนิดต่าง ๆ มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ แบบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เช่น กล้อง 35 มม .
กับรูปแบบสี่เหลี่ยมจตุรัส เช่น กล้องรีเฟลกซ์
สำหรับกล้องรีเฟลกซ์ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับ การเลือกรูปแบบดังกล่าวส่วนกล้อง 35 มม .
ที่มีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้านั้นจะมีปัญหา
ในการเลือกกรอบว่าจะถ่ายในแนวตั้งหรือแนวนอนและในการถ่ายภาพส่วนที่สำคัญ ๆ
ไม่ควรให้ชิดกับเส้นกรอบภาพเพราะจะทำให้ถูกตัดบางส่วนออกไปได้ เมื่อนำไปอัดขยายภาพ
7. มีการประกอบภาพที่น่าสนใจ
สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งก็คือนักถ่ายภาพต้องมีความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ถ่ายภาพของตนเอง
และต้องมีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความรู้ในการประกอบภาพเป็นอย่างดี เช่น
ความสมดุลย์ของภาพ สีตัดกันของภาพแบบต่าง ๆ ของการประกอบภาพ การใช้เส้น ชนิดต่าง ๆ
ตลอดจนการใช้มวลในภาพถ่าย หากมีสิ่งรบกวน รุงรังสายตาควรหลีกเลี่ยงให้ได้
» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย
» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย
» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป
» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป
» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว
» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป
» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์
» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม
» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR
» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง
» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง
» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ
» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ
» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี