ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ

ประเภทของแฟลช


ไฟแฟลชเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการถ่ายภาพ ช่วยให้สามารถถ่ายภาพในที่ ๆ มีแสงสว่างน้อย หรือใน เวลากลางคืนให้ได้ภาพชัดเจน มีสีสันถูกต้องตามความเป็นจริง นอกจากนั้นสามารถใช้แฟลชเพื่อถ่ายภาพ และสร้างสรรค์ งานถ่ายภาพให้น่าสนใจ โดยใช้เทคนิคอื่น ๆ มาประกอบด้วย

หากแบ่งประเภทตามลักษณะการทำงานของแฟลชแล้วสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. แฟลชหลอด (Bulb Flash)
2. แฟลชอิเลคโทรนิค (Electronic Flash)

1. แฟลชหลอด (Bulb Flash) ประกอบด้วยตัวหลอดที่ทำด้วยแก้วใสบางฉาบด้วยพลาสติคใสสีฟ้าหรือสีน้ำเงินภายในหลอดบรรจุด้วยลวดโลหะพวกอลูมิเนียม (Aluminium) หรือเซอร์โคเนียม (Zirconium) ทำเป็นเส้นเล็ก ๆ มากมาย และมีก๊าซออกซิเจนช่วยในการเผาไหม้ ภายในจะมีใส้หลอด เมื่อใส้หลอดลุกไหม้ถึงที่สุด (Peak) แล้วจะค่อย ๆ ดับลง ซึ่งความสว่าง (Flash Duration) นั้นอยู่ระหว่าง 1/200 ถึง 1/25 วินาที มีจานสะท้อนแสงเป็นตัวสะท้อน และอีกชนิดหนึ่ง เป็นแบบลูกเต๋า (Cube) ภายในบรรจุหลอดเล็ก ๆ 4 หลอดเมื่อหลอดใดทำงานตัวแฟลชจะหมุนไป นอกจากนั้นอาจมีแฟลชที่เรียงลำดับแถว เรียกว่า ฟลิปแฟลช (FlipFlash) อย่างไรก็ตามถ้าหากจะแยกช่วงเวลาของความสว่างเป็นเกณฑ์แล้ว แฟลชหลอดมีอยู่ 4 พวก คือ

  1. F (Fast Peak) มีช่วงความสว่างสั้นมากและแรงส่องสว่างค่อนข้างน้อย ความสว่างถึงจุดสูงสุดภายในเวลา 0.005-0.009 วินาที นับจากการกดสวิทช์ ดังนั้นเมื่อใช้ความเร็วกับแฟลชชนิดนี้ สามารถใช้กับความเร็วของชัตเตอร์ได้สูงถึง 1/100 หรือ 1/125 วินาที
  2. M (Medium Peak) ให้ความสว่างนานกว่าประเภทแรก และช่วงเวลาในการลุกไหม้ปานกลาง คือ ให้ความสว่างถึงจุดสูงสุดภายในเวลา 00.18-00. 24 วินาที ฉะนั้นใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้ไม่เกิน 1/50 ปกติจะใช้ 1/60 วินาที แต่ถ้าหากอยากให้สว่างมากกว่านั้นอาจใช้ 1/30 วินาทีก็ได้
  3. S (Slow Peak) ให้ความสว่างถึงจุดสูงสุดภายในเวลา 0.03 วินาที ถือได้ว่าเป็นการลุกไหม้นานที่สุดและให้กำลังส่องสว่างสูงมากเหมาะสำหรับ การใช้กล้องในสตูดิโอ และการใช้เทคนิคในการถ่ายภาพแบบเปิดแฟลช (Open Flash) โดยไม่ต้องต่อสายแฟลชความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะกับแฟลชชนิดนี้ประมาณ ไม่เกิน 1/25 หรือ 1/30 วินาที
  4. FP (Focal Plane) ให้แสงในช่วงลุกไหม้อย่างสม่ำเสมอให้ความสว่างถึงขีดสูงสุด ภายในเวลา 0.016-0.018 วินาที เหมาะในการใช้กับกล้องแบบ ม่านชัตเตอร์ใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้ 1/60 วินาที

2. แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Flash Strobe) ผู้ที่คิดค้นได้สำเร็จ และนำมาใช้เป็นคนแรก คือ ฮาโรลด์ อี เอดเจอร์ตัน (Dr.Harold EEdgerton) กั บผู้ร่วมงานของเขาแห่งสถาบัน MIT เขาให้ชื่อสิ่งประดิษฐ์นี้ว่า Kodatron Speed Lamp แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ได้พัฒนามาอย่างรวดเร็วบางชนิดมีตาอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ควบคุมปริมาณของแสงให้ออกมาพอดีกับระยะการถ่ายภาพได้ซึ่งโอกาสที่จะทำให้ได้แสงไม่พอดีเกือบไม่มีเลยแฟลชอิเล็กทรอนิกส์มีขนาดให้เลือกได้ตามต้องการ และกำลังส่องสว่างแตกต่างกันไป ปกติจะมีอายุการใช้งานเกินกว่า 10,000 ครั้งขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการระวังรักษา แฟลชชนิดนี้จะมีแบตเตอรี่แห้งเป็นตัวจ่ายพลังงาน ให้บรรจุลงในคอนเดนเซอร์ และทำให้แฟลชทำงาน ช่วงเวลาส่องสว่างของแสงสั้นมากประมาณ 1/500 ถึง 1/2000 วินาที หลอดแฟลชอิเล็กทรอนิกส์ทำด้วยแก้วควอร์ตซ์ (Quartz) ภายในหลอดบรรจุด้วยก๊าซเฉื่อย พวกซีนอน (Xenon) อาร์กอน (Argon) หรือ คริปตอน (Krypton) หรือก๊าซผสมของก๊าซดังกล่าวนั้น ภายในตัวแฟลชมีตัวเก็บประจุ (Capacitor) หรือ (Condenser) ซึ่งจะใช้แรงดันไฟฟ้าประมาณ 500-2,000 โวลท์ ในการอัดประจุเมื่อแฟลชทำงาน ทริกเกอร์อิเลคโทรด (Trigger Elec-trode) ที่อยู่ทั้ง 2 ข้างของหลอดแฟลช จะทำให้เกิดแรงคลื่นไฟฟ้าสูงออกมาผ่านก๊าซเฉื่อย และกระแสจะแตกตัวเป็นไอออน ทำให้คายพลังงานออกมาเป็นแสงส่องสว่างได้ในปริมาณแสง 4,500 ลูเมน - วินาที สำหรับแฟลชอิเล็กทรอนิกส์ขนาดปานกลาง

» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย

» พยานอันซื่อสัตย์

» บทบาทของภาพถ่าย

» ภาพที่ควรบันทึกเป็นหลักฐาน

» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย

» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

» ชนิดของกล้องถ่ายรูป

» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป

» อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง

» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป

» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว

» การบรรจุฟิล์มเข้ากล้อง

» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป

» ชนิดของเลนส์

» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์

» ฟิล์ม (Film)

» โครงสร้างของฟิล์ม

» ชนิดของฟิล์ม

» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม

» ประเภทของแฟลช

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR

» การคำนวนหาแฟลชไกด์นัมเบอร์

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์

» เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแฟลช

» ฟิลเตอร์ (Filter)

» ทฤษฎีสีของแสง

» แสงสีและฟิลเตอร์

» ฟิลเตอร์หรือแว่นกรองแสง

» ชนิดของฟิลเตอร์

» วิธีระมัดระวังรักษาฟิลเตอร์

» ประเภทของชัตเตอร์

» ความเร็วของชัตเตอร์

» การปรับความเร็วชัตเตอร์

» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง

» การหาค่าของแสง

» เซลล์วัดแสงชนิดต่าง ๆ

» ประเภทของวิธีการวัดแสง

» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง

» การจัดองค์ประกอบภาพ

» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ

» หลักการวิจารณ์ภาพถ่าย

» การล้างฟิล์ม

» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ

» เทคนิคการทำภาพ

» เทคนิคการทำโฟโต้สเก๊ตชิ่ง

» การสำเนาภาพ

» วิธีใช้แท่นถ่ายสำเนา

» การนำภาพออกแสดง

» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี

» วิธีการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่คมชัด

» หลักในการถ่ายภาพกลางแจ้ง

» เสนอแนะงานถ่ายภาพ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย