ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ
เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ
(Tips & Techniqe)
เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพ และทำภาพ
เทคนิคการซ้อนภาพ
เป็นที่เข้าใจว่าการถ่ายภาพซ้อน (Sandwich) และการถ่ายภาพซ้ำ (Double
exposure) เป็นเทคนิคชนิดเดียวกัน หากแต่อาจแตกต่างกันในผลที่ออก มา
เพราะการถ่ายภาพซ้อนเป็นการนำเอาฟิล์มตั้งแต่ 2 แผ่น มาประกบกันแล้ว นำมาอัดขยาย
หรือฉายถ้าเป็นสไลด์ ส่วนการถ่ายภาพซ้ำ เป็นการทำให้เกิดภาพ ถ่ายในกรอบภาพเดียวกัน
โดยจะให้แสงไปทำปฏิกริยากับฟิล์ม 2 ครั้ง ในแผ่นฟิล์ม เดียวกัน
วิธีการถ่ายภาพขึ้นอยู่กับชนิดของกล้อง พอสรุปเป็นประเด็นได้ ดังนี้
- ที่กล้องมีปุ่มกดชัตเตอร์ ได้มากกว่า 1 ครั้งหากใช้กล้องชนิดนี้ถ่าย
ภาพซ้อนจะช่วยให้เกิดความสะดวกสะบายในการขึ้นชัดเตอร์ เพราะในขณะขึ้นคาน
เลื่อนฟิล์ม
จะไม่เคลื่อนตัวที่แต่จะขึ้นไกชัตเตอร์ให้เราสามารถกดชัตเตอร์ถ่ายภาพ ซ้อนลงได้
- การบังคับการหมุนของฟิล์ม กล้องบางชนิดจะไม่มีกลไกช่วยถ่าย
ภาพซ้อนหรือพอเลื่อนฟิล์ม ฟิล์มจะเคลื่อนที่ทันที
อย่างไรก็ตามมีเทคนิคที่จะทำได้ โดยในขณะขึ้นคานเลื่อนฟิล์ม
กดปุ่มปลดล็อคหลอดพักฟิล์มที่อยู่ในตัวกล้องจะทำให้ฟิล์ม
ไม่เคลื่อนที่แต่จะขึ้นไกชัตเตอร์ ให้สามารถถ่ายภาพซ้อนได้ตามต้องการ
- การตั้งชัตเตอร์ที่ B หรือ Tเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะได้ภาพซ้อนโดยเปิด
ความเร็วชัตเตอร์ ชัตเตอร์จะเปิดค้างจนกว่าจะปล่อยมือ ชัตเตอร์จึงจะปิด ดังนั้น
จะช่วยให้เราใช้แฟลชช่วยบันทึกภาพหลาย ๆ ครั้งที่เปลี่ยนอริยาบทตัวแบบทุกครั้ง
ได้ให้ซ้อนภาพเดียวกัน วิธีนี้เหมาะในการใช้ในห้องที่ปิดแสงให้มือสนิท
ใช้แฟลชเป็น อุปกรณ์ช่วยส่องแสงให้กล้องได้บันทึกภาพตามตำแหน่ง
และอริยาบทที่ต้องการ
- การขยับกล้องทุกครั้งที่ถ่ายภาพ เป็นอีกอริยาบทหนึ่งที่จะช่วยให้
ได้ภาพซ้อนตามต้องการและเป็นการซ้อนที่เหลื่อมกันเพราะเกิดจากกรขยับเคลื่อน
กล้องไปเล็กน้อยนั่นเองในเวลาเคลื่อนกล้องนั้นใช้ความเร็วชัตเตอร์ B อาจใช้
ฟิลเตอร์หลายสีถอด และเปลี่ยนสลับกันไปจะทำให้ได้แสงที่สดใสได้
- การใช้ชัตเตอร์ แบบฮารีส เนื่องจากการใส่และถอดฟิลเตอร์เพื่อ
สลับให้เกิดสีสรรต่าง ๆ ทำได้ค่อนข้างยาก
ดังนั้นจึงมีผู้ประดิษฐ์ฟิลเตอร์ที่เรียกว่า ฟิลเตอร์แบบฮารีส
ขึ้นมาโดยมีลักษณะเป็นฟิลเตอร์ 3 สี เรียงติดต่อกันมีกระดาษสี
ดำปิดหัวและปิดท้ายเมื่อถ่ายภาพ เช่นวัตถุเคลื่อนที่อย่างช้าๆ เปิดความเร็ว B
พอ ชัดเตอร์ฮารีสนั้นผ่านหน้าเลนส์จนผ่านฟิลเตอร์ทั้ง 3 สี
ถึงกระดาษดำด้านท้ายแล้ว
ปิดชัดเตอร์ก็ได้ภาพวัตถุเคลื่อนที่ซ้ำซ้อนกันอย่างสวยงาม
- การใส่ฟิล์มถ่ายใหม่อีกครั้ง วิธีนี้เป็นการถ่ายภาพแรกให้หมดม้วน แล้วกรอฟิล์มกลับใส่ฟิล์มในกล้อง เริ่มต้นที่หัวฟิล์มใหม่ อาจทำเครื่องหมายเอาไว้ใน คราวแรกเพื่อให้การบรรจุฟิล์มครั้งที่สองได้ตรงกัน แล้วถ่ายภาพครั้งที่สองซ้อนลงใน ฟิล์มเดียวกัน โดยให้ภาพแรกและภาพที่ซ้อนครั้งที่สองมีการจัดภาพที่สวยงาม ตาม หลักการทางศิลป ตัวอย่างของการถ่ายภาพด้วยเทคนิคนี้ เช่น ครั้งแรก ถ่ายภาพ ดวงจันทร์ไว้ทั้งม้วน แล้วนำมาซ้อนกับภาพวิวทิวทัศน์ สะพาน โบสถ์ หรือสิ่งอื่น ๆ ในการถ่ายภาพซ้อนครั้งที่สอง
บ่อยครั้งที่พระอาทิตย์ไม่อยู่ในตำแหน่งที่เราต้องการ ซึ่งอาจแก้ปัญหาได้โดยเทคนิคถ่ายภาพซ้อน โดยตั้งระบบถ่ายภาพซ้อน แล้วถ่ายภาพมุมที่ต้องการไว้ก่อน (วัดแสงตามปกติ) โดยเว้นช่องให้สำหรับพระอาทิตย์ด้วย จากนั้นจึงเล็งไปที่ดวงอาทิตย์ (ระวังอย่าทำในขณะที่แสงยังจ้า เพราะจะเป็นอันตรายกับสายตา) แล้วถ่ายลงในมุมที่เว้นไว้ ทั้งนี้ต้องระวังเรื่องทิศทางของแสงด้วยว่าไม่ผิดไปจากธรรมชาติมากนัก เทคนิคเดียวกันนี้ใช้ได้กับพระจันทร์ด้วย
ก่อนซ้อนภาพ หลังซ้อนถาพ
» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย
» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย
» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป
» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป
» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว
» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป
» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์
» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม
» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR
» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง
» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง
» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ
» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ
» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี