ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ

แฟลชอิเล็กทรอนิกส์

วิธีใช้แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ในการถ่ายภาพ และข้อปฏิบัติอื่น ๆ

  1. ตั้งค่าความไวแสงของฟิล์มที่ตัวแฟลช โดยการหมุนแว่นวงกลมที่มีตัวเลขบอกค่าความไวแสงของฟิล์มให้ตรงกับเครื่องหมายลูกศรชี้ตามที่แฟลชกำหนด
  2. นำสายแฟลชเสียบเข้าที่รูเสียบแฟลชของกล้อง ถ้ากล้องมีสองรูให้เสียบที่รูมีเครื่องหมาย X
  3. ตั้งความเร็วชัดเตอร์ของกล้อง ให้ตรงกับที่คู่มือกล้องแนะนำเมื่อใช้แฟลชอาจเป็น 30 60 125 หรือ 250 ซึ่งกล้องบางตัวจะมีเครื่องหมายบอกไว้เช่น X หรือ อื่น ๆ ถ้าไม่ทราบว่ากล้องนั้นสัมพันธ์กับแฟลชที่ความเร็วชัดเตอร์ใดอาจตั้งไว้ที่ 30 หรือ 60 ได้
  4. การตั้งขนาดรูรับแสง (F-Stop) ให้ใช้ค่าที่ได้จากตัวแฟลชหรือการคำนวณพิจารณาจากไกด์นัมเบอร์ และระยะทาง หรืออาจใช้เครื่องวัดแสงแฟลชเฉพาะได้ (Flash Light Meter)
  5. ปรับระยะชัดหรือเรียกว่าปรับโฟกัสให้ภาพคมชัดไม่พร่ามัว
  6. เปิดสวิทซ์ไฟที่แบตเตอรี่ของแฟลชเพื่อให้ไฟชาร์จเข้าหลอดจนกระทั่งมีไฟบอกความพร้อม (Pilot Lamp) ปรากฎขึ้นโดยทั่วไปใช้เวลา 4 ถึง 15 วินาที
  7. จัดองค์ประกอบของภาพให้สวยงามตามหลักศิลปะในการถ่ายภาพ
  8. กดลั่นไกชัตเตอร์ถ่ายภาพได้อย่างไรก็ตามมีข้อคำนึงในการใช้แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ คือ
    เตรียมแบตเตอรี่ให้พร้อม และเป็นแบตเตอรี่ที่ใหม่สดเสมอ จึงจะให้ภาพที่มีคุณภาพดี แฟลชบางตัวอาจใช้เสียบไฟบ้านได้ ต้องเสียบสายให้พร้อมถ้าต้องการใช้ไฟบ้าน
    - การใช้แฟลชทุกครั้งต้องรอไฟเตือนความพร้อมเสียก่อน มิฉะนั้นความสว่างของแสงที่ส่องออกไปอาจจะไม่สว่างเต็มความสามารถของแฟลช
    - ถ้าถ่ายภาพเสร็จทุกครั้ง ควรปิดสวิทซ์ไฟ เพื่อเป็นการประหยัดกำลังไฟและแบตเตอรี่เมื่อจะถ่ายต่อไปจึงค่อยเปิดสวิทซ์ใหม่
    - ถ้าไม่ใช้งานเป็นเวลานาน ก่อนเก็บแฟลชควรเปิดสวิทซ์ให้ไฟเตือนความพร้อม (Pilot lamp) สว่างขึ้นเสร็จแล้วปิดสวิทซ์ ไม่ควรกดให้แสงวาบ ออกไปทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยการเก็บประจุของ Capacitor หรือ Condensor ให้ทำงานถูกต้องเสมอและเมื่อเก็บไว้นาน ๆ ควรถอดแบตเตอรี่ออกจากตัวแฟลชด้วย หลังจากเก็บไว้เป็นเวลาหลายสัปดาห์ ก่อนใช้งานควรกดแสงวาบออกไปสักหลาย ๆ ครั้งก่อนเพื่อทำให้ Capacitor ทำงานเต็มความสามารถ เรียกวิธีการนี้ว่า รีฟอร์มิ่ง Re-Forming
    - ควรระมัดระวังอย่าให้แฟลชตกกระทบพื้น หรือกระแทกเพราะจะทำให้เสียหายได้

» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย

» พยานอันซื่อสัตย์

» บทบาทของภาพถ่าย

» ภาพที่ควรบันทึกเป็นหลักฐาน

» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย

» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

» ชนิดของกล้องถ่ายรูป

» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป

» อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง

» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป

» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว

» การบรรจุฟิล์มเข้ากล้อง

» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป

» ชนิดของเลนส์

» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์

» ฟิล์ม (Film)

» โครงสร้างของฟิล์ม

» ชนิดของฟิล์ม

» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม

» ประเภทของแฟลช

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR

» การคำนวนหาแฟลชไกด์นัมเบอร์

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์

» เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแฟลช

» ฟิลเตอร์ (Filter)

» ทฤษฎีสีของแสง

» แสงสีและฟิลเตอร์

» ฟิลเตอร์หรือแว่นกรองแสง

» ชนิดของฟิลเตอร์

» วิธีระมัดระวังรักษาฟิลเตอร์

» ประเภทของชัตเตอร์

» ความเร็วของชัตเตอร์

» การปรับความเร็วชัตเตอร์

» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง

» การหาค่าของแสง

» เซลล์วัดแสงชนิดต่าง ๆ

» ประเภทของวิธีการวัดแสง

» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง

» การจัดองค์ประกอบภาพ

» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ

» หลักการวิจารณ์ภาพถ่าย

» การล้างฟิล์ม

» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ

» เทคนิคการทำภาพ

» เทคนิคการทำโฟโต้สเก๊ตชิ่ง

» การสำเนาภาพ

» วิธีใช้แท่นถ่ายสำเนา

» การนำภาพออกแสดง

» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี

» วิธีการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่คมชัด

» หลักในการถ่ายภาพกลางแจ้ง

» เสนอแนะงานถ่ายภาพ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย