ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ

การปรับความเร็วชัตเตอร์

B (Ball, Bulb, Brief) คือการเปิดปิดชัตเตอร์ในช่วงเวลาหนึ่งตามต้องการ ซึ่งชัตเตอร์จะเปิดค้างเอาไว้เมื่อกดชัตเตอร์และจะปิดก็ต่อเมื่อปล่อยนิ้วจากการกดนิยมใช้ถ่ายภาพฟ้าแลบ ถ่ายภาพกลางคืนที่เห็นไฟรถยนต์พาดเป็นสายยาว เป็นต้น กล้องบางชนิดอาจไม่มี B แต่ใช้ T (Time) แทน หรือ อาจมีทั้ง B และ T ก็ได้ เมื่อเวลาตั้งชัตเตอร์ที่ T หลังจากกดชัตเตอร์เปิดถ้าปล่อยมือชัตเตอร์ก็จะไม่ปิด ถ้าต้องการให้ชัตเตอร์ปิดก็ต้องกดอีกครั้งหนึ่ง นิยมใช้ T ถ่ายภาพเช่นเดียวกับ B


ภาพถ่ายไฟตอนกลางคืน

8 4 2 1 เป็นตัวเลขติดกับ B เป็นตัวเลขมีหน่วยเป็นวินาทีเต็มปกติเป็นตัวเลขที่มีสีแตกต่างจากตัวเลขที่มีค่าเป็นเศษส่วนของวินาที เมื่อต้องการถ่ายภาพเพื่อให้ชัตเตอร์เปิด และปิดเป็นระยะเวลากี่วินาทีก็ตั้งตัวเลขเหล่านี้ได้ 2 4 8 15 30 60 125 250 500 1000 2000 เป็นตัวเลขที่อยู่เรียงลำดับถัดมา ตัวเลขเหล่านี้มีค่าเป็นเศษส่วนของวินาที 1/8 1/15 1/30 1/60 1/125 1/250 1/500 1/1000 และ 1/2000 วินาที โดยปกติตัวเลขเหล่านี้มีสีขาว แต่เขียนไว้เพียงตัวส่วน ตัวเศษ 1 นั้นไม่เขียนลงไป ดังได้กล่วามาแล้วคือ ความเร็วแต่ละช่วงจะมีค่าเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัวเสมอ เช่น 1/60 วินาที มีระยะเวลามากกว่า 1/125 วินาที เป็นสองเท่าตัวนั่นเองและแสงจะเข้าได้มากกว่า ข้อควรสังเกตก็คือตัวเลขยิ่งมากชัตเตอร์เปิดและปิดเร็ว ตัวเลขน้อยชัตเตอร์เปิดและปิดช้า เพราะเวลาจะนานกว่า แต่มีข้อคำนึงก็คือ ถ้าหากนานมากเราก็ไม่สามารถจับกล้องให้มั่นคงได้ จะทำให้ภาพไหวพร่ามัว ผู้ที่เริ่มถ่ายภาพใหม่ ๆ ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ไม่น้อยกว่า 1/60 วินาทีขึ้นไปจึงจะได้ภาพชัดเจน

อย่างไรก็ตามความเร็วชัตเตอร์ที่เลือกใช้จะต้องสัมพันธ์กับลักษณะการเคลื่อนไหวของวัตถุด้วย เช่น ความเร็ว 1/60 และ 1/125 วินาที ใช้ถ่ายภาพวัตถุที่อยู่นิ่ง ๆ ความไวสูง ๆ เช่น 1/250, 1/500, 1/1000, และ 1/2000 วินาที ใช้ถ่ายภาพที่มีการเคลื่อนไหว เช่น คนวิ่ง รถวิ่งหรือการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนนิ่งเสมือนอยู่กับที่ (Freeze Action) ส่วนชัตเตอร์ที่มีความไวต่ำ ๆ เช่น 1/2, 1/4, 1/8, 1/15 และความไวเป็นวินาทีเต็มใช้ถ่ายภาพที่มีแสงน้อย เช่นภาพปฏิมากรรมฝาผนัง ท้องถนนเวลากลางคืน ซึ่งต้องใช้ขาตั้ง (Tripod) ให้กล้องยึดอยู่กับที่ นอกจากนั้นอาจใช้ถ่ายภาพเพื่อแสดงการเคลื่อนที่ของวัตถุ เช่น คนวิ่ง ม้าวิ่ง รถวิ่ง และใช้การส่ายตามวัตถุ (Pan) เข้าช่วยได้ภาพที่แสดงถึงการเคลื่อนไหว มีวิวข้างหลังปรากฎไม่ชัดเจน ส่วนวัตถุที่เคลื่อนไหวนั้นเห็นชัดเจน และดูเสมือนว่ามีการเคลื่อนที่จริง ๆ หรืออาจใช้ถ่ายภาพน้ำตก โดยตั้งความไวชัตเตอร์ต่ำ ๆ ตั้งกล้องไว้บนขาตั้ง (Tripod) จะได้ภาพที่ดูเสมือนน้ำตกนั้นไหลตลอดเวลา




ความเร็วชัตเตอร์สูง-ภาพที่กำลังเคลื่อนไหวหยุดนิ่ง


ความเร็วชัตเตอร์ปานกลาง


ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ-ภาพน้ำไหลมีความนุ่มนวล

ตารางเสนอแนะการใชัความเร็วชัตเตอร์

ข้อควรจำ จากตารางเสนอแนะการใช้ความเร็วชัตเตอร์ในการถ่ายภาพนี้ใช้กับระยะห่างจากกล้องกับวัตถุประมาณ 25 ฟุต ใช้กับเลนส์ 50 มม.ถ้าหากระยะห่างเพิ่ม ขึ้นเป็นสองเท่า คือ 50 ฟุตอาจใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำกว่านี้อีก โดยใช้ความเร็วถัดไป เช่น ถ้าตารางนี้บอกไว้ 1/125 วินาที แต่ถ้าระยะห่างยิ่งมากขึ้นเท่าตัวก็อาจใช้ 1/60 วินาทีได้ และถ้าหากระยะห่างใกล้เข้ามาอีก ต้องเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์มากขึ้นกว่าเดิม คือ 1/250 เป็นต้น

ในกรณีที่ใช้เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสมากขึ้น เช่น 100 มม.ให้ใช้ความเร็วเพิ่มมากขึ้นจากตารางอีก 1 ความเร็วและถ้าใช้เลนส์ 28 มม.ก็สามารถลดความเร็วได้อีก 1 ความเร็วเช่นกัน

» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย

» พยานอันซื่อสัตย์

» บทบาทของภาพถ่าย

» ภาพที่ควรบันทึกเป็นหลักฐาน

» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย

» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

» ชนิดของกล้องถ่ายรูป

» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป

» อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง

» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป

» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว

» การบรรจุฟิล์มเข้ากล้อง

» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป

» ชนิดของเลนส์

» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์

» ฟิล์ม (Film)

» โครงสร้างของฟิล์ม

» ชนิดของฟิล์ม

» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม

» ประเภทของแฟลช

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR

» การคำนวนหาแฟลชไกด์นัมเบอร์

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์

» เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแฟลช

» ฟิลเตอร์ (Filter)

» ทฤษฎีสีของแสง

» แสงสีและฟิลเตอร์

» ฟิลเตอร์หรือแว่นกรองแสง

» ชนิดของฟิลเตอร์

» วิธีระมัดระวังรักษาฟิลเตอร์

» ประเภทของชัตเตอร์

» ความเร็วของชัตเตอร์

» การปรับความเร็วชัตเตอร์

» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง

» การหาค่าของแสง

» เซลล์วัดแสงชนิดต่าง ๆ

» ประเภทของวิธีการวัดแสง

» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง

» การจัดองค์ประกอบภาพ

» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ

» หลักการวิจารณ์ภาพถ่าย

» การล้างฟิล์ม

» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ

» เทคนิคการทำภาพ

» เทคนิคการทำโฟโต้สเก๊ตชิ่ง

» การสำเนาภาพ

» วิธีใช้แท่นถ่ายสำเนา

» การนำภาพออกแสดง

» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี

» วิธีการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่คมชัด

» หลักในการถ่ายภาพกลางแจ้ง

» เสนอแนะงานถ่ายภาพ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย