ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ

การหาค่าของแสง

 (Metering)

ชนิดของเครื่องวัดแสงในกล้องถ่ายรูป

นักถ่ายภาพใช้เครื่องวัดแสงเพื่อให้ได้ค่าของแสงที่ถูกต้อง เพื่อใช้ตั้งความเร็วชัตเตอร์และกำหนดรูรับแสง หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ การให้แสงที่ถูกต้องหากแบ่งชนิดของเครื่องวัดแสงและกล้องถ่ายภาพแล้วพอแยกได้ดังนี้ คือ

  1. ระบบธรรมดาไม่มีเครื่องวัดแสง เป็นแบบที่เริ่มแรก โดยไม่มีเครื่องวัดแสงอยู่ในตัวกล้องเลยผู้ใช้ต้องหาเครื่องวัดแสงแบบมือถือ (Hand Held Meter) กำหนดความเร็วชัตเตอร์และขนาดรูรับแสง
  2. ระบบมีเครื่องวัดแสงสัมพันธ์กับระบบกล้องบางส่วนกล้องชนิดนี้ จะทำงานเมื่อตั้งความเร็วชัตเตอร์แล้วเครื่องวัดแสงภายในกล้องจะบอกขนาดหน้ากล้องผู้ใช้ต้องปรับขนาดหน้ากล้องที่ตัวเลนส์ตามที่เครื่องวัดแสงกำหนด การวัดแสงแบบนี้เป็นแบบไม่ผ่านเลนส์ และมีใช้กับกล้องรุ่นเก่า ๆ
  3. ระบบปรับความเร็วชัตเตอร์อัตโนมัติ แบบนี้ผู้ใช้จะเลือกตั้งขนาดหน้ากล้องและกล้องจะเลือกปรับความเร็วชัตเตอร์โดยอัตโนมัติให้สัมพันธ์กับขนาดของหน้ากล้องที่เลือกใว้ ระบบนี้ผู้ใช้ต้องมีความคุ้นเคยบ้างและต้องระมัดระวังความเร็วชัตเตอร์ที่ช้า เพราะจะได้ภาพไหวพร่ามัว
  4. ระบบมีเครื่องวัดแสงแต่ไม่สัมพันธ์กับกล้อง แบบนี้เหมือนแบบที่หนึ่ง หากแต่มีเครื่องวัดแสงด้วยมือมาติดไว้บนตัวกล้องอ่านขนาดหน้ากล้องและความเร็วชัตเตอร์ได้ที่ช่องบอก แล้วค่อยตั้งค่าต่าง ๆ ตามที่ได้นั้นกล้อง 35 มม. ที่ผลิตจากประเทศรัสเซียส่วนมากจะมีลักษณะนี้
  5. ระบบมีเครื่องวัดแสงผ่านเลนส์ และสัมพันธ์กับระบบกล้อง ระบบนี้มีระบบวัดแสงอยู่ในตัวกล้องอ่านแสงที่ผ่านเลนส์เข้าไป จะวัดแสงได้ถูกต้องโดยการปรับความเร็วชัตเตอร์และขนาดหน้ากล้องให้เข็มสัญญาณหรือไฟสัญญาณต่าง ๆ เกิดความสัมพันธ์กันพอดี ระบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ชอบระบบอัตโนมัติที่ผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรเลย
  6. ระบบหน้ากล้องโดยอัตโนมัติ เป็นแบบผู้ที่ใช้เลือกตั้งความเร็วชัตเตอร์และกล้องจะเลือกปรับขนาดหน้ากล้องให้สัมพันธ์กันโดยอัตโนมัติ เป็นระบบที่ใช้ง่าย แต่ต้องใช้กับเลนส์เทเลโฟโต้แบบสะท้อนระยะ(Mirror lens) และกับท่อต่อเลนส์หรือเบลโลว์ (Bellow) หรือใช้กับกล้องจุลทัศน์
  7. ระบบอัตโนมัติผสม เป็นแบบที่เลือกใช้ระบบปรับความเร็วชัตเตอร์อัตโนมัติหรือระบบปรับหน้ากล้องโดยอัตโนมัติอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือได้ทั้งสองอย่าง บางรุ่นมีระบบปรับตั้งโปรแกรม เพื่อให้ทำงานโดยอัตโนมัติพร้อม ๆ กัน และอาจมีระบบธรรมดาอยู่ด้วยก็ได้เป็นกล้องที่มีระบบต่าง ๆ มากมายจนบางครั้งทำให้เกิดความสับสนเหมาะ
  8. ระบบโปรแกรมอัตโนมัติ เป็นระบบที่กล้องเลือกปรับความเร็วชัตเตอร์ และขนาดหน้ากล้องทั้งสองอย่างให้สัมพันธ์กันโดยอัตโนมัติ รับแสงพอดี เหมาะสำหรับการถ่ายภาพฉับพลัน ผู้ใช้อาจชอบ และสนุกในตอนแรก เพราะไม่ต้องใช้ความคิด เพราะกล้องควบคุมระบบต่าง ๆ ให้หมดแต่อาจเบื่อหน่ายเมื่อใช้ไปนาน ๆ แบบนี้เหมาะกับนักถ่ายภาพที่เพิ่มเริ่มเรียนการถ่ายภาพ
  9. ระบบอัตโนมัติตายตัวอย่างเดียว เป็นระบบที่กำหนดไว้ตายตัวเพียงอย่างเดียว ของความเร็วชัตเตอร์เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นถ่ายภาพ เพื่อเพียงแต่ให้ได้ภาพเท่านั้น การใช้ง่ายสดวกมีช่วงการปรับแสงอัตโนมัติกว้าง
  10. กล้องที่ใช้ระบบธรรมดาได้ทุกระดับ เป็นกล้องอัตโนมัติที่สามารถตั้งความเร็วชัตเตอร์หรือขนาดหน้ากล้องในระบบธรรมดาได้ทุกระดับด้วยตามค่าแสงที่เครื่องวัดแสงอ่านได้ ช่วยให้การควบคุมการถ่ายภาพได้ตามต้องการจึงเป็นระบบอัตโนมัติที่ช่างภาพมืออาชีพนำมาใช้มาก
  11. ระบบปรับแสงชดเชยอัตโนมัติ กล้องอัตโนมัติ จะปรับให้รับแสงพอดีอย่างเดียว เมื่อใช้ ระบบปรับแสงชดเชยอัตโนมัติ จะช่วยควบคุมให้ภาพรับแสงมากน้อยต่างกันได้ ประมาณ 2 สต๊อป เพียงพอสำหรับการถ่ายภาพในที่ต่าง ๆ กันทั่วไป เมื่อเลิกใช้ต้องตั้งกลับตำแหน่งธรรมดา
  12. ระบบบันทึกความจำแสง เป็นระบบที่ช่วยให้การถ่ายภาพย้อนแสงได้ผลดีโดยวิธีการวัดแสงสิ่งที่ต้องการถ่ายในระยะใกล้ ๆ แล้วกดปุ่มบันทึกความจำไว้ ระบบความจำแสงก็จะ บันทึกความจำของทิศทางแสงนั้น ๆ เมื่อถอยออกมาเลือกมุมภาพตามที่ต้องการแล้วถ่ายภาพก็จะรับแสงได้พอดีในทิศทางของแสงที่ได้วัดไว้แล้วนั้น


เครื่องวัดแสง

» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย

» พยานอันซื่อสัตย์

» บทบาทของภาพถ่าย

» ภาพที่ควรบันทึกเป็นหลักฐาน

» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย

» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

» ชนิดของกล้องถ่ายรูป

» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป

» อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง

» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป

» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว

» การบรรจุฟิล์มเข้ากล้อง

» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป

» ชนิดของเลนส์

» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์

» ฟิล์ม (Film)

» โครงสร้างของฟิล์ม

» ชนิดของฟิล์ม

» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม

» ประเภทของแฟลช

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR

» การคำนวนหาแฟลชไกด์นัมเบอร์

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์

» เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแฟลช

» ฟิลเตอร์ (Filter)

» ทฤษฎีสีของแสง

» แสงสีและฟิลเตอร์

» ฟิลเตอร์หรือแว่นกรองแสง

» ชนิดของฟิลเตอร์

» วิธีระมัดระวังรักษาฟิลเตอร์

» ประเภทของชัตเตอร์

» ความเร็วของชัตเตอร์

» การปรับความเร็วชัตเตอร์

» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง

» การหาค่าของแสง

» เซลล์วัดแสงชนิดต่าง ๆ

» ประเภทของวิธีการวัดแสง

» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง

» การจัดองค์ประกอบภาพ

» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ

» หลักการวิจารณ์ภาพถ่าย

» การล้างฟิล์ม

» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ

» เทคนิคการทำภาพ

» เทคนิคการทำโฟโต้สเก๊ตชิ่ง

» การสำเนาภาพ

» วิธีใช้แท่นถ่ายสำเนา

» การนำภาพออกแสดง

» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี

» วิธีการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่คมชัด

» หลักในการถ่ายภาพกลางแจ้ง

» เสนอแนะงานถ่ายภาพ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย