ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ

ประเภทของชัตเตอร์

ชัตเตอร์เป็นกลไกที่สำคัญในการบังคับเพื่อกำหนดระยะเวลาของการเปิดปิดทางที่แสงจะผ่านไปกระทบกับฟิล์ม ความไวในการเปิดและปิดชัตเตอร์เรียกว่าเวลาฉายแสง (Exposure Time) แสงจะไปตกลงบนฟิล์มมากน้อยเท่าใด ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับชัตเตอร์ และอีกส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของรูรับแสง

โดยปกติชัตเตอร์แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

1. ชัตเตอร์แบบกลีบ (Leaf Shutter) บางครั้งเรียกว่า ชัตเตอร์ ไดอะแฟรม (Diaphrgm) หรือ ชัตเตอร์แผ่น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • แบบมีแผ่นโลหะแผ่นเดียว (Single Blade) เป็นชัตเตอร์ที่อยู่หน้าเลนส์ ทำหน้าที่เปิด-ปิดหน้ากล้อง ปกติจะใช้ความเร็วได้ประมาณ 1/30 ถึง 1/50 วินาที มักใช้กับกล้องราคาถูก
  • แบบมีแผ่นโลหะหลายแผ่น (Mutli-blade) โดยทั่วไปจะติดตั้งให้อยู่ระหว่างเลนส์ (Between-lens Shutter) มีลักษณะเป็นแผ่นโลหะบาง ๆ หลาย ๆ แผ่น วางซ้อนกันเป็นกลีบ ยึดด้วยสปริงก่อนการเปิดปิดหน้ากล้องจะกระทำสองจังหวะ คือจังหวะแรก โดยต้องขึ้นชัตเตอร์ก่อนกดปุ่ม (Preset-Type) และจังหวะที่สอง เมื่อถูกกดปุ่มชัตเตอร์จะเปิดและปิดด้วยความเร็วสูง และคงที่ สามารถใช้ความเร็วได้ประมาณ 1/30 ถึง 1/125 วินาที สำหรับกล้องที่มีราคาถูก และประมาณ 1/500 วินาที สำหรับกล้องที่มีราคาแพงขึ้นและอาจถึง 1/1000 วินาที ก็ได้สำหรับกล้องในปัจจุบัน เพราะนอกจากใช้สปริงยึดตัวชัตเตอร์แล้ว ยังพัฒนามาใช้อิเล็กทรอนิคส์ (Electronic Shutter)ควบคุมได้ด้วย เพื่อเพิ่มความเร็วและลดความเร็ว โดยมีวงจรเวลาทำหน้าที่ควบคุม นอกจากนั้นยังมีการประวิงเวลาในการเปิด ปิดหน้ากล้อง ภายหลังที่กดชัตเตอร์แล้วประมาณ 5-15 วินาทีอีกด้วย ชัตเตอร์ชนิดนี้สัมพันธ์กับช่วงเวลาของความเข้มของแสงสูงสุดของแฟลชได้ดีอีกด้วย


ภาพการทำงานของชัตเตอร์แบบกลีบ

2. ชัตเตอร์แบบม่าน (Focal-Plane Shutter) หรือบางครั้งเรียกว่า ชัตเตอร์ระนาบโฟกัส


การทำงานของชัตเตอร์แบบม่าน

ชัตเตอร์ชนิดนี้ตั้งอยู่ภายในตัวกล้องด้านหลังของเลนส์ ในปัจจุบันแบ่งแยกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. ชัตเตอร์ผ้าหน้าช่องภาพ ชัตเตอร์ชนิดนี้ทำด้วยผ้าชุบยางรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรืออาจทำด้วยโลหะผสมสองแผ่นเมื่อกดปุ่มปล่อยชัตเตอร์ม่านดำแผ่นแรกจะเคลื่อนที่ออก ทำให้แสงตกกระทบฟิล์มได้แล้วม่านดำแผ่นที่สองจะเคลื่อนที่ตามแผ่นแรก ระยะห่างของเวลาของการเคลื่อนที่นี้ สามารถปรับได้ตามความเร็วชัตเตอร์เพื่อเปิด ปิดกั้นแสงตามแนวนอนหน้าช่องภาพ โดยทั่วไปจะทำงานสัมพันธ์กับแฟลชได้ไม่เกิน 1/60 วินาที และสามารถใช้กับเครื่องช่วยขับเคลื่อนฟิล์มอัตโนมัติ (Mator Drive) ได้เร็วถึง 5 ช่องภาพต่อวินาที และใช้งานได้ทนทานที่สุด
  2. ชัตเตอร์โลหะช่องภาพ ชัตเตอร์ชนิดนี้ทำด้วยแผ่นโลหะบาง ๆ ทำหน้าที่เปิดปิดกั้นแสงตามแนวตั้งหน้าช่องภาพ โดยทั่วไปจะสัมพันธ์กับแฟลชได้เร็วถึง 1/125 วินาที แต่ในปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นให้สัมพันธ์กับไฟแฟลชได้เร็วมากกว่านี้กล้องรุ่นเก่าที่ใช้ระบบชัตเตอร์ชนิดนี้สามารถใช้กับเครื่องช่วยขับเคลื่อนฟิล์มอัตโนมัติได้เร็วเพียง 2 ช่องภาพต่อวินาที แต่ปัจจุบันได้พัฒนาให้ได้เร็วถึง 5 ช่องภาพต่อวินาที ในการกดปุ่มชัตเตอร์นั้น ในสมัยก่อนใช้ระบบกลไกที่ถือว่าเป็นมาตรฐาน มีใช้มานาน ลักษณะปุ่มกดจะมีรูเป็นเกลียว สำหรับต่อสาย ช่วยชัตเตอร์ทำงานโดยไม่ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เลย หากแต่ควบคุมการทำงานด้วยการเคลื่อนไหว แบบนาฬิกา ทำงานได้ทุก ๆ สภาวะอากาศ ในปัจจุบันได้พัฒนามาใช้ระบบแม่เหล็กไฟฟ้า และระบบไฟฟ้าซึ่งปุ่มกดจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเหมาะมือ และทำงานได้นุ่มนวลมีที่เสียบสายช่วยกดชัตเตอร์ที่อื่น และยังทำงานได้เที่ยงตรงที่สุดแต่ต้อง ระวังเรื่องพลังไฟฟ้าแบตเตอรี่ เพราะถ้าอ่อนลงจะทำให้การทำงานคลาดเคลื่อน หรือไม่ทำงานได้

» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย

» พยานอันซื่อสัตย์

» บทบาทของภาพถ่าย

» ภาพที่ควรบันทึกเป็นหลักฐาน

» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย

» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

» ชนิดของกล้องถ่ายรูป

» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป

» อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง

» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป

» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว

» การบรรจุฟิล์มเข้ากล้อง

» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป

» ชนิดของเลนส์

» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์

» ฟิล์ม (Film)

» โครงสร้างของฟิล์ม

» ชนิดของฟิล์ม

» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม

» ประเภทของแฟลช

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR

» การคำนวนหาแฟลชไกด์นัมเบอร์

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์

» เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแฟลช

» ฟิลเตอร์ (Filter)

» ทฤษฎีสีของแสง

» แสงสีและฟิลเตอร์

» ฟิลเตอร์หรือแว่นกรองแสง

» ชนิดของฟิลเตอร์

» วิธีระมัดระวังรักษาฟิลเตอร์

» ประเภทของชัตเตอร์

» ความเร็วของชัตเตอร์

» การปรับความเร็วชัตเตอร์

» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง

» การหาค่าของแสง

» เซลล์วัดแสงชนิดต่าง ๆ

» ประเภทของวิธีการวัดแสง

» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง

» การจัดองค์ประกอบภาพ

» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ

» หลักการวิจารณ์ภาพถ่าย

» การล้างฟิล์ม

» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ

» เทคนิคการทำภาพ

» เทคนิคการทำโฟโต้สเก๊ตชิ่ง

» การสำเนาภาพ

» วิธีใช้แท่นถ่ายสำเนา

» การนำภาพออกแสดง

» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี

» วิธีการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่คมชัด

» หลักในการถ่ายภาพกลางแจ้ง

» เสนอแนะงานถ่ายภาพ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย