ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ
เทคนิคการทำโฟโต้สเก๊ตชิ่ง
(Photosketching Techniques)
การทำโฟโต้สเก๊ตชิ่ง คือ การเปลี่ยนแปลงถ่ายภาพให้เป็นภาพวาดหรือ ภาพเขียนที่จะแสดงเนือ้หาต่าง ๆ ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อการเน้นเฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง ที่ต้องการเท่านั้นการทำโฟโตสซึ่งมีวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นดังนี้ คือ
- ภาพถ่าย นิยมใช้ภาพถ่ายที่อัดขยายด้วยกระดาษชนิดด้าน ลักษณะ บาง เพื่อให้มองเห็นรายละเอียดได้ชัดเจนขณะที่วางภาพลงบนกล่องไฟส่องสว่างใน การเขียนภาพหากภาพเป็นกระดาษชนิดมันก่อนเขียนภาพด้วยปากกา หรือพู่กันควร ใช้ Baking Sodaเช็ดหน้าภาพเสียก่อน เพื่อสะดวกในการเขียนภาพ
- หมึกอินเดียน ดินสอ ปากกา หรือพู่กัน
- น้ำยากัดภาพ (Bleaching) ประกอบด้วย น้ำยาไอโอดิน 1 ส่วน ผสมน้ำ2 หรือ 3 ส่วน
- น้ำยาคงสภาพ (Photo Fixer)
- น้ำสะอาดทำหน้าที่หยุดภาพ (Stop Bath) เพื่อชะล้างภาพหลาย หลังจากภาพที่ได้รับการคงสภาพแล้ว
ขั้นตอนการทำโฟโต๊สเก๊ตชิ่ง
- วางภาพบนกล่องไฟส่องสว่าง ให้แสงทะลุจากด้านล่างของภาพ
- ใช้ดินสอหรือปากกา Speed ball หรือพู่กันที่ใช้ร่วมกับหมึกอินเดียน เขียนลงบนภาพตามรายละเอียด และโครงร่างของวัตถุสิ่งของที่อยู่ในภาพ เสร็จ แล้วทิ้งไว้จนหมึกอินเดียนแห้ง โดยปกติใช้เวลาประมาณ 30 นาที บริเวณใดที่ต้อง การให้เป็นภาพถ่ายเช่นเดิมให้เคลือบด้วยกาวอย่างดีสัก 2 ครั้ง เพื่อป้องกันการกัด ภาพ
- นำภาพจุ่มลงในน้ำยาไอโอดีน ให้ด้านหน้าของภาพหันขึ้นข้างบน เพื่อ หลีกเลี่ยงการสัมผัสหมึกอินเดียนบนภาพ เขย่าภาพอย่างต่อเนื่องจนภาพถ่ายบริเวณ ที่เขียนด้วยหมึกอินเดียนหายไป ยังเหลือเฉพาะหมึกอินเดียน หรือรอยดินสอเท่านั้น
- จุ่มภาพลงในน้ำเย็นที่สะอาด เพื่อชะล้างน้ำยาไอโอดินออกให้หมด
- แช่ภาพลงในน้ำยาคงสภาพ จนกว่าภาพจะมีสีขาว-ดำ เด่นชัด ไม่มีสี น้ำตาลจากน้ำยาไอโอดินหลงเหลืออยู่
- นำภาพไปตากแห้ง หรือทำแห้งด้วยเครื่องต่อไป
ภาพต้นฉบับ
ภาพที่ได้จากโฟโต้สชิ่งแบบขาวดำ
ภาพที่ได้จากโฟโต้สชิ่งแบบสี
» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย
» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย
» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป
» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป
» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว
» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป
» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์
» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม
» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR
» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง
» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง
» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ
» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ
» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี