ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ

ภาพที่ควรบันทึกเป็นหลักฐาน

นักถ่ายภาพทางมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ต้องมีลักษณะเป็นคนช่างสังเกต คิดสร้างสรรค์ และอนุรักษ์ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้การมองภาพได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ตามสภาพความเป็นจริง ดังนั้นควรฝึกฝนการใช้สายตามองภาพ ให้เกิดความชัดเจน สร้างความเคยชินระหว่างสายตากับความคิดให้ประสานกันจนสามารถมองอะไรได้อย่างสมบูรณ์ มีความประทับใจภาพประเภทน ี้เรียกว่า ภาพ Pictorial ถ่ายตามที่สายตามองเห็นเกิดความประทับใจและเป็นภาพที่บอกเรื่องราวในตัวเองได้สมบูรณ์ หากจัดกลุ่ม พิจารณาและแยกสิ่งที่น่าบันทึกเป็นหลักฐาน พอสรุปคร่าว ๆ ได้ดังนี้

1. สถานที่และทิวทัศน์ รวมถึงแหล่งท่องเที่ยว โบราณสถาน โบราณวัตถุสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในการถ่ายภาพกลุ่มนี้ควรถ่ายภาพให้สามารถบอกเรื่องราว ภายในภาพให้ได้ ดังนั้นควรเลือกมุมการถ่ายที่เหมาะสม สื่อสารได้ดี และอาจถ่ายภาพหลาย ๆ ลักษณะใกล้บ้าง ไกลบ้างตามความเหมาะสม นอกจากนั้นควรเลือก สภาพแสงที่ดี เพื่อให้ได้ภาพที่สมบูรณ์ การเลือกใช้เครื่องมือถ่ายภาพที่เหมาะสมก็เป็นสิ่งสำคัญ

2. เหตุการณ์และชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนแต่ละท้องถิ่น ความแตกต่างในด้านวัฒนธรรม อารยธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี การแต่งกาย การละเล่นของเด็ก ๆ อาชีพ เหล่านี้เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจที่ควรบันทึกภาพไว้เป็นหลักฐานนักถ่ายภาพที่ดีควรเลือกมุมการถ่ายภาพ ลักษณะของภาพ ทิศทางและการให้แสงจังหวะของ การวางภาพ ให้ถูกต้องเหมาะสมจึงจะได้ภาพเหตุการณ์และภาพชีวิตที่มีคุณค่าทั้งทางด้านศิลปะและด้านความหมายที่สมบูรณ์




3. สิ่งแวดล้อมทั่ว ๆ ไปทั้งทางด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ทั้งนี้ควรพิจารณาเรื่องความสนใจของมนุษย์ (Human Interest) ด้วยทั้งที่เป็นสิ่ง ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ เช่น ดอกไม้ ทะเล ภูเขา แม่น้ำและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเช่น สะพาน ซากปรักหักพัง อาคารบ้านเรือน ตลอดจนสัตว์ต่าง ๆ นักถ่ายภาพที่ดีควรพิจารณาสภาพดินฟ้าอากาศ บรรยากาศที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย นักถ่ายภาพทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ต้องสามารถบันทึกภาพหลักฐานได้ ทุกระยะ เพื่อบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม รวมถึงวิวัฒนาการของสิ่งต่าง ๆ ได้

4. บุคคล โดยเฉพาะบุคคลที่มีบทบาท และมีความสำคัญในชุมชน ถือว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ดียิ่งในการถ่ายภาพบุคคลนั้นนักถ่ายภาพ ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ต้องสามารถบันทึกบุคลิกลักษณะของบุคคลที่ถูกถ่าย และแสดงออกมาด้วยภาพได้อย่างชัดเจน เช่น เป็นผู้มีอำนาจมีความ โอบอ้อมอารีหรือเหี้ยมโหด เป็นต้น

ดังนั้นจะเห็นว่านักถ่ายภาพทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นอกจากจะต้องฝึกสายตามองภาพ และความคิดในการสร้างภาพให้เกิดเรื่องราวแล้วยังต้อง พยายามทำความคุ้นเคยกับผู้คน วัฒนธรรมชีวิตความเป็นอยู่ คุณงามความดี สุนทรีย์ ตลอดจนพฤติกรรมต่าง ๆ ทางสังคมของมนุษย์ที่ทำให้มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เพื่อบันทึกสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นลงบนสื่อภาพถ่ายซึ่งอาจเป็นภาพนิ่ง โดยใช้ฟิล์มใช้แผ่นแม่เหล็กหรือวัสดุอื่น ๆ เป็นสื่อกลางในการบันทึก หรือเป็นภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพยนตร์ วิดีทัศน์ ขนาดต่าง ๆ ทำให้เป็นหลักฐานทางมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ต่อไป

หากแยกลักษณะของภาพถ่ายทางด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์แล้ว พอจะแยกได้

  1. ภาพถ่ายที่แสดงออกถึงจินตนาการทางความคิดของมนุษย์ เป็นภาพที่แสดงพลังอย่างหนึ่งที่มนุษย์มีอยู่ นักถ่ายภาพลักษณะนี้จึงเรียกได้ว่าเป็นศิลปินคือเป็นผู้ที่เสนอรูปแบบแห่งความคิด โดยดึงจินตนาการออกมา เพื่อสร้างสรรค์ผลงานจินตนาการนั้นก่อให้เกิดศิลปะหลาย ๆ รูปแบบ เช่น การประพันธ์ การแต่งเพลงบทกวี การวาดภาพ รวมถึงการถ่ายภาพ ถ่ายวิดีทัศน์และภาพยนตร์ด้วยจินตนาการจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อศิลปินได้รับความดื่มด่ำ และสะเทือน อารมณ์จากเหตุการณ์หรือวัตถุสิ่งของต่าง ๆ แล้วสร้างจินตนาการให้เกิดรูปทรงทางมิติ นั่นคือการแทนค่าความรู้สึก เป็นรูปทรงบวกกับปรัชญาความคิดของตนเอง ผลที่ได้จึงเป็นงานสร้างสรรค์เพื่อให้ผู้ชมได้สัมผัส และรับรู้เกิดอารมณ์ สะเทือนใจร่วม นักถ่ายภาพที่สร้างงานสร้างสรรค์ย่อมไม่ใช้กล้องถ่ายรูปเพียง เพื่อบันทึกหลักฐานเพียงอย่างเดียว แต่ได้รวมเอาจินตนาการทางความคิดไว้ด้วย ส่วนจะประสบผลสำเร็จหรือไม่เพียงใดขึ้นอยู่กับความสามารถของนักถ่ายภาพ ที่จะสะท้อนจินตนาการของตนให้ผู้อื่นรับรู้ได้มากน้อยเพียงใดนั่นเอง
  2. ภาพถ่ายเพื่อบันทึกหลักฐานต่าง ๆ เช่น การถ่ายภาพบันทึกเหตุการณ์การถ่ายภาพที่เป็นจริงเพื่อบอกเรื่องราวอันเป็นการสะท้อนสภาพแวดล้อมทาง สังคมชีวิตประจำวันสิ่งแวดล้อมขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และอาชีพ เป็นต้น

» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย

» พยานอันซื่อสัตย์

» บทบาทของภาพถ่าย

» ภาพที่ควรบันทึกเป็นหลักฐาน

» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย

» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

» ชนิดของกล้องถ่ายรูป

» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป

» อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง

» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป

» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว

» การบรรจุฟิล์มเข้ากล้อง

» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป

» ชนิดของเลนส์

» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์

» ฟิล์ม (Film)

» โครงสร้างของฟิล์ม

» ชนิดของฟิล์ม

» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม

» ประเภทของแฟลช

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR

» การคำนวนหาแฟลชไกด์นัมเบอร์

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์

» เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแฟลช

» ฟิลเตอร์ (Filter)

» ทฤษฎีสีของแสง

» แสงสีและฟิลเตอร์

» ฟิลเตอร์หรือแว่นกรองแสง

» ชนิดของฟิลเตอร์

» วิธีระมัดระวังรักษาฟิลเตอร์

» ประเภทของชัตเตอร์

» ความเร็วของชัตเตอร์

» การปรับความเร็วชัตเตอร์

» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง

» การหาค่าของแสง

» เซลล์วัดแสงชนิดต่าง ๆ

» ประเภทของวิธีการวัดแสง

» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง

» การจัดองค์ประกอบภาพ

» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ

» หลักการวิจารณ์ภาพถ่าย

» การล้างฟิล์ม

» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ

» เทคนิคการทำภาพ

» เทคนิคการทำโฟโต้สเก๊ตชิ่ง

» การสำเนาภาพ

» วิธีใช้แท่นถ่ายสำเนา

» การนำภาพออกแสดง

» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี

» วิธีการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่คมชัด

» หลักในการถ่ายภาพกลางแจ้ง

» เสนอแนะงานถ่ายภาพ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย