ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ
การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป
เนื่องจากกล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ มีราคาแพง และค่อนข้างบอบบาง
ดังนั้นย่อมต้องการการระมัดระวังบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1. การจับถือกล้องถ่ายรูป ควรปฏิบัติดังนี้ คือ
- ใช้สายสะพายกล้องคล้องคอเสมอ เพื่อป้องกันการตกหล่น กระทบกระแทก อันอาจทำให้เกิดการชำรุดเสียหายได้
- ใช้มือซ้ายรับน้ำหนักตัวกล้องในขณะถ่ายรูป ให้ฐานกล้องอยู่บนอุ้มมือนิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้มือข้างซ้ายใช้สำหรับแต่งความคมชัด และรูปรับ รับแสงที่ต้องการ
- ใช้มือขวาจับตัวกล้องด้านขวามือ หัวแม่มือใช้ในการเลื่อนฟิล์มขึ้นชัดเตอร์ และนิ้วชี้กดลั่นไก นอกจากนั้นนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ยังใช้ปรับเปลี่ยน ความเร็วชัดเตอร์บนตัวกล้อง
- ทิ้งน้ำหนักตัวให้อยู่ระหว่างเท้าทั้งสอง โดยแยกเท้าให้ห่างกันเล็กน้อย เพื่อเป็นหลักอันมั่นคงในการทรงตัว
- แขนทั้งสองแขนแนบชิดลำตัว แต่ไม่เกร็งทั้งนี้เพื่อให้กล้องนิ่งมือไม่สั่น เพราะถ้ามือสั่นแล้วภาพที่ได้จะไหว
- ในบางกรณีอาจต้องการยืนพิงผนัง ต้นไม้ รั้ว เป็นต้น เพื่อให้ได้ภาพสวยงาม โดยเฉพาะในเวลาถ่ายรูปที่แสงไม่พอ จำเป็นต้องใช้ความเร็วชัดเตอร์ต่ำ ๆ ตั้งแต่ 1/30 ลงมา การจับถือกล้องให้นิ่งทำได้ลำบาก จำเป็นต้องใช้เทคนิคดังกล่าว และใช้สายลั่นไกแทนการกดที่ปุ่มลั่นไกก็ได้
- ในขณะกดชัดเตอร์ถ่ายรูปกลั้นหายใจไว้ชั่วครู่ จนกว่าการถ่ายรูปจะเสร็จสิ้นควรระลึกเสมอว่า ปุ่มกดชัดเตอร์จะทำงาน เมื่อถูกกดลงไปประมาณ 2 ใน 3 และถ้าต้องการให้กล้องนิ่งมั่นคงยิ่งขึ้นอาจใช้สายกล้องคล้องคอ แล้วพันที่มือขวาอีกครั้งหนึ่ง จะช่วยในการยึดกล้องได้ดีมาก
2. การเก็บรักษากล้องและอุปกรณ์ควรปฏิบัติดังนี้ คือ
- ใช้กล้องอย่างระมัดระวัง การปรับเปลี่ยนปุ่มความไวแสงและขนาดรูรับแสงต้องทำอย่างช้า ๆ เพราะกล้อง อาจชำรุดเสียหายถ้ากลไกต่าง ๆ ไม่เข้าที
- ปิดสวิทส์เครื่องวัดแสงทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน
- ไม่วาง หรือเก็บกล้องในที่สั่นสะเทือนเพราะอาจทำให้กล้องเสียหายบุบสลายหรือกลไกบางส่วนไม่ทำงานได้
- ห้ามใช้น้ำมันหยอดทุกส่วนของกล้อง มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่สามารถหยอดน้ำมันได้ ซึ่งควรถอดชิ้นนั้น ๆ มาหยอดน้ำมันข้างนอกแต่ถ้าหากไม่แน่ใจ ไม่ควรหยอดน้ำมันเอง
- เมื่อเลิกใช้งานต้องปรับวงแหวนความคมชัดของเลนส์ ไว้ที่ระยะไกลสุดขอบฟ้า ที่เรียกว่า ระยะอินพินิติ้ (Infinity)
- เมื่อเลิกใช้งานต้องปรับรูรับแสงให้มีขนาดโตเต็มที่เช่นเลนส์ที่มีความไว F 1.2 ต้องปรับไว้ที่ F1.2 ทั้งนี้เพื่อลดการทำงานของสปริงบังคับหน้ากล้อง
- มื่อเลิกใช้งานต้องตั้งความเร็วชัดเตอร์ไว้ที่ B (Brief หรือ Bulb) และไม่ควรขึ้นชัตเตอร์ เอาไว้เมื่อไม่ได้ใช้งาน
- ศึกษาคู่มือการใช้กล้องให้เข้าใจถ่องแท้
- ควรเก็บกล้องไว้ในซองหรือกระเป๋ากล้องเสมอ
- ไม่ควรเก็บกล้องไว้ในที่ ๆ ร้อนจัด เช่น ในรถยนตร์ หรือที่ชื้นเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดราขึ้นได้
- ควรมียากันชื้นหรือพวกซิลิกอนเจล ติดอยู่ภายในกระเป๋ากล้องเสมอ
- ไม่ควรเก็บกล้องรวมกับเสื้อผ้า เพราะความชื้นสูงอาจทำให้กล้องและเลนส์เกิดเชื้อราได้ง่าย
- ระมัดระวังอย่าให้ละอองน้ำ หรือน้ำทะเลสัมผัสกล้อง ควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำจืดที่สะอาด ๆ พอหมาด ๆ เช็ดตัวกล้องทันที และถ้าถูกเลนส์ต้องใช้ น้ำยาเช็ดเลนส์ และกระดาษเช็ดเลนส์ทำความสะอาดทันทีเช่นกัน
- การเก็บกล้องไว้นาน ๆ โดยไม่ได้ใช้ต้องนำออกตรวจสอบการทำงานอย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยปฏิบัติเหมือนการถ่ายรูปปกติ หรืออาจจะนำมา เพียงขึ้นชัดเคอร์ และกดลั่นไกเพื่อให้ระบบการทำงาน ได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเสมอ ๆ 2.15 ถ้ากล้องเกิดการชำรุดขัดข้องอย่าซ่อมด้วยตนเองถ้าท่านไม่รู้วิธีการซ่อมอย่างจริงจัง ควรจัดส่งให้ช่างผู้ชำนาญงานได้ ตรวจซ่อมให้ และโปรดระลึก เสมอว่าเสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย
» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย
» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย
» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป
» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป
» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว
» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป
» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์
» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม
» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR
» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง
» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง
» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ
» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ
» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี