ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ

ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม

เมื่อจะซื้อฟิล์มทุกครั้งควรพิจารณาสิ่งต่อไปนี้

  1. เลือกฟิล์มให้เหมาะสมกับกล้องที่ใช้
  2. ดูกำหหนดอายุของฟิล์ม ไม่ควรซื้อฟิล์มที่ใกล้หมดอายุ หรือหมดอายุแล้ว เพราะจะทำให้ฟิล์มเสื่อมคุณภาพ ปกติจะมีวันหมดอายุของฟิล์มกำกับไว้ ข้างกล่องใส่ฟิล์ม
  3. เลือกซื้อฟิล์มตามลักษณะของสีที่ต้องการ ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าฟิล์มสีควรเลือกให้เหมาะสมกับสภาพของแสงสว่างที่จะใช้ด้วย เช่นแสงกลางวัน (Day-light) หรือแสงประดิษฐ์มีอุณหภูมิสีของแสงเท่าใด
  4. เลือกความไวแสงของฟิล์มให้เหมาะสมกับงาน เช่น ถ้าถ่ายภาพที่มีแสงน้อยควรเลือกฟิล์มที่มีความไวแสงสูง และถ้าหากต้องถ่ายภาพในสภาพแสงมาก อาจต้องเลือกฟิล์มที่มีความไวแสงปานกลางหรือต่ำได้ ทั้งที่ต้องพิจารณาความละเอียด และความหยาบของเนื้อฟิล์มด้วย ถ้าความไวแสงยิ่งต่ำฟิล์มยิ่งมีเนื้อ (Grain) ละเอียดเหมาะที่จะนำไปขยายภาพใหญ่ได้โดยภาพไม่แตก ดังนั้นการตรวจดูความไวแสงของฟิล์มจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะมีตัวเลขบอก ปัจจุบันนี้หน่วยกำหนด ความไวแสงของฟิล์มมีอักษร ISO ซึ่งย่อมาจาก (International Standard Organization) ซึ่งถือว่าเป็นระบบที่ยอมรับกันทั่วโลกอาจจะมีหน่วย กำหนดความไวแสงอื่น ๆ เช่น ASA (American Standard Association) ของอเมริกา DIN (Deutsch Industrial Norm) ของเยอรมัน JIS (Japan Industry Standard) ของญี่ปุ่น แต่ระบบที่แต่ละบริษัทได้กำหนดขึ้นมา เช่น Scheiner, Weston, GE, Norwood H+D เป็นต้น
  5. เลือกจำนวนภาพที่ต้องการใช้ เช่นฟิล์ม 135 ใช้กับกล้อง SLR ใช้ได้กับฟิล์มที่มี 20, 24 และ 36 ภาพได้
  6. เลือกซื้อฟิล์มตามจุดประสงค์ เช่น ขาวดำ เนกาติฟสี ( ลงท้ายด้วย Color เช่น Koda Color Fuji Color) หรือฟิล์มเพื่อทำสไลด์ ( ลงท้ายด้วย Chrome เช่น Ekta Chrome Fuji Chrome) 7. เลือกซื้อฟิล์มจากร้านที่มีการเก็บรักษาอย่างดี เช่นร้านที่มีเครื่องทำความเย็นเพื่อรักษาคุณภาพของฟิล์ม มิใช่ซื้อจากร้านที่ตั้งฟิล์มโชว์ไว้ในตู้โชว์ที่มีแสงแดดจ้า ๆ ส่องตลอดเวลา และควรซื้อจากร้านที่เชื่อถือได้ว่านำของที่มีคุณภาพมาจำหน่าย

ในกรณี ที่ต้องการเก็บรักษาฟิล์มไว้เป็นเวลานานควรเก็บไว้ในที่เย็นแห้งปราศจาก กัมมันตภาพรังสี หรือไอของสารเคมีจำพวกกาศไข่เน่า ไอระเหยของแอมโมเนีย ไอเสียรถยนต์เป็นต้น ณหภูมิที่พอเหมาะในการเก็บรักษาฟิล์ม คือ 4-10 องศาเซนเซียส (40-50 องศาฟาเรนไฮต์ ) และความชื้นประมาณ 40-60 เปอร์เซนต์ ถ้าหากเราไม่สามารถควบคุมได้ตามที่กล่าวมาแล้วอาจจะเก็บไว้ในตู้เย็นก็ได้ เมื่อจะใช้ก็นำออกจากตู้เย็นทิ้งไว้สัก 20 นาที เพื่อให้ฟิล์มได้ปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิปกติ ก่อนนำไปใช้ มิฉนั้นเนื้อฟิล์มจะเกิดการขีดข่วน และคุณภาพของภาพที่ได้จะไม่ดี

» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย

» พยานอันซื่อสัตย์

» บทบาทของภาพถ่าย

» ภาพที่ควรบันทึกเป็นหลักฐาน

» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย

» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

» ชนิดของกล้องถ่ายรูป

» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป

» อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง

» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป

» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว

» การบรรจุฟิล์มเข้ากล้อง

» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป

» ชนิดของเลนส์

» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์

» ฟิล์ม (Film)

» โครงสร้างของฟิล์ม

» ชนิดของฟิล์ม

» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม

» ประเภทของแฟลช

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR

» การคำนวนหาแฟลชไกด์นัมเบอร์

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์

» เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแฟลช

» ฟิลเตอร์ (Filter)

» ทฤษฎีสีของแสง

» แสงสีและฟิลเตอร์

» ฟิลเตอร์หรือแว่นกรองแสง

» ชนิดของฟิลเตอร์

» วิธีระมัดระวังรักษาฟิลเตอร์

» ประเภทของชัตเตอร์

» ความเร็วของชัตเตอร์

» การปรับความเร็วชัตเตอร์

» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง

» การหาค่าของแสง

» เซลล์วัดแสงชนิดต่าง ๆ

» ประเภทของวิธีการวัดแสง

» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง

» การจัดองค์ประกอบภาพ

» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ

» หลักการวิจารณ์ภาพถ่าย

» การล้างฟิล์ม

» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ

» เทคนิคการทำภาพ

» เทคนิคการทำโฟโต้สเก๊ตชิ่ง

» การสำเนาภาพ

» วิธีใช้แท่นถ่ายสำเนา

» การนำภาพออกแสดง

» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี

» วิธีการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่คมชัด

» หลักในการถ่ายภาพกลางแจ้ง

» เสนอแนะงานถ่ายภาพ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย