ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ

แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้อง SLR

แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้อง SLR 35 มม . แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. แฟลชระบบธรรมดา ปกติจะมีขนาดเล็กราคาไม่แพงใช้พลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ขนาด 1.5 โวลท์ จำนวน 2 หรือ 4 ก้อนให้ความสว่างพอสมควรใช้ถ่ายภาพ ในระยะห่างมากไม่ค่อยได้ผลนัก ที่ตัวแฟลชจะมีตารางแนะนำขนาดของรูรับแสง โดยตั้งเทียบกับความไวแสงของฟิล์มและระยะห่างในการถ่ายภาพ แฟลชชนิดนี้เหมาะ ในการนำติดตัวไปใช้ในงานที่ไม่ต้องการกำลังไฟฟ้าสว่างมากนัก หรืออาจนำไปใช้เป็นแฟลชประกอบกับแฟลชตัวอื่นได้

2. แฟลชระบบอัตโนมัติ เป็นแฟลชที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน มีหลายชนิดหลายแบบให้เลือกตามต้องการ และตามลักษณะการใช้งานตั้งแต่ ระดับมือสมัครเล่นจนถึงมืออาชีพแฟลชชนิดนี้จะปรับกำลังความสว่างของแสงโดยอัตโนมัติ ให้พอดีกับระยะความห่างของแต่ละช่วง ระยะที่แฟลชกำหนดมาปกติจะ กำหนดมาประมาณ 3-4 ระยะ อาจใช้สีต่าง ๆ แทนช่วงระยะห่างของแต่ละช่วง แฟลชชนิดนี้ทำงานด้วยระบบที่เรียกว่า ไธริสเตอร์ (Thyristor) ซึ่งเป็นเซลล์ไวแสงทำหน้าที่อ่านปริมาณของแสงแฟลชที่ส่งออกไปกระทบกับวัตถุที่ถ่ายแล้ว สะท้อนกลับมายังเซลล์ไวแสง เมื่อปริมาณที่ส่องออกไปพอดี สวิทซ์ภายในระบบไธริสเตอร์ก็จะตัดกระแสไฟที่จ่ายไปยังไส้หลอดไฟแฟลชออกอย่างรวดเร็วโดยอัตโนมัติ จะทำให้ปริมาณแสงที่ส่องออกไปพอดีกับขนาดของรูรับแสง ที่กำหนดไว้และที่ตัวประจุไฟ (Capacitor) ในตัวแฟลชจะมีกำลังไฟสำรองไว้ตลอดเวลา สามารถให้แสงต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วและมากครั้งกว่าแฟลชระบบธรรมดา นอกจากนั้นแฟลชชนิดนี้ยังมีระบบการให้แสงแบบธรรมดาเหมือนแบบแรกได้ด้วย แฟลชชนิดนี้แบ่งตามขนาดได้ 3 ชนิด คือ

  • แฟลชขนาดเล็ก เป็นแฟลชที่มีลักษณะกระทัดรัด ใช้กับแบตเตอรี่ชนิด 1.5 โวลท์ 2 หรือ 4 ก้อน มีระบบอัตโนมัติที่ปรับความสว่างของแสง ให้สัมพันธ์กับขนาดรูรับแสงที่กำหนดได้ประมาณ 2 ระดับ มีไกด์นัมเบอร์เมื่อใช้ระบบธรรมดาระหว่าง 45-90 ต่อระยะเป็นฟุตกับฟิล์มที่มีความไวแสง 100 แฟลช ประเภทนี้ส่วนมากจะใช้เสียบกับฐานแฟลชบนกล้องได้เลยโดยไม่ต่อสายเพราะเป็นระบบปุ่มสัมผัสบนฐาน แฟลช (Hot Shoe) นอกจากนั้นอาจปรับหัวแฟลชให้ หันซ้าย - ขวา ก้มเงย เพื่อการสะท้อนแสงได้ด้วย
  • แฟลชขนาดกลาง เป็นแฟลชที่มีลักษณะการใช้งานกว้างขึ้น มีระบบอัตโนมัติปรับความสว่างของแสงให้สัมพันธ์กับขนาดรูรับแสงที่กำหนดได้ ประมาณ 2-4 ระดับบางรุ่นอาจได้ถึง 6 ระดับ ใช้กับแบตเตอรี่ชนิด 1.5 โวลท์ 4 ถึง 6 ก้อน มีไกด์นัมเบอร์เมื่อใช้ระบบธรรมดาระหว่าง 80 -135 ต่อระยะเป็นฟุตกับฟิล์ม ที่มีความไวแสง 100 นอกจากสามารถปรับ ซ้าย - ขวา ก้มเงย หัวแฟลชเพื่อการสะท้อนแสงและมีระบบปุ่มสัมผัสบนฐานแฟลช (Hot Shoe) แล้วยังมีสวิทซ์ที่ปรับเปลี่ยน การใช้กำลังไฟส่องสว่างได้หลายระดับอีกด้วย ซึ่งอาจบอกเป็นสัญญานไฟ ตัวเลขดิจิตอล หรือตารางการเปลี่ยนแปลง และยังสามารถปรับมุมสว่างของแสงให้กว้าง และแคบได้ แฟลชชนิดนี้บางรุ่นยังมีดวงไฟสำหรับให้แสงถึง 2 ดวงในตัวเดียวกัน คือ ดวงใหญ่ที่หัวแฟลช ดวงเล็กที่หน้าแฟลชเพื่อช่วยให้แสงลบเงาได้ภาพที่ดีขึ้น
  • แฟลชขนาดใหญ่มีด้ามจับ เป็นแฟลชที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากขึ้นมีด้ามจับต่อจากหัวแฟลช เพื่อใช้ยึดติดกับแขนรองรับร่วมกับตัวกล้อง หรืออาจจับ ด้ามถือแยกจากตัวกล้องได้ ความสว่างของแสงแรงกว่า 2 แบบแรก แฟลชประเภทนี้ รุ่นเก่ามีหม้อแบตเตอรี่แยกออกจากหัวแฟลช แต่ปัจจุบันนี้ได้ออกแบบให้อยู่ที่ตัวด้าม จับใช้แบตเตอรี่ขนาด 1.5 โวลท์ ประมาณ 4,6 หรือ 8 ก้อน มีระบบอัตโนมัติที่ปรับความสว่างของแสงให้สัมพันธ์กับขนาดรูรับแสงที่กำหนดได้ 2-6 ระดับมีไกด์นัมเบอร์ เมื่อใช้ระบบธรรมดาระหว่าง 100-190 ต่อระยะเป็นฟุตกับฟิล์มที่มีความไวแสง 100 มีวงจรประหยัดไฟให้แสงได้ต่อเนื่องรวดเร็วทันใจและมากครั้งขึ้น บางรุ่นมีที่ปรับมุมส่องสว่างให้กว้างหรือแคบได้ และปรับหัวแฟลชให้หันซ้าย - ขวา ก้มเงยได้ตามต้องการ และอาจมีอุปกรณ์ประกอบแฟลชมากยิ่งขึ้น

ได้กล่าวไว้ว่าชั้นที่ 2 เป็นชั้นของเยื่อไวแสงที่บันทึกภาพ ถ้าเป็นฟิล์มขาวดำ แต่ถ้าเป็นฟิล์มสีและฟิล์มสไลด์สีจะบันทึกสีต่าง ๆ สามสีด้วยกัน คือสีน้ำเงิน สีเขียวและสีแดงตามวัตถุสีที่ถ่ายนั้น อย่างไรก็ตามวัตถุที่ถ่ายอาจมีสีอื่น ๆ นอกจาก สามสีที่กล่าวมาแล้ว แต่สีต่าง ๆ นั้นก็เป็นการรวบรวมตัวของสีทั้ง 3 เช่น สีไชยัน (Cyan) หรือสีฟ้าก็เป็นการรวมตัวของสีน้ำเงินและสีเขียว สีม่วง หรือสีมาเยนต้า (Magenta) ก็เป็นการรวมตัวของสีน้ำเงินกับสีแดง สีเหลือง (Yellow) ก็เป็นการรวมตัวของสีเขียวและสีแดง ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นทฤษฎีสีของแสง

นอกจากแฟลชอิเล็กทรอนิกส์ระบบอัตโนมัติที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า แฟลชระบบดิดีเคท (Dedicate) นอกจากจะมีระบบเหมือนกับที่กล่าวมาแล้ว ยังมีระบบพิเศษที่ควบคุมการทำงานให้สัมพันธ์กับการทำงานของกล้อง แต่ละรุ่นที่มีระบบการทำงานร่วมกันได้ โดยเมื่อติดแฟลชแล้วกล้องจะปรับความเร็วชัตเตอร์ ให้สัมพันธ์กับไฟแฟลชเอง โดยอัตโนมัติและแสดงสัญญานไฟที่จอภาพหรืออาจมีเสียงสัญญานเตือนเมื่อแฟลชพร้อมที่จะใช้งาน นอกจากนั้นกล้องบางรุ่น ยังมีระบบวัดแสง แฟลชผ่านเลนส์ (Through the Len Auto Flash) ทำงานร่วมกับแฟลช โดยกล้องจะปรับรูรับแสงเอง หรือแฟลชจะปรับการส่องสว่างของแสงเอง โดยอัตโนมัติแฟลชแบบนี้ยังสามารถใช้กับกล้องที่ไม่ทำงานสัมพันธ์กับแฟลชได้อีกด้วย ดังนั้นแฟลชที่จำหน่ายในปัจจุบันจึงนิยมนำระบบ Dedicate เพื่อให้สัมพันธ์กับกล้องบางรุ่นด้วยแต่ก็ยังมีแฟลชที่ไม่สัมพันธ์ในระบบดังกล่าวกับกล้องรุ่นใดเลย หากแต่ใช้เป็นระบบอัตโนมัติและระบบธรรมดาเท่านั้น

» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย

» พยานอันซื่อสัตย์

» บทบาทของภาพถ่าย

» ภาพที่ควรบันทึกเป็นหลักฐาน

» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย

» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

» ชนิดของกล้องถ่ายรูป

» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป

» อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง

» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป

» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว

» การบรรจุฟิล์มเข้ากล้อง

» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป

» ชนิดของเลนส์

» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์

» ฟิล์ม (Film)

» โครงสร้างของฟิล์ม

» ชนิดของฟิล์ม

» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม

» ประเภทของแฟลช

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR

» การคำนวนหาแฟลชไกด์นัมเบอร์

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์

» เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแฟลช

» ฟิลเตอร์ (Filter)

» ทฤษฎีสีของแสง

» แสงสีและฟิลเตอร์

» ฟิลเตอร์หรือแว่นกรองแสง

» ชนิดของฟิลเตอร์

» วิธีระมัดระวังรักษาฟิลเตอร์

» ประเภทของชัตเตอร์

» ความเร็วของชัตเตอร์

» การปรับความเร็วชัตเตอร์

» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง

» การหาค่าของแสง

» เซลล์วัดแสงชนิดต่าง ๆ

» ประเภทของวิธีการวัดแสง

» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง

» การจัดองค์ประกอบภาพ

» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ

» หลักการวิจารณ์ภาพถ่าย

» การล้างฟิล์ม

» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ

» เทคนิคการทำภาพ

» เทคนิคการทำโฟโต้สเก๊ตชิ่ง

» การสำเนาภาพ

» วิธีใช้แท่นถ่ายสำเนา

» การนำภาพออกแสดง

» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี

» วิธีการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่คมชัด

» หลักในการถ่ายภาพกลางแจ้ง

» เสนอแนะงานถ่ายภาพ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย