ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ
ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง
ดังได้กล่าวมาแล้วว่าชัตเตอร์เป็นกลไกในการควบคุมเวลา
เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุและหน้ากล้อง หรือเอฟ-สต๊อป (F-Stop)
ควบคุมความชัดลึกชัดตื้น ดังนั้นในการถ่ายภาพต้องพิจารณา 2
อย่างนี้ประกอบกันดูว่าเราต้องการควบคุมอะไร
ถ้าต้องการควบคุมเวลาต้องตั้งความไวชัตเตอร์เอาไว้ และให้ขนาดของรูรับแสงเป็นตัวแปร
เปลี่ยนไปตามเครื่องวัดแสง สมมุติว่าเราเลือกตั้งความเร็วชัตเตอร์ 1/125
วินาทีและเครื่องวัดแสงบอกขนาดรูรับแสง 8 ในสภาพแสงนั้น ๆ นั่นหมายความว่า
ถ้าเราถ่ายภาพด้วยความไวชัตเตอร์ 1/125 วินาทีขนาดรูรับแสง 8
เราก็จะได้ภาพที่ออกมามีความตัดกันของสีดำและสีขาวและสภาพแสงที่เรียกว่า พอดี
(Normal Exposure)
แต่ถ้าหากเราเปลี่ยนให้แสงเข้ามากอาจจะเปลี่ยนความเร็วชัตเตอร์ให้ช้าลงหรือเปิดรูรับแสงให้กว้างขึ้นภาพที่ได้ย่อมมีแสงเข้ามากเรียกว่าแสงมาก
(Over Exposure)
จะทำให้ฟิล์มมีความหนาขึ้นและในทางตรงกันข้ามถ้าให้แสงเข้าน้อยเรียกว่า แสงเข้าน้อย
(Under Exposure) ดังนั้นการถ่ายภาพต้องให้ปริมาณของแสงพอดีไปทำปฏิกิริยากับฟิล์ม
จึงจะได้ความหนา-บาง ของฟิล์มที่พอดีอัดขยายภาพได้ง่าย และภาพที่ได้สวยงาม
ภาพต้นฉบับ
ภาพที่มีแสงเข้ามาก
ภาพที่มีแสงเข้าน้อย
อย่างไรก็ตามในการจับคู่สัมพันธ์กันระหว่างชัตเตอร์กับ เอฟ-สต๊อป
สามารถสร้างเป็นรูปสามเหลี่ยมสองรูปดังนี้ คือ
สมมุติว่าหลังจากวัดแสงแล้วได้ค่าความไวชัตเตอร์ 1/500 วินาที ขนาดรูรับแสง
f-2 แต่เราสามารถเลือกคู่อื่น ๆ ได้ เช่น f 5.6 กับ 1/60 วินาทีหรือ f11 กับ 1/15
วินาที ภาพที่ได้จะมีความพอดีเท่า ๆกับใช้ f 2 กับ 1/500 วินาที
หรือถ้าวัดแสงได้ค่า f 2 กับ 1/30 วินาที ก็สามารถเลือกคู่อื่น ๆ
ได้ตามตารางข้างล่างเช่นกัน
นอกจากการทำตารางรูปสามเหลี่ยมสองรูป
เพื่อช่วยการคิดจับคู่สัมพันธ์แล้วอาจสร้างเป็นวงกลมได้ โดยตัดวงกลมเป็น 2 วง
ซ้อนกัน มีแกนกลางยึดติดกันและสามารถหมุนได้
เมื่อวัดแสงได้ค่าของความเร็วชัตเตอร์และค่าเอฟ-สต๊อปก็หมุนให้ค่าทั้งสองตรงกันคู่อื่น
ๆ ที่สัมพันธ์กันก็จะตรงกันด้วย
จะเห็นได้ว่าชัตเตอร์ทำหน้าที่ควบคุมเวลาในการให้แสงผ่านไปทำปฏิกิริยากับฟิล์ม
ส่วนหน้ากล้องทำหน้าที่กำหนดขนาดของรูเพื่อให้แสงผ่านเข้าไป
สามารถเปรียบเทียบหน้ากล้องได้กับก๊อกน้ำ สมมุติว่า
เปิดน้ำให้ไหลออกมาเต็มขนาดความกว้างของก๊อกน้ำ ได้น้ำเต็มแก้วใช้เวลา 2 วินาที
แต่ถ้าหากน้ำไหลออกมาเพียงครึ่งหนึ่งของความกว้าง ของขนาดก๊อกน้ำใช้เวลา 2
วินาทีเช่นกันจะได้น้ำเพียงครึ่งแก้วเท่านั้น ขนาดของรูรับแสงที่กำหนดเป็นเอฟ-สต๊อป
ก็เช่นเดียวกันกับขนาดความกว้างของก๊อกน้ำ หรือปริมาณของน้ำที่ไหลออกมานั่นเอง
ตัวเลขเอฟ-สต๊อปที่มากขึ้นถัดกันไป จะมีขนาดของแสงลดลงไปเป็นครึ่งหนึ่งเสมอ เช่น
เอฟสต๊อป 8 จะมีแสงเข้าไปเพียงครึ่งหนึ่งของเอฟสต๊อป 5.6 เป็นต้น ดังแสดงไว้ในภาพ
ถ้าการไหลของน้ำจากก๊อกที่มีขนาดการไหลมากน้อยต่างกันเป็นครึ่งหนึ่งหรือเท่าตัว
แต่เวลาต่างกันเป็นครึ่งหนึ่งหรือเท่าตัว
จะได้ปริมาณของน้ำเท่ากันดังในภาพและลักษณะการทำงานของน้ำ
ดังตัวอย่างที่กล่าวมาก็เช่นเดียวกันกับเรื่องของแสงนั่นเอง
» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย
» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย
» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป
» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป
» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว
» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป
» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์
» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม
» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR
» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง
» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง
» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ
» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ
» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี