ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ

ฟิลเตอร์หรือแว่นกรองแสง

ในขณะเดียวกันฟิลเตอร์สีเหลืองจะยอมให้สีเหลืองผ่าน ซึ่งในสีเหลืองนั้นมีอยู่สองสี คือ สีแดงและสีเขียว ดังนั้นจะดูดกลืนสีน้ำเงินเอาไว้ ฟิลเตอร์สีม่วง (สีแดง + น้ำเงิน) ยอมให้สีม่วงผ่าน แต่จะดูดกลืนสีเขียว และฟิลเตอร์สีฟ้า (สีเขียว + สีน้ำเงิน) ยอมให้สีฟ้าผ่านและดูดกลืนสีแดงเอาไว้ ฟิลเตอร์สีเหลือง สีม่วง และสีฟ้า เรียกว่า ฟิลเตอร์อันดับรอง (Secondary Filters)

ดังนั้น พอจะสังเกต ได้ว่าฟิลเตอร์จะยอมให้แสงสีที่เหมือนกันกับสีของฟิลเตอร์ผ่านและจะดูดกลืนสีอื่น ๆ นอกจากสีของเองเอาไว้ ที่น่าจะทำความเข้าใจเรื่องแสงซึ่งมีความสำคัญเช่นเดียวกัน แสงคือส่วนหนึ่งของรังสีพลังงานเคลื่อนที่เกิดจากแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นความร้อน คลื่นแสง คลื่นเอ๊กซเรย์และคลื่นแกรมม่า รังสีที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเดินทางในลักษณะเดียวกับคลื่นน้ำในสระ ปกติคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีการสั่นสะเทือนไปทุกทิศทุกทาง ระยะทางจากยอดของคลื่นหนึ่งไปยังยอดของอีกคลื่นหนึ่ง เรียกว่า ความยาวคลื่น (Wave Length) และเวลาที่ใช้ในการเกิดคลื่นที่สมบูรณ์ เรียกว่า ไซเกิ้ล (Cycle) หรือเฮิร์ท (Hertz) นั่นคือความสมบูรณ์ของคลื่นวัดจากยอดคลื่นหนึ่งถึงยอดคลื่นต่อไปนั่นเอง หรือวัดจากจุดต่ำสุดของคลื่นหนึ่งไปถึงจุดต่ำสุดของคลื่นต่อไปเรียกว่าความถี่ของคลื่นในการสั่นสะเทือน(Waris Freguency of Vibration)

ช่วงของความยาว และความถี่ของคลื่นในคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะไม่เหมือนกัน เช่น คลื่นวิทยุบางชนิดจะมีความยาวคลื่นที่สามารถวัดได้เป็นร้อยเป็นพันฟุตและมีความถี่ต่ำมากถึงหลายพันไซเกิ้ลต่อวินาที ความถี่คลื่นวิทยุ AM อยู่ระหว่าง 550,000 ไซเกิล หรือ เฮิร์ท (Hertz) หรือ (550 Kilo-Hertz) ถึง 1600 Kilo Hertz (Gustar Hertz เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันที่ค้นพบเครื่องมือวัดคลื่น) ส่วนความถี่ของคลื่นวิทยุ FM และคลื่นโทรทัศน์วัดได้เป็นหลายล้านเฮิร์ท ซึ่งจะตอบสนองความยาวของคลื่นเริ่มจาก 2-3 ฟุต ถึง 2-3นิ้ว ส่วนช่วงความถี่ของโทรทัศน์ระบบ VHF และคลื่นวิทยุพิเศษบางอย่างมีช่วงความถี่สูง



การเปลี่ยนรูปจากคลื่นที่เราสามารถรับสัมผัสได้ เช่น ความร้อนไปเป็นแสง จะเกิดขึ้นได้ในช่วงความยาวคลื่นประมาณ 7,000 หน่วยอังสตรอม (Angstrom) (1 หน่วย Angstrom เท่ากับ 1 ร้อยล้านเซนติเมตร และมีหน่วยวัดความยาวคลื่นอีกชนิดหนึ่ง คือ มิลลิไมครอน (Millimicron) ซึ่งหนึ่งมิลลิไมครอนมีค่าเท่ากับ 10 หน่วย Angstrom หรือเท่ากับ 1 ล้านมิลลิเมตร หรือ Nanometer

คลื่นที่ยาวที่สุดที่คนเราสามารถเห็นได้อยู่ระหว่าง 6,500 อังสตรอม ถึง 7,000 อังสตรอม ซึ่งคนเรามองเห็นเป็นสีแดง ในขณะที่ความยาวคลื่นลดลงความถี่จะเพิ่มขึ้นเราจะเห็นเป็น สีส้ม เหลือง เขียว และน้ำเงิน จนถึงสีสุดท้าย คือ สีม่วงดำซึ่งมีความยาวคลื่นประมาณ 4,000 อังสตรอม ตาของคนเราไม่สามารถมองเห็นคลื่นหรือรังสีที่มีความถี่สูงมาก ๆ ได้ เช่น แสงของรังสีอุลตราไวโอเลท (Ultraviolet) ที่สามารถทำลายดวงตาเรา แต่เราก็มีความรู้สึกที่รวดเร็วต่อรังสีอุลตราไวโอเลทในทางอื่น เช่น

  • ทำให้ผิวหนังของคนเรามีสีน้ำตาล เมื่อกรำแดดมาก ๆ หรือทำให้ผมแดง ทำให้เสื้อผ้าตกสี เป็นต้น
  • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะมีความถี่สูงไปเรื่อย ๆ แต่วามยาวคลื่นจะสั้นลง เช่น คลื่นแสง X-Rays, Gammar Rays เป็นต้น

เราสามารถมองเห็นความถี่แคบ ๆ ของแสงในช่วงหนึ่งที่มีสีเป็นสีที่บริสุทธิ์ และเข้มข้น ถ้าหากช่วงความถี่นั้นกว้างจะทำให้สีจางลงไป เมื่อช่วงความถี่มีความเข้มข้นสูงจะมองเห็นสีขาว และถ้าหากความเข้มข้นต่ำจะมีสีเทา และถ้าต่ำมาก ๆ จนไม่มีพลังของแสงจะมองเห็นเป็นสีดำ

ดังนั้นแสงสีขาวก็คือ การรวมตัวของความยาวของคลื่นแสงสีต่าง ๆ ที่สามารถมองเห็นได้ และเป็นเหตุผลที่สำคัญของการถ่ายภาพทั้งหลาย ที่ต้องการจะประลองยุทธในการเลือกใช้ฟิลเตอร์ที่เหมาะสมของสี และตามความต้องการ ในความเป็นจริงวัตถุที่เรามองเห็นเป็นสีต่าง ๆ นั้น ทำหน้าที่ เช่นเดียวกับฟิลเตอร์คือ สามารถดูดกลืนบางส่วนของแสงสีขาว และขณะเดียวกันก็สะท้อนบางส่วนอีกด้วยส่วนที่สะท้อนนี่เอง เป็นส่วนที่เรามองเห็นและบอกเป็นสีต่าง ๆ ของวัตถุสิ่งของนั้น ๆ เช่น ลูกแอปเปิลได้ดูดกลืนคลื่นแสงของสีน้ำเงิน และสีเขียว แต่สะท้อนความถี่ของสีที่เหลือ คือ สีแดงเข้าสู่ตาของคนเรา วัตถุสีชมพูสะท้อนความถี่ของสีขาว แต่สีที่สะท้อนออกมาส่วนมากเป็นแสงสีแดง ที่มีส่วนผสมของสีขาวอยู่ด้วย วัตถุที่มีสีน้ำตาลแก่ดูดกลืนแสงของทุกสี ทำให้เป็นแสงสีเทาดำ แต่ดูดแสงที่เป็นแสงสีน้ำเงินมากกว่า ทำให้สีที่เหลือค้างอยู่ คือ สีส้มค่อนไปทางสีดำ เราจึงเห็นวัตถุนั้นมีสีน้ำตาล

อุณหภูมิของสีมีหน่วยวัดเป็นเคลวิน (Kelvin degrees or Kelvins) หน่วยเคลวินนี้ได้รับชื่อจากนักฟิสิกส์ผู้ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือวัด ซึ่งเป็นชาวอังกฤษ ชื่อ Lord William Thompson Kelvin และเขาได้ค้นพบอุณหภูมิของสีจากแสงต่าง ๆ

» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย

» พยานอันซื่อสัตย์

» บทบาทของภาพถ่าย

» ภาพที่ควรบันทึกเป็นหลักฐาน

» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย

» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

» ชนิดของกล้องถ่ายรูป

» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป

» อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง

» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป

» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว

» การบรรจุฟิล์มเข้ากล้อง

» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป

» ชนิดของเลนส์

» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์

» ฟิล์ม (Film)

» โครงสร้างของฟิล์ม

» ชนิดของฟิล์ม

» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม

» ประเภทของแฟลช

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR

» การคำนวนหาแฟลชไกด์นัมเบอร์

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์

» เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแฟลช

» ฟิลเตอร์ (Filter)

» ทฤษฎีสีของแสง

» แสงสีและฟิลเตอร์

» ฟิลเตอร์หรือแว่นกรองแสง

» ชนิดของฟิลเตอร์

» วิธีระมัดระวังรักษาฟิลเตอร์

» ประเภทของชัตเตอร์

» ความเร็วของชัตเตอร์

» การปรับความเร็วชัตเตอร์

» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง

» การหาค่าของแสง

» เซลล์วัดแสงชนิดต่าง ๆ

» ประเภทของวิธีการวัดแสง

» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง

» การจัดองค์ประกอบภาพ

» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ

» หลักการวิจารณ์ภาพถ่าย

» การล้างฟิล์ม

» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ

» เทคนิคการทำภาพ

» เทคนิคการทำโฟโต้สเก๊ตชิ่ง

» การสำเนาภาพ

» วิธีใช้แท่นถ่ายสำเนา

» การนำภาพออกแสดง

» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี

» วิธีการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่คมชัด

» หลักในการถ่ายภาพกลางแจ้ง

» เสนอแนะงานถ่ายภาพ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย