ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ

เซลล์วัดแสงชนิดต่าง ๆ

เซลล์ที่ทำหน้าที่ช่วยในการวัดแสง แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ คือ

  1. เซลล์แคดเมียมซัลไฟด์ (Cds) เมื่อถูกแสงจะมีสภาพเป็นตัวนำมากขึ้นหรือความต้านทานของแคดเซียมซัลไฟด์จะลดลง มีขนาดเล็กและไวแสงมากใช้ได้ดีกับสภาพแสงน้อย ๆ แต่ต้องใช้เวลาปรับสภาพนานเมื่อเปลี่ยนจากที่สว่างมากไปหาที่สว่างน้อยเมื่อมีสภาพเป็นตัวนำของแคดเมียมซัลไฟด์เกิดขึ้นกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรีก็จะไหลไปยังมิเตอร์ทำให้สามารถวัดค่าของแสงได้
  2. เซลล์ซีลีเนียม (Se) เมื่อแสงตกกระทบซีลีเนียม จะเกิดกระแสไฟฟ้าทันทีซึ่งเครื่องวัดแสงแบบนี้ไม่ต้องใข้แบตเตอรี่เลยอย่างไรก็ตามแบบนี้มีความไวแสงน้อยกว่าแคดเมียมซัลไฟด์
  3. เซลล์ซีลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) เป็นเซลล์ ที่มีความไวแสงมากกว่าเซลล์แคดเมียม และไม่มีความจำแสงค้างไว้ ทำให้ปรับได้เร็วทั้งจากที่สว่างไปที่มืด แต่ต้องระวังเมื่อใช้ฟิลเตอร์สีน้ำเงินกับกล้องที่มีเครื่องวัดแสงชนิดนี้เพราะจะทำให้ได้ค่าที่ไม่ถูกต้องพวกนี้ไม่ใช้แบตเตอรี่ในการทำงาน
  4. เซลล์แกลเลี่ยม เป็นเซลล์ที่มีความไวในการวัดแสงได้ดีมากและปรับสภาพได้เร็วเมื่อเปลี่ยนสภาพของแสง เช่นเดียวกับพวกซีลิกอน และแกลเลี่ยมราคาถูกกว่าซีลิกอนมากอย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการปรับปรุงให้มีคุณสมบัติเหนือกว่าซีลิกอนในขณะนี้

สำหรับตำแหน่งที่ตั้งของเซลล์วัดแสงในตัวกล้องนั้น ปกติจะตั้งไว้หลายตำแหน่งดังนี้

  1. ตำแหน่งเซลล์วัดแสงจากจอภาพโดยทั่วไปมีเซลล์สองตำแหน่งอยู่เหนือสองข้างของช่องมองภาพ แต่กล้องบางรุ่นอาจมีตำแหน่งเดียว ติดตั้งอยู่เหนือปริซึ่ม ซึ่งเป็นแบบธรรมดาที่ใช้ได้ผลดีโดยการวัดแสงผ่านจอภาพ ลักษณะนี้ส่วนมากใช้กับกล้องที่เปลี่ยนหัวปริซึ่มไม่ได้เพราะถ้าเป็นแบบถอดหัวปริซึ่มได้ ระบบวัดแสงก็จะถูกถอดไปด้วย
  2. ตำแหน่งเซลล์ในกระจกสะท้อนภาพกล้องที่ใช้การติดตั้งระบบวัดแสงไว้ในกระจกสะท้อนภาพส่วนมากเป็นพวกที่ถอดหัวปริซึมออกได้ และยังถอดกระจกสะท้อนภาพเปลี่ยนได้อีกด้วย ข้อเสียของแบบนี้ คือ กระจกจอภาพจะเสียความสว่างไป เมื่อวัดแสงด้วยการหรี่หน้ากล้อง จะเห็นลายของเซลล์วัดแสงอยู่ในจอภาพด้วย
  3. ตำแหน่งเซลล์อยู่ในช่องใต้กระจกสะท้อนภาพ กล้องบางรุ่นใช้เงินเคลือบกระจกสะท้อนภาพบางส่วนเพื่อทำให้แสงที่ผ่านเลนส์ไปยังกระจกสะท้อนภาพ ได้สะท้อนลงสู่เซลล์วัดแสงที่อยู่ข้างล่าง ลักษณะนี้เป็นระบบวัดแสงเฉพาะส่วนตรงกลางภาพ
  4. ตำแหน่งเซลล์อยู่หลังปริซึมแบบแยกส่วนเซลล์วัดแสงของระบบนี้จะติดตั้งให้อยู่ในตำแหน่งหลังปริซึม จึงสามารถถอดเปลี่ยนปริซึมส่วนบน และกระจกจอภาพได้โดยไม่เสียระบบการวัดแสง เช่นกล้อง Cannon F1
  5. ตำแหน่งเซลล์วัดแสงสะท้อนจากฟิล์ม ระบบนี้เป็นการวัดแสงที่ก้าวหน้าทันสมัยและแม่นยำที่สุดโดยเซลล์วัดแสงจากการสะท้อนจากแผ่นสะท้อนแสงพิเศษที่อยู่หน้าช่องภาพหรืออาจใช้แสงที่สะท้อนจากผิวหน้าฟิล์ม ในขณะรับแสงบันทึกภาพก็ได้ ผู้บุกเบิกระบบนี้ คือ กล้อง Olympus OM-2

» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย

» พยานอันซื่อสัตย์

» บทบาทของภาพถ่าย

» ภาพที่ควรบันทึกเป็นหลักฐาน

» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย

» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

» ชนิดของกล้องถ่ายรูป

» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป

» อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง

» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป

» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว

» การบรรจุฟิล์มเข้ากล้อง

» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป

» ชนิดของเลนส์

» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์

» ฟิล์ม (Film)

» โครงสร้างของฟิล์ม

» ชนิดของฟิล์ม

» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม

» ประเภทของแฟลช

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR

» การคำนวนหาแฟลชไกด์นัมเบอร์

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์

» เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแฟลช

» ฟิลเตอร์ (Filter)

» ทฤษฎีสีของแสง

» แสงสีและฟิลเตอร์

» ฟิลเตอร์หรือแว่นกรองแสง

» ชนิดของฟิลเตอร์

» วิธีระมัดระวังรักษาฟิลเตอร์

» ประเภทของชัตเตอร์

» ความเร็วของชัตเตอร์

» การปรับความเร็วชัตเตอร์

» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง

» การหาค่าของแสง

» เซลล์วัดแสงชนิดต่าง ๆ

» ประเภทของวิธีการวัดแสง

» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง

» การจัดองค์ประกอบภาพ

» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ

» หลักการวิจารณ์ภาพถ่าย

» การล้างฟิล์ม

» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ

» เทคนิคการทำภาพ

» เทคนิคการทำโฟโต้สเก๊ตชิ่ง

» การสำเนาภาพ

» วิธีใช้แท่นถ่ายสำเนา

» การนำภาพออกแสดง

» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี

» วิธีการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่คมชัด

» หลักในการถ่ายภาพกลางแจ้ง

» เสนอแนะงานถ่ายภาพ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย