ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ

การคำนวนหาแฟลชไกด์นัมเบอร์

แฟลชไกด์นัมเบอร์ (Flash Guide Number) หรือแฟลชแฟคเตอร์ (Flash Factor) คือ ตัวเลขนำของแฟลชที่แสดงถึงความสามารถของกำลังส่องสว่างของแฟลชนั้น ๆ และตัวเลขนำนี้มีประโยชน์ ในการใช้คำนวนหาการเปิดขนาดรูรับแสงที่พอดีซึ่งสัมพันธ์กับระยะทางจากไฟแฟลช ถึงวัตถุถ่ายภาพมีสูตรดังนี้

  • ไกด์นัมเบอร์ (GN) = ขนาดของรูรับแสง (F-Stop) x ระยะทาง ( ฟุตหรือเมตร ) (Distance) หรือ
  • ไกด์นัมเบอร์ (GN) ขนาดรูรับแสง (F-Stop) = ระยะทาง ( ฟุต , เมตร ) (Distance)

โดยปกติบริษัทผู้ผลิตไฟแฟลช จะเป็นผู้กำหนดไกด์นัมเบอร์บอกมาพร้อมกับตัวแฟลช ซึ่งอาจไม่ตรงตามที่บอกนัก ด้วยเหตุผลในการจำหน่าย ซึ่งไกด์นัมเบอร์ที่บอกมานั้นจะบอกว่าสัมพันธ์กับความไวแสงของฟิล์มชนิดใดด้วย เพื่อตรวจสอบให้เกิด ความมั่นใจในคุณภาพของแฟลชเราสามารถทดสอบหาไกด์นัมเบอร์ได้ดังนี้

บรรจุฟิล์มที่มีความไวแสงเท่ากับ ที่บริษัทบอกมาเช่น ISO 100 เสร็จแล้วกำหนดระยะห่างจากแฟลช ถึงวัตถุ ที่ถ่าย เช่น 10 ฟุต ถ่ายภาพโดยการตั้งรูรับแสงหลาย ๆ ขนาดเลือกดูภาพที่เห็นว่าแสงพอดีที่สุดเช่น ภาพที่ถ่ายด้วย รูรับแสง 8 ดังนั้น ไกด์นัมเบอร์ที่ถูกต้องของแฟลชที่ใช้ คือ

GN = F-Stop x Distance
GN = 8 x 10
= 80

เมื่อเราทราบไกด์นัมเบอร์ของแฟลชที่เราใช้อยู่ ความสะดวกสบายในการหาขนาดรูรับแสงก็จะมากขึ้นแน่นอนขึ้น เช่น แฟลชของเรามีไกด์นัมเบอร์ 80 ถ้าถ่ายภาพ ระยะห่างจากแฟลชถึงวัตถุ 20 ฟุต จะใช้ขนาดรูรับแสงเท่าใด เราก็ สามารถหาได้ตามสูตร คือ

GN
F-Stop= .
Distace
80
F-Stop=. 20
= 4

ดังนั้นขนาดของรูรับแสงที่ได้คือ 4 ก็เปิดหน้ากล้อง 4 แล้วดำเนินการถ่ายภาพได้อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงถึงฉากหลังด้วย ถ้ามืดเกินไป หรือไม่มีผนังสะท้อน ของแสงกลับมา ควรเปิดหน้ากล้องมากยิ่งขึ้นและในทางตรงกันข้ามฉากหลังสีขาว หรือสีอ่อนที่สามารถสะท้อนกลับคืนได้อาจจะเปิดหน้ากล้องให้แคบลงอีก

» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย

» พยานอันซื่อสัตย์

» บทบาทของภาพถ่าย

» ภาพที่ควรบันทึกเป็นหลักฐาน

» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย

» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

» ชนิดของกล้องถ่ายรูป

» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป

» อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง

» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป

» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว

» การบรรจุฟิล์มเข้ากล้อง

» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป

» ชนิดของเลนส์

» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์

» ฟิล์ม (Film)

» โครงสร้างของฟิล์ม

» ชนิดของฟิล์ม

» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม

» ประเภทของแฟลช

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR

» การคำนวนหาแฟลชไกด์นัมเบอร์

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์

» เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแฟลช

» ฟิลเตอร์ (Filter)

» ทฤษฎีสีของแสง

» แสงสีและฟิลเตอร์

» ฟิลเตอร์หรือแว่นกรองแสง

» ชนิดของฟิลเตอร์

» วิธีระมัดระวังรักษาฟิลเตอร์

» ประเภทของชัตเตอร์

» ความเร็วของชัตเตอร์

» การปรับความเร็วชัตเตอร์

» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง

» การหาค่าของแสง

» เซลล์วัดแสงชนิดต่าง ๆ

» ประเภทของวิธีการวัดแสง

» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง

» การจัดองค์ประกอบภาพ

» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ

» หลักการวิจารณ์ภาพถ่าย

» การล้างฟิล์ม

» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ

» เทคนิคการทำภาพ

» เทคนิคการทำโฟโต้สเก๊ตชิ่ง

» การสำเนาภาพ

» วิธีใช้แท่นถ่ายสำเนา

» การนำภาพออกแสดง

» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี

» วิธีการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่คมชัด

» หลักในการถ่ายภาพกลางแจ้ง

» เสนอแนะงานถ่ายภาพ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย