ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ

ชนิดของฟิลเตอร์

หากแบ่งชนิดของฟิลเตอร์ตามจุดมุ่งหมายที่ใช้ และสัมพันธ์กับฟิล์มแล้วแบ่ง ได้ ดังนี้

1. ฟิลเตอร์ที่ใช้ได้ทั้งกับฟิล์มสี และฟิล์มขาวดำ
2. ฟิลเตอร์ที่ใช้กับฟิล์มขาว-ดำ
3. ฟิลเตอร์ที่ใช้กับฟิล์มสี
4. ฟิลเตอร์เพื่อผลสร้างสรรค์

1. ฟิลเตอร์ที่ใช้ได้ทั้งฟิล์มสีและฟิล์มขาวดำ มีดังนี้ คือ

  1. ฟิลเตอร์ลดแสงหรือทอนแสง (Neutral Density Filters) มีเนื้อแก้วเป็นสีเทา ทีคุณสมบัติในการลดแสงสว่างที่จะผ่านเข้าเลนส์ไปยังฟิล์ม เนื่องจากไม่ทำให้สี และระดับความเข้มของสีในภาพเปลี่ยน แว่นนี้จึงเหมาะที่จะนำมาใช้ กับทั้งฟิล์มขาวดำและฟิล์มสี นอกจากนั้นสามารถดูดกลืนแสงอุลตราไวโอเลทได้โดยไม่ต้องใช้ฟิลเตอร์ ยูวีหรือ ฟิลเตอร์ตัดหมอกควัน ในขณะที่ใช้ฟิลเตอร์ชนิดนี้ การใช้ฟิลเตอร์ลดแสง (ND) นี้ต้องมีการเปิดรูรับแสงเพิ่ม ตามความเข้มของฟิลเตอร์ที่บอกออกมาเป็นตัวเลข (ดังตาราง)ที่นิยมใช้มีหมายเลข 0.30, 0.60 และ 0.90 การใช้ฟิลเตอร์ชนิดนี้ หลาย ๆ ตัว ซ้อนกันก็ย่อมทำได้เราสามารถใช้ฟิลเตอร์ชนิดนี้แทน ฟิลเตอร์โฟลาโรส์ได้เพราะมีค่าเท่ากับหมายเลข 0.40

  1. ตารางการเพิ่มรูรับแสงเมื่อใช้ฟิลเตอร์ลดแสง

  2. ฟิลเตอร์โฟลาไรส์ (Polarizing Filters) มีลักษณะเป็นกระจกสีเทาเข้มสองแผ่นซ้อนกัน มีคุณสมบัติในการดูดกลืนแสง ตัดเงาหรือแสงสะท้อนที่เป็นแสงโฟลาไรส์ออกไปได้ เมื่อหมุนปรับมุมของกระจกฟิลเตอร์ได้ถูกต้องทำให้ได้ภาพที่สวยงามและยังช่วยให้ภาพท้องฟ้ามีสีเข้มสดใสขึ้น

    แสงโฟลาไรส์ คือคลื่นแสงที่สะท้อนจากสิ่งที่มีผิวหน้าเรียบมัน เช่นกระจกผิวน้ำแต่ไม่ใช่โลหะที่มีลักษณะมันวาว ซึ่งคลื่นนี้เป็นคลื่นแสงทิศทางเดียวที่สะท้อนจากวัตถุดังกล่าว ในความเป็นจริงแล้ว แสงมีลักษณะเป็นเส้นตรง และมีคลื่นสั่นสะเทือน ขวางเป็นมุมฉากรอบทิศทาง แต่จะถูกดูดกลืนจากวัตถุเมื่อไปกระทบวัตถุให้เหลือเพียงทิศทางเดียว เรียกว่า แสงโฟลาไรส์ (Polarized Light) ฟิลเตอร์ชนิดนี้ส่วนมากมีหมายเลข ในการเปิดรูรับแสงเพิ่ม (Factor) เท่ากับ 2.5 นั่นหมายความว่า ต้องเปิดรูรับแสงเพิ่มให้อีก 1 1/3 เอฟสต๊อป

2. ฟิลเตอร์ที่ใช้กับฟิล์มขาวดำ

  • ฟิลเตอร์แก้ไข (Correction Filters) หรือเรียกว่าฟิลเตอร์แก้ค่าโทนสีให้ถูกต้อง ซึ่งจะแก้โทนสีที่ปรากฏในภาพเป็นสีขาว เทา และดำ ให้มีน้ำหนักอ่อน หรือให้ใกล้เคียงกับสีธรรมชาติตามที่สายตามองเห็นปกติ ฟิล์มขาวดำที่นิยมใช้ โดยเฉพาะฟิล์มแพนโครเมติก (Panchromatic) มีความไวต่อแสงอุลตราไวโอเลท และสีน้ำเงิน เมื่อถ่ายภาพใต้สภาพแสงอาทิตย์ที่มีแสงดังกล่าวอยู่ด้วย จะทำให้ฟิล์มบันทึกแสงสีม่วงของแสงอุลตราไวโอเลท และแสงสีน้ำเงินไว้มากกว่าปกติ ทำให้เนื้อฟิล์มมีความหนาเข้ม เวลาอัดขยายภาพส่วนนั้น ๆ จะมีความขาวทำให้ค่าของโทนสีผิดไปจากธรรมชาติ ดังนั้นสามารถแก้ไขได้โดยใช้ฟิลเตอร์สีเหลือง จะได้โทนสีเหมือนจริง

อย่างไรก็ตามฟิลเตอร์แต่ละชนิดมีแฟคเตอร์ และการเปิดรูรับแสงต่างกัน ในการถ่ายภาพ ขาว- ดำ

  • ฟิลเตอร์สีตัดกัน (Contrast Filters) หรือเรียกว่า ฟิลเตอร์เพิ่มค่าโทนสีให้ตัดกัน เป็นฟิลเตอร์ใช้เพื่อให้ภาพถ่าย มีสีตัดกันหรือแตกต่างกัน นั่นคือมีสีเข้มและสีอ่อน เพราะในบางครั้งเราต้องการผลภาพเป็นพิเศษ เช่น ถ้าต้องการภาพดอกไม้สีแดงในพุ่มไม้สีเขียว มีความเข้มแตกต่างกัน ควรใช้ฟิลเตอร์สีแดงจะได้ภาพดอกไม้มีสีสว่างขาวขึ้นตัดกับใบไม้จะมีสีเทาเข้ม หรือถ้าสวมฟิลเตอร์สีเขียวดอกไม้จะสีเทาเข้ม แต่ใบไม้จะมีสีสว่างขาวขึ้นถ้าไม่ใส่ฟิลเตอร์ ภาพที่ได้จะมีสีเทาสีเดียว ไม่สามารถแยกออกว่าตรงไหนเป็นดอกตรงไหนเป็นใบ ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ก็เช่นเดียวกัน ถ้าต้องการให้สีของท้องฟ้าเข้มเฆมมีสีขาวเด่น ๆ ควรใส่ฟิลเตอร์สีเหลือง จะทำให้สีท้องฟ้าเข้มขึ้น เฆมขาวเด่นขึ้นมาเป็นต้น ฟิลเตอร์ สีตัดกันที่ควรนำมาใช้กับฟิล์ม ขาว-ดำ มีดังนี้ คือ
    - ฟิลเตอร์สีเหลือง เหมาะสำหรับในการถ่ายภาพวิว ทิวทัศน์เพื่อบันทึกภาพให้เฆมเด่น สีน้ำทะเลเข้มขึ้น มีทั้งสีเหลืองอ่อนและเหลืองแก่
    - ฟิลเตอร์สีส้มเหมาะสำหรับถ่ายภาพระยะไกล ภาพภูเขาหรือถ่ายจากเครื่องบิน ช่วยตัดหมอก หรือไอน้ำ ในอากาศได้มากและช่วยเพิ่มสีตัดกันของวัตถุให้สูงขึ้นเหมาะแก่การถ่ายภาพเมฆให้พื้นท้องฟ้าสีน้ำเงินมีสีคล้ำมืด ถ้าใช้สีส้มร่วมกับฟิล์มอินฟาเรด (Infared) ช่วยให้ภาพวิวกลางแจ้ง เวลากลางวันเหมือนภาพกลางคืนเวลาเดือนหงายได้
    - ฟิลเตอร์สีเขียวเหลือง ใช้ถ่ายภาพสุภาพสตรีกลางแจ้งโดยทำให้แก้มกับริมฝีปากที่แดงระเรื่อมีสีคล้ำเข้มขึ้น ถ้าถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ ทำให้ท้องฟ้าสีน้ำเงินมีสีดำคล้ำ มองเห็นเฆมขาวเด่นยิ่งขึ้น เพิ่มสีตัดกันสูงขึ้น
    - ฟิลเตอร์สีเขียว เหมาะสำหรับถ่ายภาพบุคคลกลางแจ้ง และภาพทวนแสงดวงอาทิตย์ ทำให้ภาพดูเป็นธรรมชาติยิ่งขึ้น
    - ฟิลเตอร์สีแดง เหมาะสำหรับใช้กับฟิล์มแพนโครเมติคและฟิล์มอินฟาเรดเท่านั้น ใช้กับฟิล์มออร์โธโครเมติดไม่ได้ใช้กับการถ่ายภาพวิวไกล ๆ ถ่ายจากเครื่องบินสูง ๆ ถ่ายภาพสิ่งก่อสร้างให้มีสีกระจ่างขึ้น ภาพตัวหนังสือและลวดลายของเนื้อไม้และยังเหมาะในการถ่ายภาพโลหะที่เป็นมันวาวด้วย
    - ฟิลเตอร์สีน้ำเงินใช้กับฟิล์มขาวดำ จะเปลี่ยนเยื่อไวแสงให้ฟิล์มบอดสี เหมาะสำหรับก๊อบภาพด้วยแสงไฟฟ้า เพื่อแยกสีเหลืองกับสีแดงออกจากกันถ้าถ่ายภาพด้วยแสงแดดจะมองเห็นหมอกหรือไอน้ำในอากาศ ปรากฏในการถ่ายภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม พอสรุปผลของการเพิ่มค่าโทนสีตัดกันของฟิลเตอร์ที่มีต่อฟิล์มแพนโครเมติค ดังนี้

3. ฟิลเตอร์ที่ใช้กับฟิล์มสี มีดังนี้ คือ

  • ฟิลเตอร์สำหรับแก้สีฟิล์มให้ถูกต้อง (Conversion Filters) โดยทั่วไปฟิล์มสีมีความสมดุลย์กับอุณหภูมิสีของแสงเฉพาะของฟิล์มแต่ละชนิด เช่นสมดุลย์กับแสงแดดที่มีอุณหภูมิประมาณ 5500 องศาเคลวิน เรียกว่า ฟิล์มถ่ายกลางวัน (Daylight Film) สมดุลย์กับแสงประดิษฐ์ เช่น หลอดไฟฟลัดของมืออาชีพที่ถ่ายตามร้านถ่ายภาพมีอุณหภูมิ 3200 องศาเคลวิน เรียกว่า ฟิล์มทังสเตน(Tungsten Type A) และไฟฟลัดของมือสมัครเล่นมีอุณหภูมิ 3400 องศาเดลวินเรียกว่าฟิล์มทังสเตน (Tungsten Type B) เป็นต้น การใช้ฟิล์มต้องคำนึงถึงอุณหภูมิสีของแสงดังกล่าวถ้าไม่สมดุลย์กันจะเกิดการผิดเพี้ยนของสี ดังนั้นจึงมีฟิลเตอร์ หรือแว่นกรองแสงเข้าช่วยแก้สีฟิล์มให้ถูกต้องกับแสงดังกล่าวแล้ว ฟิลเตอร์ชนิดนี้มีทั้งหมดประมาณ 18 ชุด หมายเลข 80 (ฟ้าแก่) และ 85 (ส้มแก่)สำหรับแก้ความผิดของอุณหภูมิมาก ๆ และชุดหมายเลข 82 (ฟ้าอ่อน) กับ 81 (เหลืองจาง) สำหรับแก้ความผิดของอุณหภูมิน้อย ๆ แต่โดยปกติที่นิยมใช้มาก คือ หมายเลข 85 บี และ 80 เอ เท่านั้น
  • ฟิลเตอร์ชดเชยสี (Color Compensating Filters) หรือเรียก CC ใช้ เพื่อเพิ่มสีของภาพให้ถูกต้อง ใช้มากสำหรับการอัดรูปสีในการถ่ายภาพก็นำมาใช้เพื่อแก้สีของแหล่งแสงให้ถูกต้อง เช่น แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นต้น ฟิลเตอร์ชนิดนี้จะบอกเป็นสัญลักษณ์และตัวเลข เช่น CC 20R หมายถึงฟิลเตอร์ชดเชยสี (Color Compensating) มีความหนาแน่นร้อยละ 30 นั่นคือสามารถกั้นแสงอื่น ๆ ได้ ในที่มีฟิลเตอร์สีแดง (Red) จะกั้นแสงสีน้ำเงินและเขียวได้ร้อยละ 30 ฟิลเตอร์ชดเชยสีนั้นมีคุณสมบัติในการกั้นสีอื่น ๆ นอกเหนือจากสีของฟิลเตอร์เอง ไม่ว่าจะเป็นสีแบบสีพื้นฐาน (Primary Color) หรือสีรอง(Secondary Color) ก็ตาม อย่างไรก็ตามสามารถจัดจำได้ง่าย ๆ ดังนี้ คือ

ฟิลเตอร์สีแดง กั้น สีน้ำเงินและสีเขียว
ฟิลเตอร์สีน้ำเงิน กั้น สีแดงและสีเขียว
ฟิลเตอร์สีเขียว กั้น สีแดงและสีน้ำเงิน
ฟิลเตอร์สีฟ้า กั้น สีแดง
ฟิลเตอร์สีม่วง กั้น สีเขียว
และฟิลเตอร์เหลือง กั้น สีน้ำเงิน

การใช้ฟิลเตอร์ชนิดแก้สี และแสงสำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ แสดงได้ดัง ตารางข้างล่างนี้

สรุปตารางการใช้ฟิลเตอร์ในการถ่ายภาพสี

4. พิลเตอร์เพื่อการถ่ายภาพสร้างสรรค์ตามจุดมุ่งหมาย (Creative Effects)

ใช้ฟิลเตอร์ชนิดนี้เพื่อให้ได้ภาพที่มีผลพิเศษ มีบรรยากาศที่เหมาะสมปรุงแต่งให้ภาพมีความสวยงามแปลกตาไปจากธรรมชาติ หรือบิดเบือนความจริงได้ที่นิยมใช้มีดังนี้ คือ

  • ฟิลเตอร์ตัดแสงท้องฟ้า (Skylight Filters) เป็นฟิลเตอร์ชนิดแรกที่ผู้เริ่มถ่ายภาพรู้จัก และน่าจะมีไว้ เพื่อครอบหน้าเลนส์ป้องกันฝุ่นละอองหรือการเปรอะเปื้อนต่าง ๆ และยังป้องกันไม่ให้เกิดการขีดข่วนที่ผิวหน้าเลนส์ได้ ในความเป็นจริงแล้วฟิลเตอร์ตัดแสงท้องฟ้านี้สามารถใช้กับฟิล์มสีและขาวดำได้และยังตัดหมอกแดดลดแสงน้ำเงินในอากาศได้ทำให้ภาพสีอุ่นขึ้น ได้ภาพที่สดใสสวยงามเป็นธรรมชาติ ฟิลเตอร์ชนิดนี้มีความเข้มของสีซึ่งเป็นสีชมพูอ่อน เบอร์ 1A และ 1B ให้เลือกใช้ตามต้องการ
  • ฟิลเตอร์ตัดรังสีเหนือม่วง (UV Filters) ใช้ตัดรังสีเหนือม่วง(Ultraviolet) ซึ่งมีการทำงานคล้ายกับฟิลเตอร์ตัดแสงท้องฟ้า ดังนั้นจึงนิยมใช้ครอบหน้าเลนส์เพื่อป้องกันเลนส์เช่นเดียวกัน สามารถใช้กับฟิล์มสี และขาวดำได้เมื่อใช้ฟิลเตอร์ชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนรูรับแสงเพิ่มขึ้นแต่อย่างไร
  • ฟิลเตอร์ตัดหมอกควัน (Haze Filters) เป็นฟิลเตอร์ที่ใช้ตัดหมอกควันในอากาศใช้ถ่ายรูปทิวทัศน์ ซึ่งทำให้วัตถุที่อยู่ไกล ๆ มองเห็นได้ชัดเจน
  • ฟิลเตอร์สีเน้นภาพ(Color Circle,Color Spot Filters) เป็นฟิลเตอร์หลายสีเจาะช่องกลมไว้ตรงกลาง ช่วยให้บริเวณขอบข้างของภาพเป็นสีตามต้องการส่วนตรงกลางจะเป็นสีธรรมชาติลอยเด่นขึ้นเป็นวิธีการเน้นภาพ โดยมีสิ่งแวดล้อมที่มีสีสันตามต้องการ
  • ฟิลเตอร์เพิ่มระยะ เป็นฟิลเตอร์ที่ช่วยเพิ่มให้ภาพมีความคมชัด ตลอดระยะจากใกล้สุด กลาง ไปจนถึงไกลสุด
  • ฟิลเตอร์ถ่ายใกล้ (Close - Up Filters) เป็นฟิลเตอร์ที่ใช้สวมหน้าเลนส์เพื่อใช้ถ่ายภาพได้ใกล้กว่าระยะของเลนส์ธรรมดา ฟิลเตอร์ชนิดนี้จะมีเบอร์บอกความสามารถในการขยายหรือระยะการถ่ายภาพให้ใกล้ได้ตามลำดับบางทีอาจเรียกว่าเลนส์ถ่ายใกล้
  • ฟิลเตอร์กรอบภาพ (Mask, Iris) มีลักษณะเป็นแผ่นดำเจาะช่องเป็นรูปต่าง ๆ อยู่ตรงกลางใช้ประโยชน์ 2 ประการ คือ ประการแรกใช้ถ่ายภาพลอดช่อง เพื่อให้กรอบภาพเกิดเป็นรูปที่เจาะไว้บนแผ่นดำนั้น ประการที่สองใช้เป็นภาพฉากหลังโดยให้เป็นลวดลายมัวพร่าอยู่นอกระยะชัด จะได้ภาพสวยงามตามต้องการ
  • ฟิลเตอร์หลายหน้า (Multi Image, Vari Image) มีลักษณะแตกต่างกันเช่นแบบ 3 ตอนได้ภาพที่เรียงติดต่อกันใน 3 ภาพ แบบ 3 ส่วนจากจุดศูนย์กลางเพื่อให้ได้ภาพเรียงซ้อนเป็น 3 หน้า แบบ 5 หน้าช่วยให้ได้ภาพ 5 หน้ามีภาพเด่นอยู่กลางและมีภาพซ้อนล้อมรอบอีก 4 ภาพ แบบ 6 หน้าช่วยให้ได้ภาพเด่นอยู่ตรงกลาง และมีภาพเรียงซ้อนล้อมรอบอีก 5 ภาพ แบบลายซ้อนช่วยให้ได้ภาพนำเด่นอยู่หน้า โดยมีภาพเรียงเป็นลายซ้อนตามหลังติดต่อกันหลาย ๆ ภาพ เป็นต้น
  • ฟิลเตอร์แสงฟุ้ง (Duto) ช่วยให้ภาพฟุ้งพร่านุ่มนวลเป็นจินตนาการ และยังช่วยลดความกระด้าง และสีตัดกันในภาพให้น้อยลง
  • ฟิลเตอร์แบบชัดกลาง (Soft Spot) หรือ (Vignetting) ช่วยเน้นภาพให้ชัดเฉพาะจุดกลาง แต่จะทำให้บริเวณข้างเกิดความพร่ามัวคล้ายภาพลอยอยู่ในอากาศ
  • ฟิลเตอร์แสงพร่า (Diffuser) เป็นฟิลเตอร์ที่ช่วยให้แสงในภาพเกิดความพร่ากระจายโดยเฉพาะแสงสีขาว นอกจากนั้นยังช่วยลดความคมชัดของภาพให้ลดน้อยลงได้
  • ฟิลเตอร์ประกายรุ้ง (Diffraction Gratings) เป็นฟิลเตอร์ที่มีช่องและเส้นสลับกันบนผิวหน้า ซึ่งจะช่วยทำหน้าที่เหมือนปริซึม คือ กระจายแสงสีขาวออกเป็นแถบแสงสีเหมือนสีของสีรุ้ง ส่วนช่องทำหน้าที่เป็นช่องทางให้แสงเกิดการเลี้ยวเบน และสอดแทรกกันอย่างสวยงาม ภาพแปลกตาขึ้น
  • ฟิลเตอร์ละอองหมอก (Fog) ช่วยให้ภาพมีสีอ่อนนุ่มนวล คล้าย มีละอองหมอกหรือควัน และยังช่วยลดระดับสีตัดกันในภาพให้ดี
  • ฟิลเตอร์สีครึ่งซีก หรือแยก (Split Field Filters) ใช้เพิ่มสีในภาพเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งที่จางหายไป หรือเพิ่มสีท้องฟ้า เขตระหว่างสีที่ต่างกันของฟิลเตอร์จะเลือนลางถ้าหากใช้เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสมาก และเปิดรูรับแสงให้มากจะมองไม่เห็นรอยต่อของสี
  • ฟิลเตอร์ดาวกระจาย (Starburst) เป็นฟิลเตอร์ที่ประกอบขึ้นด้วยโลหะ สานเป็นตาข่ายละเอียดกระจายแสงจากจุดตั้งแสงให้เป็น 4 แฉก (Cross Screen)เป็น 6 แฉกแบบประกายหิมะ (Snow Cross) และเป็น 8 แฉกแบบประกายแดด (Sunny Cross) เป็นต้น

นอกจากนั้นยังมีฟิลเตอร์สร้างสรรค์อีกมากมายที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน

» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย

» พยานอันซื่อสัตย์

» บทบาทของภาพถ่าย

» ภาพที่ควรบันทึกเป็นหลักฐาน

» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย

» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

» ชนิดของกล้องถ่ายรูป

» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป

» อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง

» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป

» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว

» การบรรจุฟิล์มเข้ากล้อง

» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป

» ชนิดของเลนส์

» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์

» ฟิล์ม (Film)

» โครงสร้างของฟิล์ม

» ชนิดของฟิล์ม

» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม

» ประเภทของแฟลช

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR

» การคำนวนหาแฟลชไกด์นัมเบอร์

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์

» เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแฟลช

» ฟิลเตอร์ (Filter)

» ทฤษฎีสีของแสง

» แสงสีและฟิลเตอร์

» ฟิลเตอร์หรือแว่นกรองแสง

» ชนิดของฟิลเตอร์

» วิธีระมัดระวังรักษาฟิลเตอร์

» ประเภทของชัตเตอร์

» ความเร็วของชัตเตอร์

» การปรับความเร็วชัตเตอร์

» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง

» การหาค่าของแสง

» เซลล์วัดแสงชนิดต่าง ๆ

» ประเภทของวิธีการวัดแสง

» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง

» การจัดองค์ประกอบภาพ

» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ

» หลักการวิจารณ์ภาพถ่าย

» การล้างฟิล์ม

» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ

» เทคนิคการทำภาพ

» เทคนิคการทำโฟโต้สเก๊ตชิ่ง

» การสำเนาภาพ

» วิธีใช้แท่นถ่ายสำเนา

» การนำภาพออกแสดง

» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี

» วิธีการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่คมชัด

» หลักในการถ่ายภาพกลางแจ้ง

» เสนอแนะงานถ่ายภาพ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย