ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ
ประเภทของวิธีการวัดแสง
วิธีการวัดแสงสามารถกระทำได้ 2 วิธี คือ
1. การวัดแสงสะท้อน (Reflected metering)
2. การวัดแสงตรง (Incident
metering)
1. การวัดแสงสะท้อน (Reflected metering)
เป็นการวัดแสงที่สะท้อนออกจากวัตถุที่ต้องการถ่ายภาพ ซึ่งมีวิธีการวัดอยู่ 3 แบบ
คือ
- แบบวัดเฉพาะส่วนตรงกลาง (Center Spot)
แบบนี้จะวัดแสงเฉพาะในเนื้อที่เล็ก ๆ ตามต้องการ และจะวัดได้ถูกต้องแม่นยำมาก
แต่ถ้าหากไม่เข้าใจวิธีการวัด หรือไม่ชำนาญ อาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย
เครื่องวัดแสงเฉพาะอาจจะวัดเพียง 1 หรือ 2 องศา เรียกว่าเครื่องวัดแสงเฉพาะจุด
(Spot Reading) ช่วยให้งานการถ่ายภาพมีความสะดวกสบายขึ้นมาก
- แบบเฉลี่ยแสงทั่วทั้งภาพ (Full Area Averaging)
แบบนี้จะวัดทุกจุดในภาพ ซึ่งแต่ละจุดจะสะท้อนแสงไม่เท่ากันเช่นจุดที่สว่างมาก
ส่วนจุดที่ดำมืดจะสะท้อนแสงออกมาได้น้อย
แต่เครื่องวัดแสงชนิดนี้จะเฉลี่ยปริมาณแสงทั่วทั้งบริเวณ
แล้วบอกปริมาณที่เฉลี่ยได้เพื่อนำไปใช้ในการตั้งความเร็วชัตเตอร์
และหน้ากล้องต่อไป บางครั้งการวัดแสงเฉลี่ยนี้จะเกิดข้อผิดพลาดได้
โดยเฉพาะการถ่ายภาพที่มีฉากหลังสว่างมาก ๆ หรือภาพคนหรือวัตถุที่อยู่ในร่ม
แต่มีฉากหลังที่สว่างไสวกว่าภาพวัตถุ หรือคนอาจจะมืดในขณะที่ฉากหลังสว่างพอดี
ดังนั้นบางครั้งจึงต้องวัดแสงเฉพาะจุดที่เราต้องการให้แสงพอดีโดยการเข้าไปวัดใกล้
ๆ เฉพาะส่วนที่ต้องการ เท่านั้น
- แบบเฉลี่ยแสงส่วนกลางภาพ (Center Wighted) แบบนี้จะวัดแสง โดยการผสมกันระหว่างวิธีการวัดเฉพาะส่วนกับวิธีเฉลี่ยแสงทั่วทั้งภาพเข้าด้วยกันซึ่งค่อนข้างมีความแม่นยำสูง ถูกต้องมาก วิธีนี้ใช้กับกล้องรุ่นใหม่ ๆ แบบนี้อาจมีความผิดพลาดเกิดขึ้นเมื่อต้องการวัดแสงบางส่วนโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม การวัดแสงสะท้อนนี้อาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่ายเพราะวัตถุมีผิวต่างกันก็สะท้อนต่างกันได้ ดังนั้นจึงมีแผ่นกระดาษสีเทา 18 เปอร์เซนต์ (Gray Card) เพื่อช่วยการวัดแสงที่แม่นยำ เพียงแต่ใช้เครื่องวัดแสงวัดการสะท้อนของกระดาษนี้เท่านั้นก็สามารถหาความเร็วชัตเตอร์ และหน้ากล้องได้ถูกต้อง
2. การวัดแสงตรง (Incident metering) เป็นการวัดปริมาณของแสงที่ไปตกกระทบวัตถุถ่ายภาพนั้น ดังนั้นในบางครั้งเรียกการวัดแสงชนิดนี้ว่าการวัดแสงตกกระทบเครื่องวัดแสงที่ต้องการวัดแสงตกกระทบต้องอยู่ที่ตำแหน่งของวัตถุที่ต้องการถ่ายภาพ แล้วหันโดมพลาสติครูปครึ่งวงกลม (Spherical Diffu-ser) รับแสงจากแหล่งกำเนิดแสง เราก็จะได้ค่าของแสงที่ไปตกกระทบและนำค่านี้ไปใช้ในการหาความเร็วชัตเตอร์และขนาดรูรับแสงต่อไปสำหรับจอภาพในกล้อง 35 มม. ที่ใช้ส่องดูภาพ (View Finder) เพื่อดูภาพจะประกอบภาพอย่างไร และวัดแสงได้เท่าใด แบ่งออกเป็นลักษณะดังนี้
- จอภาพแบบไม่มีเครื่องวัด (Meterless) เป็นจอภาพที่ไม่มีเครื่องหมายสัญญาณใด
ๆ เลย
ดังนั้นต้องใช้เครื่องวัดแสงภายนอกเพื่อหาความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสงหรืออาจใช้การคาดคะเนก็ได้
- จอภาพแบบบอกค่าแสงด้วยเข็มสัมพันธ์ (Match Needle)
เมื่อมองที่ช่องมองภาพจะสังเกตเห็นเข็ม
และเครื่องหมายวงกลมอยู่ด้านใดด้านหนึ่งของจอภาพ การวัดแสงและปรับค่าแสงให้พอดี
โดยการปรับแสงและวงกลมให้ซ้อนทับกัน นั่นคือปรับเปลี่ยนหน้ากล้อง
และความเร็วชัตเตอร์จนกว่าเข็ม
และวงกลมจะทับกันก็จะได้แสงที่ถูกต้องอย่างไรก็ตามในจอภาพจะไม่มีตัวเลขบอกเอฟสต๊อปและความเร็วชัตเตอร์
ผู้ใช้กล้องต้องคอยดูจากตัวเลนส์และตัวกล้องว่าใช้เอฟสต๊อปอะไร
และความเร็วของชัตเตอร์ใด
- จอภาพแบบบอกค่าแสงด้วยเข็มสัญญาณตรงกลาง (Center Needle)
แบบนี้ทำงานเหมือนกับแบบที่สอง
แต่แทนที่เข็มจะซ้อนทับวงกลมเข็มจะถูกปรับให้อยู่กึ่งกลางช่องเหมือนช่องหน้าต่างที่อยู่ด้านใดด้านหนึ่งของจอภาพ
แบบนี้ใช้ง่าย แต่ช่องและเข็มจะมองเห็นได้ยาก ในสภาพที่แสงน้อย ๆ
- จอภาพแบบบอกค่าแสงด้วยจุดสัญญาณไฟ (Center Diode)
แบบนี้มีสัญญาณไฟอยู่ห่างจอภาพ 3 จุด
การวัดแสงที่พอดีโดยการปรับหน้ากล้องและความเร็วชัตเตอร์ให้สัญญาณไฟสว่างที่จุดกึ่งกลาง
แบบนี้ใช้ได้ในสภาพแสงสลัว ๆ แต่มีข้อเสียตรงที่เปลืองแบตเตอรี่
และถ้าเกิดการคลาดเคลื่อนเล็กน้อย สัญญาณไฟอาจจะไม่เปลี่ยนได้
- จอภาพแบบบอกตัวเลขความเร็วชัตเตอร์ และขนาดหน้ากล้อง แบบนี้มีจุดสัญญาณไฟ
หรือตัวเลข อย่างหนึ่งอย่างใดช่วยให้สามารถเลือกตั้งความเร็วชัตเตอร์
และขนาดหน้ากล้องได้โดยไม่ต้องละสายตาจากช่องมองภาพ
ดังนั้นจึงเป็นระบบที่ให้ความสะดวกสบายไม่น้อยทีเดียว
- จอภาพแบบบอกเข็มสัญญาณบอกระดับความเร็วชัตเตอร์
แบบนี้มีตัวเลขบอกระดับความเร็วชัตเตอร์
และเข็มสัญญาณอยู่ด้านใดด้านหนึ่งของจอภาพ
ใช้กับกล้องระบบปรับความเร็วชัตเตอร์โดยอัตโนมัติ มีเข็มชี้บอกตัวเลข
ความเร็วที่กล้องปรับระดับความเร็วชัตเตอร์ในสภาพแสงนั้น ๆ
แบบนี้ใช้ง่ายหากแต่มีข้อเสียตรงที่ตัวเลข และเข็มมองเห็นได้ยาก
ในสภาพที่มีแสงน้อย
- จอภาพแบบเข็มสัญญาณบอกหน้ากล้อง แบบนี้มีระบบการทำงานเหมือน แบบที่ 6
แต่มีตัวเลขบอกขนาดรูรับแสง หรือเอฟสต๊อป และเข็มสัญญาณข้างๆ
จอภาพใช้กับกล้องระบบปรับหน้ากล้องอัตโนมัติแบบนี้ใช้ง่ายและมีข้อเสียเช่นเดียวกันกับแบบที่
6
- จอภาพแบบจุดสัญญาณไฟบอกระดับความเร็วชัตเตอร์ แบบนี้มีระบบการทำงานเหมือน
แบบที่ 6 แต่แทนที่จะใช้เข็มบอกความเร็วชัตเตอร์ที่กำลังใช้
ปกติจะใช้จุดสัญญาณไฟกำกับอยู่ในตัวเลขความเร็วชัตเตอร์แทน
ใช้ในกล้องระบบปรับความเร็วชัตเตอร์อัตโนมัติมีข้อดีตรงที่สามารถมองเห็นได้ง่าย
ในสภาพที่มีแสงน้อยแต่เปลืองไฟแบตเตอรี่
และถ้าหากเกิดการคลาดเคลื่อนเล็กน้อยอาจทำให้สัญญาณไฟค้าง
หรือไม่เปลี่ยนเลยก็ได้
- จอภาพแบบบอกจุดสัญญาณไฟบอกหน้ากล้อง
แบบนี้ใช้กับกล้องระบบที่ปรับขนาดหน้ากล้องโดยอัตโนมัติ
ปกติจะใช้จุดสัญญาณไฟกำกับอยู่ตามตัวเลข ขนาดของหน้ากล้อง
มีข้อดีกับข้อเสียเช่นเดียวกับแบบที่ 8
- จอภาพแบบรายละเอียดอื่น ๆ ในกล้องบางรุ่นโดยเฉพาะรุ่นใหม่ ๆ อาจมีเครื่องหมายสัญญาณพิเศษอื่น ๆ บอกการใช้ระบบต่าง ๆ ไว้บนจอภาพด้วย เช่น เครื่องหมายบอกการใช้ระบบธรรมดา ระบบอัตโนมัติ ความพร้อมของแฟลชอัตโนมัติหรือ อื่น ๆ แล้วแต่รุ่นของกล้อง
» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย
» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย
» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป
» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป
» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว
» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป
» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์
» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม
» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR
» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง
» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง
» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ
» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ
» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี