ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ

โครงสร้างของฟิล์ม

ถ้าเรามองภาพตามขวางของแผ่นฟิล์มจะพบว่าฟิล์มแบ่งออกเป็นชั้น ๆ ดังนี้ คือ

  • ชั้นที่ 1 เรียกว่า Protective Top Coat เป็นชั้นที่ฉาบไว้ด้วยสารเจลาติน (Geletin) เพื่อทำหน้าที่ป้องกัน การขีดข่วนที่อาจเกิดขึ้นได้กับเยื่อไวแสงของฟิล์ม
  • ชั้นที่ 2 เรียกว่า Light Sensitive Base หรือ Emulsion เป็นชั้นของสารไวแสงที่ฉาบยึดติดอยู่กับฐานของฟิล์ม ถ้าเป็นฟิล์มขาวดำจะฉาบสารไวแสงประเภทขาวดำเอาไว้ แต่ถ้าเป็นฟิล์มสีก็จะมีสารไวแสงที่ให้สีเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามเยื่อ ไวแสงนี้ จะทำหน้าที่บันทึกภาพที่ไม่สามารถมองเห็น (Latent Image) อันประกอบด้วยอะตอมของเงิน ประมาณ 3-6 อะตอม เมื่อนำไปล้างด้วยน้ำยาล้างฟิล์ม แล้วจะเกิดเป็นอะตอมเพิ่มถึง 100 เท่า เนื่องจากน้ำยาล้างภาพจะให้อิเลคตรอน แก่ไอออนของเงิน ก็ทำให้มองเห็นภาพได้
  • ชั้นที่ 3 เรียกว่า Plastic Film Base หรือ Suppport ชั้นนี้จะเป็นวัสดุโปร่งใสทำด้วยอาซีเตท (Cellulose Acetate) ใช้เป็นพื้นสำหรับฉาบด้วยสารไวแสงมีลักษณะใสเหนียวไม่ยืดหด และไม่ไวไฟ
  • ชั้นที่ 4 เรียกว่า Antihilation Backing ชั้นนี้จะฉาบด้วยสารที่ป้องกันแสงที่จะทะลุผ่านเนื้อฟิล์มออกไปแล้วสะท้อน กลับมาทำอันตรายฟิล์ม เกิดเป็น ภาพเงาซ้อนขึ้น

ได้กล่าวไว้ว่าชั้นที่ 2 เป็นชั้นของเยื่อไวแสงที่บันทึกภาพ ถ้าเป็นฟิล์มขาวดำ แต่ถ้าเป็นฟิล์มสีและฟิล์มสไลด์สีจะบันทึกสีต่าง ๆ สามสีด้วยกัน คือสีน้ำเงิน สีเขียวและสีแดงตามวัตถุสีที่ถ่ายนั้น อย่างไรก็ตามวัตถุที่ถ่ายอาจมีสีอื่น ๆ นอกจาก สามสีที่กล่าวมาแล้ว แต่สีต่าง ๆ นั้นก็เป็นการรวบรวมตัวของสีทั้ง 3 เช่น สีไชยัน (Cyan) หรือสีฟ้าก็เป็นการรวมตัวของสีน้ำเงินและสีเขียว สีม่วง หรือสีมาเยนต้า (Magenta) ก็เป็นการรวมตัวของสีน้ำเงินกับสีแดง สีเหลือง (Yellow) ก็เป็นการรวมตัวของสีเขียวและสีแดง ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นทฤษฎีสีของแสง

Protective Top Coat
Light Sensitive Base
Emulsion
Film Base
Antihilation Backing

สำหรับฟิล์มสีและฟิล์มที่ใช้ถ่ายทำสไลด์ โดยทั่วไปจะประกอบด้วยชิ้นส่วนของสารเคมีที่ทำให้เกิดสีเป็นชั้น ๆ บนเซลลูลอยด์ หรืออาซีเตท ดังนี้

ชั้นที่ 1 ตัวยาไวแสงสีน้ำเงิน
ชั้นที่ 2 เจลาติน (Gelatin)
ชั้นที่ 3 ตัวยาไวแสงสีเขียว
ชั้นที่ 4 เจลาติน (Gelatin)
ชั้นที่ 5 ตัวยาไวแสงสีแดง
ชั้นที่ 6 เซลลูลอยด์ หรืออาซีเตท
ชั้นที่ 7 ตัวยาป้องกันแสงสะท้อนกลับ (Annihilation)



1. น้ำเงิน
2. เจลาติน
3. สีเขียว
4. เจลาติน
5. สีแดง
6. อาซีเตท
7. ป้องกันแสงสะท้อน เมื่อฟิล์มได้รับการบันทึกภาพ ฟิล์มจะบันทึกภาพที่เป็นสีสรรตามความเป็นจริงคือ วัตถุสีแดงจะบันทึกด้วยชั้นไวแสงสีแดง
- วัตถุสีเขียวจะบันทึกด้วยชั้นไวแสงสีเขียวและ
- วัตถุสีน้ำเงินจะบันทึกด้วยชั้นไวแสงสีน้ำเงิน นอกจากนั้นยังมีสีอื่น ๆ ที่ถูกบันทึกด้วยการรวมตัวของสีสองสีคือ
- วัตถุสีฟ้า เรียกว่า สีไชยัน (Cyan) จะถูกบันทึกด้วยชั้นไวแสงสีน้ำเงินและสีเขียว
- วัตถุที่มีสีม่วง เรียกว่า สีมาเยนต้า (Magenta) จะถูกบันทึกด้วยชั้นไวแสงสีแดงและสีน้ำเงิน
- วัตถุที่มีสีเหลือง (yellow) จะถูกบันทึกด้วยชั้นไวแสงสีแดงและสีเขียว

ในการเลือกใช้ฟิล์มสีนั้น ควรระลึกเสมอว่าสีมีอิทธิพลต่อความรู้สึกของคนมากแตกต่างกัน การใช้ฟิล์มสีถ่ายภาพวัตถุต่าง ๆ ควรพิจารณาว่าวัตถุที่ถ่ายนั้น มีสีสรรเช่นใด สีโดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้

สีรุนแรง (Strong Color) เป็นสีที่จัดจ้าน ร้อนแรง สดใส ให้อารมณ์และบรรยากาศสนุกสนานรื่นเริง ส่วนมากเป็นพวกแม่สีทั้งหลายมาอยู่รวมกัน การใช้สีแบบนี้ถ่ายภาพควรระวังให้มากเพราะจะแบ่งความสนใจไปจากทุกสิ่งในภาพทั้งรูปทรง รายละเอียดและอาจทำให้จัดภาพไม่สมดุล แม่สีจะมีพลังสูงที่สุด โดยเฉพาะสีแดงพื้นที่เล็ก ๆ ของสีแดงจะดึงดูดความสนใจให้โดดเด่นจากภาพได้ ควรใช้สีรุนแรงช่วยเสริมจุดสนใจในภาพ โดยจำกัดจำนวนของสี และเพิ่มปริมาณพื้นที่ที่ไม่มีสีตัดกันรุนแรงเข้าไปในภาพ สีจะรุนแรงที่สุดเมื่อมีพื้นดำ เทาหรือขาวเป็นฉากหลังซึ่งการถ่ายภาพลักษณะให้ได้สีรุนแรงที่สุดดังกล่าว ควรใช้ไฟแฟลชให้แสงตรงและแรงหรือถ่ายกับแสงแดดจัด ๆ ก็ได้

สีตัดกัน (Contrast Color) เป็นสีที่ตรงข้ามในวงจรสี เช่นสีแดงกับสีเขียว สีเหลืองกับสีม่วง สีส้มกับสีน้ำเงินเมื่อนำมาใช้ด้วยกันจะทำให้เกิดความรู้สึก เร้าอารมณ์ เคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง มีพลัง สีตัดกันอาจเป็นสีโทนร้อนกับเย็นหรือสีมืดกับสีสว่างก็ได้ การใช้สีตัดกันควรพิจารณาการจัดภาพและการสร้าง ความสมดุลในภาพให้ดี มิเช่นนั้นจะได้ภาพที่ไม่ดีด้วย

สีกลมกลืน (Harmony Color) เป็นสีนุ่มนวลไม่ตัดกันมาก ดูแล้วสบายตาสบายใจ ไม่มีแม่สีเข้าเกี่ยวข้อง ให้อารมณ์ละเอียดอ่อนลึกซึ้ง และสงบการใช้ สีโทนเย็นจะกลมกลืนได้ดีกว่าสีโทนร้อน เช่นสีฟ้ากับสีเขียว สีฟ้ากับสีม่วง สีเหลืองกับสีส้ม

สีชุดเดียวกัน (Predominant Color) เป็นสีชุดเดียวกัน ไล่ระดับอ่อนแก่ให้อารมณ์ได้หลายอย่าง แล้วแต่โทนของสี เช่นร้อนแรง เยือกเย็น เ หงาหงอยเป็นต้น สีที่มีพื้นที่มาก ๆ ในภาพเป็นสีที่มีความสำคัญที่สุด และภาพที่มีโทนเดียวเดี่ยว ๆ จะชักจูงอารมณ์คนดูให้เป็นไปตามต้องการได้ เช่น ทุ่งหญ้าสีเขียว มีคนแต่งชุดเขียว ให้สีเขียวสะท้อนล้อกันในภาพ

สีกระโดด (Insolate Color) เป็นสีเดียวที่โดดเด่นขึ้นมาจากสีพื้น ส่วนใหญ่ สีที่โดดเด่นขึ้นมานั้นจะเป็นสีที่ตัดกันกับสีพื้น ทำให้สีนั้นเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ ในภาพ จึงทำให้ภาพน่าสนใจ เช่น ภาพดอกไม้สีเหลืองดอกหนึ่ง แทรกอยู่กับภาพใบไม้สีเขียวเต็มกรอบภาพ สีกระโดดเช่นนี้ทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวา สดใส สดสวยขึ้น

» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย

» พยานอันซื่อสัตย์

» บทบาทของภาพถ่าย

» ภาพที่ควรบันทึกเป็นหลักฐาน

» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย

» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

» ชนิดของกล้องถ่ายรูป

» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป

» อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง

» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป

» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว

» การบรรจุฟิล์มเข้ากล้อง

» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป

» ชนิดของเลนส์

» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์

» ฟิล์ม (Film)

» โครงสร้างของฟิล์ม

» ชนิดของฟิล์ม

» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม

» ประเภทของแฟลช

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR

» การคำนวนหาแฟลชไกด์นัมเบอร์

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์

» เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแฟลช

» ฟิลเตอร์ (Filter)

» ทฤษฎีสีของแสง

» แสงสีและฟิลเตอร์

» ฟิลเตอร์หรือแว่นกรองแสง

» ชนิดของฟิลเตอร์

» วิธีระมัดระวังรักษาฟิลเตอร์

» ประเภทของชัตเตอร์

» ความเร็วของชัตเตอร์

» การปรับความเร็วชัตเตอร์

» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง

» การหาค่าของแสง

» เซลล์วัดแสงชนิดต่าง ๆ

» ประเภทของวิธีการวัดแสง

» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง

» การจัดองค์ประกอบภาพ

» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ

» หลักการวิจารณ์ภาพถ่าย

» การล้างฟิล์ม

» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ

» เทคนิคการทำภาพ

» เทคนิคการทำโฟโต้สเก๊ตชิ่ง

» การสำเนาภาพ

» วิธีใช้แท่นถ่ายสำเนา

» การนำภาพออกแสดง

» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี

» วิธีการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่คมชัด

» หลักในการถ่ายภาพกลางแจ้ง

» เสนอแนะงานถ่ายภาพ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย