ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ

การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย

วิทยาการต่าง ๆ ที่เป็นที่รู้จักกันดี มีอยู่ 3 สาขา ได้แก่

1) สาขามนุษยศาสตร์ เป็นสาขาที่มุ่งศึกษาแนวคิด ประสบการณ์ คุณค่าของมนุษย์ในฐานะที่เป็นผู้ที่มีมโน หรือจิตมีจุดประสงค์ เพื่อแสวงหาความหมาย และคุณค่าของการเป็นมนุษย์เพื่อปลูกฝังคุณค่าของความดี ความงาม คุณธรรม สุนทรีย์ ตลอดจนผดุงคุณค่าและจิตสำนึกในการเกิดมาเป็นมนุษย์วิชาการต่าง ๆ ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาศาสนา วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรมเป็นต้น วิทยาการสาขามนุษย์ศาสตร์ช่วยให้คนเรามีโลกทัศน์ที่ไม่คับแคบ มีจินตนาการ สามารถสร้างรูปแบบ จำลองของชีวิต มีความสามารถในการวิพากษ์วิจารณ์ แสดงออกด้วยความงดงามแจ่มชัด ตลอดจนสามารถรักษา สร้างสรรค์ และสืบทอดผลงานสร้างสรรค์ของมนุษย์ได้ตลอดไป

2) สาขาสังคมศาสตร์ เป็นสาขาที่มุ่งศึกษาพฤติกรรมทางสังคม และการอยู่ร่วมกัน ซึ่งถือว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่ง ของสังคมหรือที่เรียกว่าเป็นสัตว์เมือง (Political Animals) นั่นเอง วิชาการต่าง ๆ ในสาขานี้มีทั้งที่มีส่วนบางส่วนเป็น สังคมศาสตร์ และบางส่วนเป็นวิทยาศาสตร์เช่น วิชาประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ จิตวิทยาและมานุษยวิทยาและยังมีวิชาที่เป็น สังคมศาสตร์ล้วน ๆ เช่น วิชารัฐศาสตร์ วิชาสังคมวิทยา และเศรษฐศาสตร์

3) สาขาวิทยาศาสตร์ เป็นสาขาที่มุ่งศึกษาธรรมชาติ และปรากฏการณ์ของธรรมชาติ โดยใช้หลักประจักษ์ในการพิจารณา ความน่าเชื่อของข้อความรู้ เพื่อนำมาใช้อธิบาย ทำนาย และควบคุมปรากฏการณ์ต่าง ๆ ด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อเท็จจริงก่อน แล้วจัดจำพวกพิจารณาดู เพื่อตั้งกฏเกณฑ์ มีการตั้งสมมุติฐานและมีการทดสอบเรียกวิธีการเหล่านี้ว่า วิธีวัตถุวิสัย (Objective) ส่วนมากแล้วสาขานี้จะพิจารณาธรรมชาติหรือสสารและพลังงานในสากลโลก รวมไปถึงมนุษย์ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ และเป็นสิ่งที่มีชีวิตอีกด้วย



ในการศึกษาค้นคว้าวิทยาการสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นั้น การบันทึกข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่หลากหลายเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียด รอบคอบและสมบูรณ์ นั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง วิธีการหนึ่งที่นิยมใช้กันแพร่หลายและสำคัญยิ่ง คือ วิธีการบันทึกด้วยภาพถ่าย อาจเป็นภาพนิ่ง หรือ ภาพเคลื่อนไหว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เก็บข้อมูล และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลภาพถ่ายจะสามารถบันทึกรายละเอียดของเหตุการณ์ พฤติกรรมของมนุษย์ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อนำมาศึกษา วิเคราะห์ และพิจารณาอย่างรอบคอบได้อีกทั้งเป็นหลักฐานได้อย่างดีอาจเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ในอนาคตได้อีกด้วย เช่นเดียวกับที่เราได้ศึกษาภาพถ่ายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงถ่ายกับเครื่องราชบรรณาการต่าง ๆ ที่สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียส่งมาให้ มีแท่นกระปุกหมึก ปืนไรเฟิล ปืนสั้น พระขรรค์ เป็นต้นถ่ายภาพ โดยนายโหมด หรือ พระยากระสาปน์ กิจโกศล ด้วยกล้องที่ใช้ถ่าย เป็นส่วนหนึ่งของบรรณาการ อีกทั้งได้ถ่ายภาพและระบายสี เพื่อส่งไปถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย ได้ทอดพระเนตรด้วยดังภาพถ่ายข้างล่าง

ประเทศไทยมีหลักฐานยืนยันพอเชื่อได้ว่า มีช่างถ่ายรูปครั้งแรกในรัชกาลที่ 3 ( ร .3 ครองราชย์ ระหว่างพ . ศ . 2367-2394) แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย เนื่องจากแรก ๆ ไม่ค่อยมีใครยอมถ่ายรูปกันเพราะเกรงว่าจะอายุสั้นบ้าง จะเอาไปใช้ทำร้ายด้วยเวทมนตร์บ้าง แม้แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์หรือ สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ ( ดิสบุนนาค ) ซึ่งเป็นขุนนางชั้นสูง ก็ไม่ยอมถ่ายรูป มีเรื่องเล่าว่าในสมัยรัชกาลที่ 4 มีชายคนหนึ่งไปถ่ายรูปที่ร้านนายจิตร ซึ่งเป็นร้านถ่ายรูปร้านแรกในเมืองไทย พอเจ้าตัวไปรับรูป เห็นรูปถ่ายครึ่งตัวก็ตีโพยตีพายว่านายจิตร ตัดตัวเองให้เป็นอันตราย ความเชื่อต่าง ๆ เหล่านี้ได้สูญหายไป ทีละน้อยจนปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า ความเชื่อนี้ไม่เหลืออยู่อีกเลยในตัวคนไทย ตรงกันข้ามกลับมีการถ่ายรูปมากยิ่งขึ้น และร้านถ่ายรูป ร้านอัดขยายรูป เกิดขึ้นมากมาย

» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย

» พยานอันซื่อสัตย์

» บทบาทของภาพถ่าย

» ภาพที่ควรบันทึกเป็นหลักฐาน

» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย

» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

» ชนิดของกล้องถ่ายรูป

» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป

» อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง

» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป

» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว

» การบรรจุฟิล์มเข้ากล้อง

» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป

» ชนิดของเลนส์

» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์

» ฟิล์ม (Film)

» โครงสร้างของฟิล์ม

» ชนิดของฟิล์ม

» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม

» ประเภทของแฟลช

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR

» การคำนวนหาแฟลชไกด์นัมเบอร์

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์

» เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแฟลช

» ฟิลเตอร์ (Filter)

» ทฤษฎีสีของแสง

» แสงสีและฟิลเตอร์

» ฟิลเตอร์หรือแว่นกรองแสง

» ชนิดของฟิลเตอร์

» วิธีระมัดระวังรักษาฟิลเตอร์

» ประเภทของชัตเตอร์

» ความเร็วของชัตเตอร์

» การปรับความเร็วชัตเตอร์

» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง

» การหาค่าของแสง

» เซลล์วัดแสงชนิดต่าง ๆ

» ประเภทของวิธีการวัดแสง

» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง

» การจัดองค์ประกอบภาพ

» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ

» หลักการวิจารณ์ภาพถ่าย

» การล้างฟิล์ม

» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ

» เทคนิคการทำภาพ

» เทคนิคการทำโฟโต้สเก๊ตชิ่ง

» การสำเนาภาพ

» วิธีใช้แท่นถ่ายสำเนา

» การนำภาพออกแสดง

» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี

» วิธีการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่คมชัด

» หลักในการถ่ายภาพกลางแจ้ง

» เสนอแนะงานถ่ายภาพ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย