ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ

ชนิดของฟิล์ม

ฟิล์มที่ใช้ถ่ายภาพโดยทั่ว ๆ ไปแบ่งได้หลายประเภท หลายลักษณะต่างกัน คือ

1. แบ่งตามการแยกสี ได้แก่

  1. ฟิล์มขาวดำ (Black and White Film) เป็นฟิล์มที่ฉาบด้วยเยื่อไวแสงที่ทำให้ภาพเป็นสีขาวดำเมื่อนำฟิล์ม ไปล้างครบกระบวนการ
  2. ฟิล์มสี (Color Film) เป็นฟิล์มที่ฉาบด้วยเยื่อไวแสงที่ทำให้ภาพเป็นสีธรรมชาติเหมือนวัตถุจริงที่ถ่ายซึ่งสีหลัก ที่เกิดขึ้นมีสีน้ำเงิน สีเขียวและสีแดง ส่วนสีรองคือ สีฟ้า สีม่วงและสีเหลือง

2. แบ่งตามกรรมวิธี ได้แก่

  1. ฟิล์มเนกาตีฟ (Negative Film) เป็นฟิล์มที่มีเยื่อไวแสงเป็นตรงกันข้ามกับความเป็นจริง ต้องนำไปอัดขยายตาม กระบวนการอีกทีหนึ่งจึงจะได้ภาพที่ตรงความเป็นจริง
  2. ฟิล์มโพสิตีฟ (Positive Film) เป็นฟิล์มที่ใช้สำหรับอัดภาพจากเนกาตีฟเมื่อล้างตามขบวนการจะได้ ภาพที่มีสีตรงกับสีธรรมชาติของวัตถุจริง
  3. ฟิล์มรีเวอร์ซัล (Reversal Film) เป็นฟิล์มที่มีเยื่อไวแสง ทั้งเนกาตีฟและโฟสิตีฟรวมกัน หลังจากนำไปล้าง ตามกระบวนการจะได้ภาพออกมามีลักษณะที่ถูกต้องตามความเป็นจริง เช่น สไลด์ ฟิล์มสตริฟ เป็นต้น

ได้กล่าวไว้ว่าชั้นที่ 2 เป็นชั้นของเยื่อไวแสงที่บันทึกภาพ ถ้าเป็นฟิล์มขาวดำ แต่ถ้าเป็นฟิล์มสีและฟิล์มสไลด์สีจะบันทึกสีต่าง ๆ สามสีด้วยกัน คือสีน้ำเงิน สีเขียวและสีแดงตามวัตถุสีที่ถ่ายนั้น อย่างไรก็ตามวัตถุที่ถ่ายอาจมีสีอื่น ๆ นอกจาก สามสีที่กล่าวมาแล้ว แต่สีต่าง ๆ นั้นก็เป็นการรวบรวมตัวของสีทั้ง 3 เช่น สีไชยัน (Cyan) หรือสีฟ้าก็เป็นการรวมตัวของสีน้ำเงินและสีเขียว สีม่วง หรือสีมาเยนต้า (Magenta) ก็เป็นการรวมตัวของสีน้ำเงินกับสีแดง สีเหลือง (Yellow) ก็เป็นการรวมตัวของสีเขียวและสีแดง ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นทฤษฎีสีของแสง

 

3. แบ่งตามการบันทึกภาพ ได้แก่

  • เนื้อของวัสดุ (Grain) ซึ่งมีเนื้อละเอียดและเนื้อหยาบ
  • เนกาติฟสีตัดกัน (Contrast) หมายถึง ความแตกต่างระหว่างสีดำกับสีขาว ซึ่งได้แก่ ชนิดสีตัดกันมาก และชนิดสีตัดกันน้อย
  • ช่วงที่พอเหมาะในการรับภาพ (Latitude) หมายถึงช่วงของแสงที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความสามารถของการรับภาพของฟิล์ม ซึ่งขึ้นอยู่แกรมม่า ของฟิล์มแต่ละชนิด

4. แบ่งตามความไวสีโดยใช้ความไวสีของแสงเป็นเกณฑ์ มี 5 ชนิด ได้แก่

  1. ชนิดบอดสี (Non-Color Sensitive, Color Blind) ฟิล์มชนิดนี้จะบอดต่อทุกสี แต่มีคุณสมบัติไวต่อแสงอุลตราไวโอเลต สีม่วงครามและสีน้ำเงินเท่านั้น ส่วนมากมักนิยมนำฟิล์มชนิดนี้ไปถ่ายภาพงานพิมพ์ ถ้าใช้ถ่ายรูปภาพทั่ว ๆ ไป เช่น ภาพวิวขาวดำ ท้องฟ้าจะปรากฏสีขาว ส่วนหญ้าจะเป็นสีดำ
  2. ชนิดออโตโครเมติค (Orthochromatic) เป็นฟิล์มที่ไวต่อแสงอุลตราไวโอเลตสีคราม สีน้ำเงิน สีเขียว แต่ไม่ไวต่อแสงสีแดง ดังนั้นจึงนิยมเรียก ฟิล์มชนิดนี้ว่าฟิล์มแดง ซึ่งใช้กับแว่นกรองแสงสีแดง หรือ ถ่ายภาพวัสดุสีแดงไม่ได้เลย เพราะภาพที่ได้จะมืดเนื่องจากฟิล์มชนิดนี้ไม่ทำปฏิกิริยากับแสงสีแดงฟิล์มชนิดนี้ มีชื่อลงท้ายว่า Chrome เช่น ซีโลโครม ของ Ilford และ Verichrome ของ Kodak เป็นต้น
  3. ชนิดแพนโครเมติด (Panchromatic) เป็นฟิล์มที่มีความไวต่อแสงทุกสี ยกเว้นสีเขียวเท่านั้น ดังนั้นจึงเรียกว่า ฟิล์มเขียว ฟิล์มชนิดนี้มีชื่อขึ้นต้นว่า Pan เช่น Pan F ของ Ilford, Isopan ของ Agfa และ Plus-X Pan ของ Kodak เป็นต้น
  4. ชนิดอินฟาเรด (Infared) เป็นฟิล์มที่สามารถบันทึกรังสี Infared ที่ตาเราไม่สามารถมองเห็นได้ นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติที่สามารถตัดหมอกควัน ในท้องฟ้าให้ดูกระจ่างชัดขึ้น ฟิล์มชนิดนี้ไม่นิยมนำมาใช้ถ่ายภาพทั่วไป แต่นำไปใช้ถ่ายภาพทางอากาศทางการแพทย์ และทางการทหาร เพื่อพิสูจน์ข้อมูลพื้นที่ต่าง ๆ
  5. ชนิดเอกซเรย์ (X-ray) เป็นฟิล์มที่ออกแบบขึ้นมา เพื่อใช้กับเครื่องเอกซเรย์โดยเฉพาะสามารถถ่ายภาพอวัยวะภายในร่างกายของมนุษย์ได้ เนื่องจากมีความไวแสงสูงมาก

5. แบ่งตามความไวแสงโดยยึดค่าความไวแสงที่เป็นตัวเลขเป็นเกณฑ์ที่มีอยู่ 4 ชนิดได้แก่

  1. ประเภทความไวแสงต่ำ ปกติมีความไวแสงไม่เกิน ISO 50
  2. ประเภทความไวแสงปานกลาง มีความไวแสงระหว่าง ISO 50 ถึง ISO 200
  3. ประเภทความไวแสงสูง มีความไวแสงระหว่าง ISO 200 ถึง ISO 800
  4. ประเภทความไวแสงสูงมากมีความไวแสงตั้งแต่ ISO 800 ขึ้นไป

6. แบ่งตามขนาดของฟิล์ม แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  1. ฟิล์มขนาดเล็ก เป็นฟิล์มที่มีขนาด จาก 35 มม . ลงมา
  2. ฟิล์มขนาดกลาง เป็นฟิล์มที่มีขนาดตั้งแต่ 6 x 6 ซม . ขึ้นไปแต่เล็กกว่า 4 x 5 นิ้ว
  3. ฟิล์มขนาดใหญ่ เป็นฟิล์มที่มีขนาดตั้งแต่ 4 x 5 นิ้วขึ้นไป

7. แบ่งตามลักษณะของวัสดุที่นำมาผลิตฟิล์ม ได้แก่

  1. ฟิล์มม้วน (Roll film) เป็นฟิล์มที่หุ้มด้วยกระดาษทำเป็นม้วนยาวพันรอบแกน ได้แก่ ฟิล์ม 120, 127, 620 เป็นต้น นอกจากนั้นฟิล์มประเภทที่อยู่ในตลับ (Cartridge) เช่น 110, 126 และอีกชนิดหนึ่งที่เป็นฟิล์มม้วน คือฟิล์มประเภท 135 หรือที่รู้จักคือฟิล์ม 35 มม . ที่บรรจุอยู่ในกลัก (Cassette) ถ่ายภาพได้ 20, 24 และ 36 ภาพ กล้องบางชนิด เช่นครึ่งกรอบภาพ (Half Frame) อาจจะถ่ายภาพถึง 72 ภาพ
  2. ฟิล์มแผ่น (Pack Film) เป็นฟิล์มอาซิเตทที่ทำเป็นแผ่น ๆ บรรจุอยู่ในกล่องขนาด 6 x 9 ซม . กล่องละ 12 แผ่น
  3. ฟิล์มกระจก (Sheet and Plate Film) ฟิล์มชนิดนี้อาจเป็นฟิล์มอาซิเตทที่ทำเป็นแผ่น ๆ หรือเป็นฟิล์มกระจกก็ได้ มีขนาดตั้งแต่ 5.5 X 6 ซม . ถึง 50 X 60 ซม . ส่วนมากจะใช้กับกล้องใหญ่ในห้องสตูดิโอ

8. แบ่งตามลักษณะของแสงที่สัมพันธ์กับฟิล์มสี มีดังนี้คือ

  1. ฟิล์มที่ใช้กับแสงแดดหรือแสงธรรมชาติหรือไฟแวบ (Daylight Type) มีอุณหภูมิสีของแสง
  2. ฟิล์มที่ใช้กับแสงประดิษฐ์ (Tungsten Type) ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภทคือ
    - Type A เป็นฟิล์มที่ใช้กับไฟถ่ายรูปที่มีอุณหภูมิสีของแสง 3400 องศาเคลวิน
    - Type B เป็นฟิล์มที่ใช้กับไฟถ่ายรูปที่มีอุณหภูมิสีของแสง 3200 องศาเคลวิน

» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย

» พยานอันซื่อสัตย์

» บทบาทของภาพถ่าย

» ภาพที่ควรบันทึกเป็นหลักฐาน

» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย

» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

» ชนิดของกล้องถ่ายรูป

» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป

» อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง

» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป

» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว

» การบรรจุฟิล์มเข้ากล้อง

» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป

» ชนิดของเลนส์

» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์

» ฟิล์ม (Film)

» โครงสร้างของฟิล์ม

» ชนิดของฟิล์ม

» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม

» ประเภทของแฟลช

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR

» การคำนวนหาแฟลชไกด์นัมเบอร์

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์

» เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแฟลช

» ฟิลเตอร์ (Filter)

» ทฤษฎีสีของแสง

» แสงสีและฟิลเตอร์

» ฟิลเตอร์หรือแว่นกรองแสง

» ชนิดของฟิลเตอร์

» วิธีระมัดระวังรักษาฟิลเตอร์

» ประเภทของชัตเตอร์

» ความเร็วของชัตเตอร์

» การปรับความเร็วชัตเตอร์

» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง

» การหาค่าของแสง

» เซลล์วัดแสงชนิดต่าง ๆ

» ประเภทของวิธีการวัดแสง

» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง

» การจัดองค์ประกอบภาพ

» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ

» หลักการวิจารณ์ภาพถ่าย

» การล้างฟิล์ม

» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ

» เทคนิคการทำภาพ

» เทคนิคการทำโฟโต้สเก๊ตชิ่ง

» การสำเนาภาพ

» วิธีใช้แท่นถ่ายสำเนา

» การนำภาพออกแสดง

» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี

» วิธีการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่คมชัด

» หลักในการถ่ายภาพกลางแจ้ง

» เสนอแนะงานถ่ายภาพ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย