ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ

การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์

  1. ป้องกันการใช้นิ้วมือสัมผัสที่ผิวหน้าเลนส์เพราะภาพรอยนิ้วมือ และคราบเหงื่อจะทำให้เลนส์สกปรกอันจะทำลายความคมชัดของภาพได้
  2. ป้องกันฝุ่นละออง เม็ดทราย และผงฝุ่นต่าง ๆ จับที่หน้าเลนส์ และแว่นกรองแสงถ้าปรากฏว่ามีฝุ่นละอองจับที่หน้าเลนส์ ควรทำความสะอาดด้วยแปรงขนอ่อน ที่มีลูกยางเป่าทำความสะอาดทันที ถ้ายังไม่สะอาดพอควรใช้น้ำยา และกระดาษเช็ดเลนส์ทำความสะอาด หรือจะใช้ประเภทหนังชามัวส์ แทนกระดาษก็ได้ อย่าใช้กระดาษเช็ดหน้า หรือกระดาษเช็ดมือเป็นอันขาด เพราะสิ่งเหล่านี้มีความหยาบมาก อาจทำให้เลนส์เกิดการขีดข่วน อย่างไรก็ตามไม่ควรใช้น้ำยาเช็ดเลนส์บ่อยเกินไป เพราะจะทำให้น้ำยาเคลือบเลนส์เสื่อมปกติใช้น้ำยาสีน้ำเงิน หรือน้ำตาล หรือพวกสารแมกนีเซียมฟลูออไรด์เคลือบผิวหน้าเลนส์ เพื่อลดการสะท้อนของแสง
  3. เวลาไม่ใช้งานต้องปิดฝาครอบเลนส์ไว้เสมอ
  4. หลีกเลี่ยงการถ่ายภาพที่ต้องส่องเลนส์ตรงดวงอาทิตย์ ในขณะที่มีแสงแดดจ้า ๆ เพราะจะทำให้น้ำยาเคลือบเลนส์เสื่อมคุณภาพ
  5. ใช้แว่นกรองแสง UV หรือ Skylight ครอบหน้าเลนส์ป้องกันฝุ่นละออง และป้องกันการขีดข่วนของผิวหน้าเลนส์
  6. เก็บรักษาเลนส์ให้ห่างจากไอของสารเคมี และความชื้นเพราะอาจทำให้วงแหวนทรงกระบอกที่ยึดติดอยู่รอบเลนส์สึกกร่อนได้ หรือบางครั้งอาจทำให้สาร แคนาดา บัลซัม (Canada Balsam) ซึ่งเป็นสารที่เชื่อมยึดชิ้นเลนส์เข้าด้วยกันเกิดการละลายสลายตัวได้
  7. ระมัดระวังไม่ให้เลนส์ตกกระทบพื้น หรือโดนกระแทกแรง ๆ เพราะอาจทำให้กลไกได้รับการกระทบกระเทือนได้
  8. ศึกษาคู่มือประจำเลนส์ว่ามีความสามารถใช้งานได้อย่างไร
  9. เก็บเลนส์ไว้ในที่ ๆ อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพราะถ้าอากาศอบชื้นอาจทำให้เกิดเชื้อราขึ้นที่แก้วเลนส์ได้ ถ้าเกิดขึ้นภายในตัวเลนส์จะรักษาให้หมดไปได้ยาก ดังนั้นถ้าไม่ได้ใช้เลนส์เป็นเวลานานควรมียาดูดซับความชื้นรวมไว้กับเลนส์ด้วย
  10. ไม่ควรถอดซ่อมหรือแก้ไขดัดแปลงเลนส์ด้วยตนเอง และห้ามมิให้หยอดน้ำมันหล่อลื่น เพราะอาจทำให้น้ำมันถูกชิ้นเลนส์ภายในได้

» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย

» พยานอันซื่อสัตย์

» บทบาทของภาพถ่าย

» ภาพที่ควรบันทึกเป็นหลักฐาน

» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย

» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

» ชนิดของกล้องถ่ายรูป

» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป

» อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง

» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป

» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว

» การบรรจุฟิล์มเข้ากล้อง

» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป

» ชนิดของเลนส์

» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์

» ฟิล์ม (Film)

» โครงสร้างของฟิล์ม

» ชนิดของฟิล์ม

» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม

» ประเภทของแฟลช

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR

» การคำนวนหาแฟลชไกด์นัมเบอร์

» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์

» เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแฟลช

» ฟิลเตอร์ (Filter)

» ทฤษฎีสีของแสง

» แสงสีและฟิลเตอร์

» ฟิลเตอร์หรือแว่นกรองแสง

» ชนิดของฟิลเตอร์

» วิธีระมัดระวังรักษาฟิลเตอร์

» ประเภทของชัตเตอร์

» ความเร็วของชัตเตอร์

» การปรับความเร็วชัตเตอร์

» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง

» การหาค่าของแสง

» เซลล์วัดแสงชนิดต่าง ๆ

» ประเภทของวิธีการวัดแสง

» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง

» การจัดองค์ประกอบภาพ

» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ

» หลักการวิจารณ์ภาพถ่าย

» การล้างฟิล์ม

» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ

» เทคนิคการทำภาพ

» เทคนิคการทำโฟโต้สเก๊ตชิ่ง

» การสำเนาภาพ

» วิธีใช้แท่นถ่ายสำเนา

» การนำภาพออกแสดง

» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี

» วิธีการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่คมชัด

» หลักในการถ่ายภาพกลางแจ้ง

» เสนอแนะงานถ่ายภาพ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย