สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

ผัก
(Vegetables)

กระเจี๊ยบเขียว

(okra) Abelmoschus esculentus (L.) Moench (Siemonsma, 1994)
วงศ์ MALVACEAE

ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการปลูกกันอย่างกว้างขวาง ในเขตร้อนชื้นของอินเดีย แอฟริกาตะวันตก และบราซิล มีการปลูกทั่วไปในฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม แต่ปลูกน้อยในอินโดนีเซียและปาปัวนิวกินี

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พืชล้มลุก อายุปีเดียวลำต้นตั้งตรงอาจสูงได้ถึง 4 เมตร การเรียงใบแบบเกลียวเวียน แผ่นใบกว้างได้ถึง 50 เซนติเมตร มีรอยเว้า 3-7 รอย ก้านใบอาจยาวได้ถึง 50 เซนติเมตร หูใบมีลักษณะเป็นเส้นด้ายอาจยาวได้ถึง 20 มิลลิเมตร ดอกเป็นดอกเดี่ยวเจริญออกมาจากซอกใบ กลีบดอกสีเหลือง ผสมตัวเอง มีริ้วประดับ 7-15 ริ้วแยกเป็นอิสระออกจากกัน มีลักษณะเป็นเส้นตรง กลีบเลี้ยงมีลักษณะคล้ายกาบ ยาว 2-6 เซนติเมตร แยกออกจากกันทางด้านข้างเมื่อดอกบาน อยู่เชื่อมติดกับกลีบดอกรูปไข่กลับ จำนวน 5 กลีบ แต่ละกลีบกว้างและยาว 3-7 เซนติเมตร กลีบดอกสีเหลือง มีสีม่วงเข้มอยู่ใจกลางดอก ผลแห้งแตกรูปทรงกระบอกจนกระทั่งคล้ายพีรามิด ยาว 5-35 เซนติเมตร กว้าง 1-5 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว เขียวปนม่วง หรือม่วง ผลแก่สีน้ำตาล ผลแตกกลางพูเมื่อแก่ มีเมล็ดจำนวนมาก สีดำ รูปร่างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-6 มิลลิเมตร 


ภาพลำต้นและฝักกระเจี๊ยบเขียว (สุรชัย, 2535)


ภาพฝักกระเจี๊ยบเขียว (สุรชัย, 2535)

การใช้ประโยชน์
รับประทานผลอ่อนเป็นผัก ทั้งรับประทานผลสด ผลที่ผ่านการปรุงให้สุก ด้วยการต้ม ผัด ต้มซุปหรือปรุงเป็นน้ำปรุงรส สามารถนำผลมาตากแห้งเพื่อเก็บไว้รับประทานได้ ส่วนต่างๆ ของลำต้นมีสารเมือกซึ่งสามารถนำไปใช้ในการผลิตยา เส้นใยจากลำต้นสามารถทำเชือกได้ เมล็ดมีโปรตีนและไขมันมาก

คุณค่าทางอาหาร
ส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม มีน้ำเป็นองค์ประกอบ 90 กรัม โปรตีน 2 กรัม เส้นใย 1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 7 กรัม พลังงาน 145 กิโลจูล อุดมด้วยแร่ธาตุและวิตามินหลายชนิด เทียบเท่ามะเขือเทศและมะเขือม่วง มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบ 70-90 มิลลิกรัม

การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ จูบิลี 047 แมคกรีน 077 ทอปกัน 053

นิเวศวิทยา
กระเจี๊ยบเขียวต้องการอุณหภูมิสูงกว่า 20 องศาเซลเซียส ในการเจริญเติบโตอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ด คือ 30-35 องศาเซลเซียส ถ้าเจริญเติบโตในสภาพอุณหภูมิสูงเกินไปจะมีการออกดอกช้า ในการออกดอกพบว่าเกี่ยวข้องกับความยาวของช่วงวันด้วย ส่วนใหญ่พบว่าต้องการช่วงวันสั้นที่สุดคือ 12 ชั่วโมง 30 นาที แต่บางสายพันธุ์พบว่าความยาวช่วงวันไม่มีผลต่อการออกดอก กระเจี๊ยบเขียวเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีธาตุอาหารสูงมีการระบายน้ำได้ดี

ในปี พ.ศ. 2543 มีพื้นที่ปลูก 3,499 ไร่ ผลผลิต 12,211 ตัน แหล่งปลูกอยู่ในเขตหนองแขม กรุงเทพฯ นครปฐม สุพรรณบุรี นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร

การเก็บเกี่ยว
ฝักอ่อนที่นำมารับประทานนั้น ต้องเก็บเมื่ออายุประมาณ 7 วันหลังจากดอกบาน

การส่งออก
ปี พ.ศ. 2542 มีการส่งออกผลผลิตฝักสด 3,000 เมตริกตัน มูลค่า 201 ล้านบาท ฝักแช่แข็ง 582 เมตริกตัน มูลค่า 34 ล้านบาท

พืชสวนครัว
การแลกเปลี่ยนพันธุ์พืช
แหล่งผลิตผักที่สำคัญของประเทศไทย
ผักเศรษฐกิจของประเทศไทย
พริก
กระเทียม
หอมแดง
แตงกวา
ข้าวโพดฝักอ่อน
ถั่วฝักยาว
คะน้า
กะหล่ำปลี
มะเขือเทศ
ฟักทอง
ผักกาดขาวกวางตุ้ง,ผักกาดฮ่องเต้
ผักกาดเขียวกวางตุ้ง
ผักกาดเขียวปลี
ผักบุ้งจีน
ผักกาดหัว
หอมหัวใหญ่
ผักกาดหอม
กะหล่ำดอก
ฟัก, แฟง
มะระ
บวบ
ถั่วลันเตา
หน่อไม้ฝรั่ง
กระเจี๊ยบเขียว
ผักกาดขาวปลี
หน่อไม้ไผ่ตง
มะเขือยาว
ถั่วแระญี่ปุ่นหรือถั่วเหลืองฝักสด
เอกสารและสิ่งอ้างอิง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย