สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
ถั่วฝักยาว
(Yard- long bean) Vigna unguiculata ( L ) Walp. cv. group Sesquipedalis
(Grubben, 1994)
วงศ์ LEGUMINOSAE, FABACEAE
ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์
เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตอนใต้ของจีน
เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไต้หวัน ทางตอนใต้ของจีน
และบังคลาเทศ
มีการนำพันธุ์ถั่วฝักยาวจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปปลูกในแถบทะเลแคริบเบียน
และรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นที่นิยม
และในประเทศเนเธอร์แลนด์มีการปลูกในเรือนกระจก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เถาเลื้อย อายุปีเดียว ลำต้นยาว 2-4 เมตร มีระบบรากที่พัฒนาดี
ลำต้นบิดเลื้อยพัน มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกมีสามใบย่อย
มีหูใบรูปไข่ขนาดเล็กที่โคนก้านใบ ก้านใบยาว 5-25 เซนติเมตร
ใบย่อยคู่แรกมีใบสองด้านไม่เท่ากัน ส่วนใบย่อยที่ปลายใบมีใบสองด้านเท่ากัน
ใบรูปไข่ยาว 7-13.5 เซนติเมตร กว้าง 4-9.5 เซนติเมตร
ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจะเจริญออกมาจากตาข้าง ดอกย่อยมีสีเหลืองหรือสีฟ้าอ่อน
ก้านช่อดอกยาว 10-17 เซนติเมตร ช่อดอกมีแกนกลาง มีใบประดับ 1 ใบ
บริเวณที่ช่อดอกแขนงแยกออกมา ดอกย่อยมีก้านดอกสั้นแต่ละดอกมีใบประดับรูปไข่ 2 ใบ
ยาว 3-5 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงสีเขียวเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังยาว 5-7 มิลลิเมตร
กลีบดอกยาว 2-3 เซนติเมตร เมื่ออายุมากจะห่อตัวเป็นรูปคุ่ม กลีบที่เป็นปีก 2 กลีบ
ยาว 2.2 เซนติเมตร กว้าง 1.2 เซนติเมตร กลีบคู่ล่างเชื่อมติดกันเป็นรูปเรือ ยาว 2.1
เซนติเมตร กว้าง 1.2 เซนติเมตร เกสรเพศผู้เชื่อมติดกันสองกลุ่ม มีเกสรเพศเมีย 1 อัน
ภายในรังไข่มี 12-21 ออวุล ฝักยาว ห้อย ยาว 30-120 เซนติเมตร ฝักอ่อนมีลักษณะผอมลีบ
เมื่อแก่โป่งพอง มี 10-30 เมล็ด เมล็ดกลมรูปทรงกระบอก ยาว 0.8-1.2 เซนติเมตร
มีสีสันต่างกัน ตั้งแต่ น้ำตาลแดง ครีมปนแดง ขาว ดำ หรือน้ำตาลมีขั้วเมล็ดสีขาว
ภาพลำต้น ช่อดอก และฝักอ่อนของถั่วฝักยาว(สุรชัย, 2535)
ภาพถั่วฝักยาวฝักสีม่วงและสีเขียว (สุรชัย, 2535)
การใช้ประโยชน์
รับประทานฝักสดเป็นอาหาร หรือ นำไปปรุงให้สุกเพื่อเป็นกับข้าวชนิดต่างๆ
คุณค่าทางอาหาร
ส่วนที่รับประทานได้หนัก 100 กรัม ประกอบด้วยน้ำ 89 กรัม โปรตีน 3 กรัม
ไขมัน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5.2 กรัม เส้นใย 1.3 กรัม เถ้า 0.6 กรัม แคลเซียม 64
มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 54 มิลลิกรัม เหล็ก 1.3 มิลลิกรัม วิตามินเอ 167 IU วิตามินบี1
0.07 มิลลิกรัม วิตามินซี 28 มิลลิกรัม พลังงาน 125 กิโลจูล เมล็ดจำนวน 1,000 เมล็ด
หนักประมาณ 150-250 กรัม
การขยายพันธุ์
ถั่วฝักยาวมีลำต้นเป็นเถาเลื้อย ไม่มีเนื้อไม้ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
พันธุ์ที่ปลูก ได้แก่ พิจิตร 1 เขียวดก ลำน้ำชี ลำน้ำมูล ลำน้ำพอง
นิเวศวิทยา
ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ไม่มีการตอบสนองต่อความยาวของช่วงวัน
แต่บางสายพันธุ์อาจมีการตอบสนองต่อช่วงวันสั้น
ชอบแสงแดดจัดและอาจปลูกในสภาพมีร่มเงาเพียงเล็กน้อยได้
อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตในช่วงกลางวันคือ 25-35 องศาเซลเซียส
กลางคืนไม่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส สามารถปลูกได้บนพื้นที่ราบจนถึงที่ความสูง 700
เมตรจากระดับน้ำทะเล ชอบอากาศชื้นมีปริมาณน้ำในดินมากตลอดอายุของการเจริญเติบโต
แต่ดินปลูกต้องมีการระบายน้ำได้ดี
ถ้าปลูกในฤดูร้อนที่แห้งแล้งต้องมีการให้น้ำอย่างเพียงพอ ไม่ชอบน้ำท่วมขัง
และต้นกล้าไม่ ทนทานต่อแรงกระแทกของฝนที่ตกหนัก
สามารถเติบโตได้ในดินทรายจนกระทั่งดินที่เหนียวจัด ค่า pH 5.5-7.5
มีความสามารถทนทานต่อดินกรดได้เล็กน้อย
พื้นที่ปลูกในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2542-2543 ประมาณ 135,480 ไร่ ผลผลิตรวม
173,964 ตัน (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2543)
การเก็บเกี่ยว
ฝักอ่อนที่นำมารับประทานนั้น มีอายุเก็บเกี่ยวแตกต่างกันไปตามพันธุ์
และความต้องการของตลาด
ส่วนใหญ่มักจะเก็บเกี่ยวเมื่อเมล็ดเติบโตจนดันส่วนของฝักให้เห็นเป็นรอยนูนพองออกมา
ถ้าเก็บเกี่ยวช้าเกินไปฝักจะมีการเติบโต อย่างรวดเร็ว
เปลือกฝักเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีดและแห้งเหี่ยว
การส่งออก
ในรูปฝักสดและแช่แข็งโดยคิดรวมกับถั่วแขกคือ 15,944 เมตริกตัน มูลค่า
842.50 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2542 และในปี พ.ศ. 2543 มีการส่งออกเมล็ดพันธุ์ 48.77 ตัน
มูลค่า 0.69 ล้านบาท มีการนำเข้า 0.21 ตัน มูลค่า 0.19 ล้านบาท (กมล และคณะ, 2544)
พืชสวนครัว
การแลกเปลี่ยนพันธุ์พืช
แหล่งผลิตผักที่สำคัญของประเทศไทย
ผักเศรษฐกิจของประเทศไทย
พริก
กระเทียม
หอมแดง
แตงกวา
ข้าวโพดฝักอ่อน
ถั่วฝักยาว
คะน้า
กะหล่ำปลี
มะเขือเทศ
ฟักทอง
ผักกาดขาวกวางตุ้ง,ผักกาดฮ่องเต้
ผักกาดเขียวกวางตุ้ง
ผักกาดเขียวปลี
ผักบุ้งจีน
ผักกาดหัว
หอมหัวใหญ่
ผักกาดหอม
กะหล่ำดอก
ฟัก, แฟง
มะระ
บวบ
ถั่วลันเตา
หน่อไม้ฝรั่ง
กระเจี๊ยบเขียว
ผักกาดขาวปลี
หน่อไม้ไผ่ตง
มะเขือยาว
ถั่วแระญี่ปุ่นหรือถั่วเหลืองฝักสด
เอกสารและสิ่งอ้างอิง