สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
มะระ
(bitter gourd) และ มะระจีน(Chinese bitter gourd) Momordica charantia L.
(Reyes et al., 1994)
วงศ์ CUCURBITACEAE
ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์
ทางตะวันออกของประเทศอินเดียและทางตอนใต้ของจีน
ในปัจจุบันมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายในเขตร้อนชื้น
และมีการเจริญเติบโตได้เองในสภาพธรรมชาติ ในประเทศไทยนิยมเรียกมะระว่ามะระขี้นก
หรือมะระตุ้งติ้งซึ่งเป็นพืชที่เจริญเติบโตอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติ
ส่วนมะระที่นำมาปลูกเพื่อรับประทานและจำหน่ายเป็นการค้าที่เรียกว่ามะระจีนนั้นเป็นสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศจีน
และมีการปรับปรุงพันธุ์ให้มีผลขนาดใหญ่ รูปทรงสวยงาม และมีความขมลดลง
นอกจากนี้ยังมีการนำมะระขี้นกและมะระจีนมาผสมข้ามสายพันธุ์ให่ได้สายพันธุ์ใหม่ตามความต้องการของผู้บริโภค
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นพืชปีเดียว ไม่มีเนื้อไม้ ลำต้นมีลักษณะเป็น 5 เหลี่ยม
อาจยาวได้ถึง 5 เมตร มือพันไม่แตกแขนง ใบเป็นใบเดี่ยว มีการเรียงเส้นใบแบบนิ้วมือ
ก้านใบยาว 1-7 เซนติเมตร แผ่นใบกว้างรูปไข่ผสมรูปไต หรือเกือบกลม ใบยาว 2.5-10
เซนติเมตร กว้าง 3-12.5 เซนติเมตร โคนใบรูปหัวใจ มีรอยหยักเว้าลึกเข้าหาแผ่นใบ
ตั้งแต่ 3-9 รอย แต่มักพบว่ามี 5 รอยหยัก
ดอกเป็นดอกเดี่ยวเจริญออกมาจากตาข้างมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เซนติเมตร
ดอกเพศผู้มีก้านดอกยาว 0.5-3 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง
5 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 3 อัน ดอกเพศเมียมีก้านดอกยาว 0.2-5 เซนติเมตร มีเกสรเพศเมีย 3
อันเชื่อมติดกัน ผลมีผิวขรุขระ ผลยาวตั้งแต่ 3-11 เซนติเมตร กว้าง 2-4 เซนติเมตร
ในบางสายพันธุ์เช่น มะระจีน ผลยาวถึง 45 เซนติเมตร กว้าง 8 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว
ผลสุกสีส้ม แตกตั้งแต่ปลายผลมายังขั้วผลเป็น 3 แฉก เมล็ดสีน้ำตาล กว้าง 4-10
มิลลิเมตร ยาว 8-16 มิลลิเมตร หนา 2.5-3.5 มิลลิเมตร
ภาพลำต้น ดอก และผลอ่อนของมะระจีน
ภาพผลมะระขี้นก
ภาพผลมะระจีน
ภาพผลมะระจีนที่วางขายในตลาด
การใช้ประโยชน์
นำเนื้อของผลอ่อนมาปรุงให้สุกโดยการต้มซุป
หรือผัดน้ำมันหรือลวกอาจมีการหั่นเป็นชิ้นแล้วตากแห้งเพื่อเก็บไว้รับประทานในภายหลัง
รสขมอาจถูกกำจัดไปได้บ้างก่อนการประกอบอาหารโดยการหั่นเนื้อผลเป็นชิ้นบาง ๆ
แช่ในน้ำเกลือ หรือคั้นน้ำบางส่วนออก
เนื้อผลและเมล็ดของมะระขี้นกมีการนำมาผลิตยายับยั้งเชื้อไวรัส ลดระดับน้ำตาลในเลือด
ฟอกเลือด บำรุงตับและม้าม ช่วยในการรักษาโรคเบาหวาน
คุณค่าทางอาหาร
ผลมะระทั้งผลมีส่วนที่รับประทานได้ประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์
ส่วนที่รับประทานได้หนัก 100 กรัม ประกอบด้วยน้ำ 83-92 กรัม โปรตีน 1.5-2 กรัม
ไขมัน 0.2-1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4-10.5 กรัม เส้นใย 0.8-1.7 กรัม พลังงาน 105-250
กิโลจูล แคลเซียม 20-23 มิลลิกรัม เหล็ก 1.8-2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 38-70 มิลลิกรัม
วิตามินซี 88-96 มิลลิกรัม เมล็ดหนัก 60 กรัมต่อ 1,000 เมล็ด
การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดในแปลงปลูก
โดยการทำค้างหรือหลักให้ลำต้นเลื้อยพัน และนิยมห่อผลมะระจีนเพื่อให้ผิวผลสวย
และไม่มีแมลงรบกวน พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่ มะระขี้นกพันธุ์ลูกผสมดอทคอม
มะระจีนพันธุ์พิจิตร1 พันธุ์ลูกผสมเขียวหยก
นิเวศวิทยา
มะระเจริญเติบโตได้ดีในเขตอากาศแบบร้อนชื้นและแบบกึ่งร้อน
สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมแบบต่างๆ ได้ดี
และปลูกได้ตลอดปีไม่ทนต่อน้ำท่วมขังสามารถเจริญเติบโตได้ในดินหลายชนิด
แต่ชอบดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำได้ดี มีอินทรียวัตถุปริมาณมาก
สามารถเติบโตได้ในบริเวณที่ราบลุ่มของเขตอากาศแบบป่าฝนเขตร้อนจนถึงมีระดับความสูง
1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล
พื้นที่ปลูกในปี พ.ศ. 2542-2543 ประมาณ 13,352 ไร่ ผลผลิตรวม 22,817 ตัน
(กรมส่งเสริมการเกษตร, 2543)
การเก็บเกี่ยว
อายุเก็บเกี่ยวผลประมาณ 15-20 วันหลังดอกบาน
เก็บเกี่ยวโดยใช้มีดหรือกรรไกรที่คมตัดขั้วผล
การส่งออก
ไม่พบข้อมูลเกี่ยวกับการส่งออกที่ชัดเจน
พืชสวนครัว
การแลกเปลี่ยนพันธุ์พืช
แหล่งผลิตผักที่สำคัญของประเทศไทย
ผักเศรษฐกิจของประเทศไทย
พริก
กระเทียม
หอมแดง
แตงกวา
ข้าวโพดฝักอ่อน
ถั่วฝักยาว
คะน้า
กะหล่ำปลี
มะเขือเทศ
ฟักทอง
ผักกาดขาวกวางตุ้ง,ผักกาดฮ่องเต้
ผักกาดเขียวกวางตุ้ง
ผักกาดเขียวปลี
ผักบุ้งจีน
ผักกาดหัว
หอมหัวใหญ่
ผักกาดหอม
กะหล่ำดอก
ฟัก, แฟง
มะระ
บวบ
ถั่วลันเตา
หน่อไม้ฝรั่ง
กระเจี๊ยบเขียว
ผักกาดขาวปลี
หน่อไม้ไผ่ตง
มะเขือยาว
ถั่วแระญี่ปุ่นหรือถั่วเหลืองฝักสด
เอกสารและสิ่งอ้างอิง